เลื่อนลงล่าง

สุดยอดที่เที่ยว ❀ดอยอินทนนท์❀

โดย. Nan Rawiwan

05/12/59

Share

 รีวิวเจาะลึก อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 

   พอเริ่มปีใหม่เข้ามา หลายคนคงเตรียมตัววางแผนที่จะท่องเที่ยว เก็บข้าวเก็บของลงกระเป๋าแน่ ๆ และสถานที่น่าท่องเที่ยวตอนนี้เห็นจะเป็นทางภาคเหนือ เนื่องจากช่วงต้น ๆ ปีอย่างนี้ทางภาคเหนือยังคงอากาศหนาวเย็น บางที่อากาศก็กำลังเย็นสบายทีเดียว ชวนให้ไปสัมผัสซึมซับกับบรรยากาศสุด ๆ ...

          ถ้าจะพูดถึงสถานที่ที่นักเดินทาง ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น อยากจะไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ชื่อของ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ ดอยอินทนนท์ ก็น่าจะอยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ เพราะไม่ว่าจะรักการเที่ยวแบบชิลล์ ๆ หรือลุย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตแห่งนี้ ก็พร้อมต้อนรับด้วยความงดงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าใหญ่ดึกดำบรรพ์ (Old growth forest) สภาพอากาศที่หนาวเย็นและชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ทำให้มีมอส เฟิร์นและพืชอิงอาศัย (epiphyte) ชนิดอื่น ๆ ขึ้นปกคลุมตามลำต้นอย่างหนาแน่น ใครที่เดินทางมาเที่ยวจะต้องประทับใจกับสีสันของใบไม้ป่าผลัดใบ ที่กำลังจะผลัดใบในช่วงปลายปี 

ดอยอินทนนท์

 

ดอยอินทนนท์ 

ส่วนต้นปี ดอกไม้นานาชนิดก็บานสะพรั่งอดไม่ได้ที่จะกดชัตเตอร์ฝากภาพสวย ๆ ฝากเพื่อน หรือจะเลือกชมความโล่งของป่าทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง หน้าผาอันสูงชัน ทำให้มองเห็นสภาพภูมิประเทศได้กว้างไกล
เป็นแหล่งที่อยู่ที่สำคัญของกวางผาและนกชนิดต่าง ๆ ก็สนุกไม่แพ้กัน

  อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่อยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม กิ่งอำเภอดอยหล่อ และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทาง เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ไปยังอำเภอจอมทอง 50 กม. ระยะทางประมาณ 50 กม. เลี้ยวขวาตามถนนสาย จอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ประมาณ 8 กม. ก็จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติที่บริเวณน้ำตกแม่กลาง และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31 

 

 

 

การเดินทาง
 

           จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

          เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง)  


 

 

           


           เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว) 

 

            


            เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 3 (สีน้ำเงิน) 
 

          

           พื้นที่ท่องเที่ยวและนันทนาการที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) และเส้นทางเดินป่าต่าง ๆ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกไปตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางต่าง ๆ ได้ดังนี้ค่ะ 

 


 

           ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009)


          ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ ใครมาแล้วไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหนก่อนดีขอให้แวะที่นี่เอาฤกษ์เอาชัยก่อน เพราะเขามีการฉายสไลด์มัลติวิชั่นของอุทยานและเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์คอยให้บริการกับนักท่องเที่ยว ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรืออีกชื่อว่า กม.31 ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ไว้คอยบริการรับจองบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ สำหรับบ้านพักและที่กางเต้นท์จะอยู่อีกบริเวณหนึ่ง ทางเข้าอยู่ทางด้านขวามือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 200 เมตร 
 

           น้ำตกแม่ยะ น้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ที่นี่เราสามารถกางเต้นท์พักแรมที่น้ำตกได้ แต่อย่าลืมติดต่อขอสถานที่กางเต้นท์กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ด้วยล่ะ, น้ำตกแม่กลาง เป็นจุดแรกของประตูเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 100 เมตร ไหลพวยพุ่งมาสู่โกรกเขา ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า วังน้อยและวังหลวง ใครไปเที่ยวช่วงฤดูฝนระวังหน่อยเพราะน้ำไหลแรงและขุ่นข้นมากจ้ะ 
 

ดอยอินทนนท์

 

           ถ้ำบริจินดา ถ้ำขนาดใหญ่ อยู่ในเทือกเขาดอยอินทนนท์ ใกล้น้ำตกแม่กลาง ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า "นมผา" และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นมัสการ นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุแสงสว่างลอดเข้ามาได้ สามารถมองเห็นภายในได้ถนัด ก่อนจะถึงปากถ้ำจะมีป้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่, น้ำตกวชิรธาร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า "ผาม่อนแก้ว" หรือในภายหลังเรียกว่า "ผาแว่นแก้ว"
 

           น้ำตกสิริธาร  นอกจากความสวยงามของน้ำตกแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิดรวมทั้งปลาหายาก เช่นปลาค้างคาว ป่าบริเวณนี้เป็นป่าเต็งรังผสมสนเขาและป่าดิบแล้ง นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญอีกด้วย, น้ำตกสิริภูมิและสวนหลวงสิริภูมิ  เดิมเรียกว่า "เลาลึ" ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ น้ำตก ภายหลังเปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ปัจจุบัน มีการจัดภูมิทัศน์ สวนหลวงสิริภูมิ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ มีการจัดเก็บค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท
 

           น้ำตกแม่ปาน จากธรรมชาติที่ลึกของป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ จะเห็นสายน้ำที่ไหลผ่านภูผาถึง 4 ชั้น ล้อมรอบด้วยป่าเขียวขจีตัวน้ำตกมีความสูงมากกว่า 100 เมตร สามารถมองเห็นได้จากจุดชมวิวระยะไกล จากบริเวณที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ฯ อุทยานแห่งชาติ (น้ำตกแม่ปาน) หรือเดินเท้าไปตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) ระยะทางประมาณ 400 เมตร
 

ดอยอินทนนท์

 

           พระธาตุนภเมทนีดลและพระธาตุนภพลภูมิสิริ เป็นพระธาตุที่ทางกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ร่วมใจสร้างถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช 2530 และเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 โดยรอบบริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างชัดเจน พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ มีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา
 

ดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์


          เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น เป็นวงรอบระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถวนรอบไปกลับในวันเดียว ตามหนทางจะผ่านไปสู่ป่าดงดิบริมธารน้ำ ขึ้นเนินผ่านป่าที่ห้อยระย้าด้วยมอส ฝอยลม หน้าฝนจะถูกปกคลุมด้วยหมอกขาวและอากาศที่หนาวเย็น สุดปลายทางมีทุ่งดอกไม้นานาชนิด เรียกว่าหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว

          ยอดดอยอินทนนท์  ชมป่าดิบดึกดำบรรพ์ ซึ่งน้อยคนนักจะได้สัมผัสธรรมชาติที่แท้จริงของภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ที่นี่มีทั้งกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและหายาก นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานกู่พระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชานนท์ ผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทย จะมาฤดูไหนอุณหภูมิก็พร้อมเที่ยวเสมอที่ราว 5 – 18 องศาเซลเซียส


            ตามแนวเส้นทางถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192)

           
            เส้นทางนี้เราก็จะได้เที่ยว ป่าดงดิบเขาดึกดำบรรพ์ (Old-growth forest) บริเวณทางแยกอำเภอแม่แจ่ม ผ่านน้ำตกแม่ปาน และแวะชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง สะดวกเที่ยวเส้นไหนตะลุยไปเส้นนั้น หรือถ้ามีเวลาเยอะก็ลุยทั้ง 2 เส้นทางไปเลยก็ได้นะจ๊ะ 
 

 


สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ


            โครงการเพาะพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์  โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ที่กำลังจะหมดไปจากป่าธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเป็นสวนหินที่สวยงาม และทางโครงการฯ ได้จัดทำสวนกล้วยไม้ และสวนดอกไม้เมืองเหนือไว้อย่างสวยงาม
 

ดอยอินทนนท์
 

             โครงการหลวงอินทนนท์ ถูกตั้งเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาเปลี่ยนอาชีพ จากการปลูกฝิ่นมาเป็นเกษตรกรรม ภายในโครงการหลวงนั้นมีพรรณไม้ให้ชมหลากหลาย เช่น สวนเฟิน สวนกระบองเพชร และไม้ดอกไม้ประดับเมืองเหนือ อีกทั้งยังมีร้านอาหารไว้ให้บริการอีกด้วย
 

ดอยอินทนนท์


            จุดชมทิวทัศน์ กม. 41 จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน
 

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ

            -ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท  
             -เด็ก คนละ 10 บาท  
            -กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม  
            -กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก  

             -รถจักรยาน 10 บาท/คัน  
             -รถจักรยานยนต์ 20 บาท/คัน  
             -รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท/คัน  
             -รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท/คัน  
             -รถยนต์ไม่เกิน 10 ล้อ 200 บาท/คัน  

ดอยอินทนนท์


ฤดูกาลท่องเที่ยว

            สำหรับใครที่คิดว่าอยากสัมผัสอากาศหนาวต้องเดินทางช่วงปลายปีเท่านั้น สำหรับดอยอินทนนท์แล้วสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

          ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูร้อน เดือน มีนาคม – พฤษภาคม แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว แต่บนดอยยังมีอากาศสดชื่นเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ฤดูฝนเดือน มิถุนายน – กันยายน  ฝนตกชุกเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่า ชมสายหมอกและละอองฝน ที่เพิ่มความสวยงามผสมกลมกลืนกันอย่างน่าอัศจรรย์ 

          ฤดูหนาวเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาวและฝนเริ่มลดน้อยลงและอากาศเย็นลงบ้าง และมีอากาศหนาวจัดที่สุดในช่วงเดือนมกราคม เป็นฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวมากที่สุด เพราะสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นท้องฟ้าแจ่มใส ตัดกับสีเขียวของป่าไม้ อากาศจะเย็นมากในตอนกลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่า 0 - 4 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วงนี้แหละที่เราจะได้เห็นน้ำคางแข็งหรือแม่คะนิ้งกันล่ะ

บริการที่พัก

            มีทั้งบ้านพัก เต้นท์สนามคู่ และสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กม. ที่ 31 อำเภอจอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160 โทร. (053) 268550 หรือติดต่อที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. (02) 57954852, 5795269 หรือคลิกเข้ามาหาข้อมูลละเอียดยิบได้ที่นี่เลย www.doiinthanon.com

 เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น เป็นวงรอบระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถวนรอบไปกลับในวันเดียว ตามหนทางจะผ่านไปสู่ป่าดงดิบริมธารน้ำ ขึ้นเนินผ่านป่าที่ห้อยระย้าด้วยมอส ฝอยลม หน้าฝนจะถูกปกคลุมด้วยหมอกขาวและอากาศที่หนาวเย็น สุดปลายทางมีทุ่งดอกไม้นานาชนิด เรียกว่าหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว

ยอดดอยอินทนนท์  ชมป่าดิบดึกดำบรรพ์ ซึ่งน้อยคนนักจะได้สัมผัสธรรมชาติที่แท้จริงของภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ที่นี่มีทั้งกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและหายาก นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานกู่พระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชานนท์ ผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทย จะมาฤดูไหนอุณหภูมิก็พร้อมเที่ยวเสมอที่ราว 5 – 18 องศาเซลเซียส

ดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์


          

ว่ากิ่วแม่ปาน 

เส้นทางนี้ ไม่ได้เปิดทั้งปีครับ   
แต่ปิดในช่วงฤดูฝน เพราะมันแฉะเกิ๊น เป็นดินเป็นโคลน เดินไม่ไหว 
และเค้าก็ให้ป่าได้ฟื้นตัวด้วยครับ 
จะเปิดช่วง  31 ตุลาคม  ถึงปลายฤดูร้อนเท่านั้นครับ 
ต้องลงทะเบียน และมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนำทางเข้าไปครับ  
เพื่อจะได้ไม่หลงทาง ไม่ไปทำอะไรพิเรนๆ หรือไปทำลายธรรมชาติในนั้น  
วันใหนเจอเมฆคลุมดอยนี่  รีบๆเดินเข้าไปเลย  สวยมากๆครับ   






วันแดดออก ก็สวยไม่แพ้กันเพราะเห็นวิวไปไกลเลย  





ข้างในก็แบ่งเป็นช่วงๆ มีน้ำตก  มีป่าฝน  มีทุ่งโล่ง  ต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร ครับ  



เดินชมวิว ขึ้นดอยลงดอย กันพอลิ้นห้อยครับ

ใช้เวลาราวๆ 2 - 4 ชั่วโมงครับ  แล้วแต่ว่าจะจ้ำพรวดๆกันแค่ไหน  









อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่มอำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่) ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า "ดอยอ่างกา" แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า "อ่างกา" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า "ใหญ่" เพราะฉะนั้นคำว่า "ดอยอ่างกา" จึงแปลว่าดอยที่มีความใหญ่นั่นเอง ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน

และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์" อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มีพื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6 ดังนี้ "เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดมีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาด้วยบริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ"

 

ลักษณะภูมิประเทศ 

สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล มีระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดในประเทศไทย ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือ ยอดดอยหัวหมดหลวง สูง 2,330 เมตร ยอดดอยหัวหมดน้อย สูง 1,900 เมตร ยอดดอยหัวเสือ สูง1,881 เมตรจากระดับน้ำทะเล 

ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์โดยทั่วไป ประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไป และหินส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์และหินแกรนิต ส่วนหินชนิดอื่นๆ ที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูน จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ได้แก่หินกรวดมน 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง ให้กำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่ยะ ลำน้ำแม่หอย ลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำแม่เตี๊ยะ ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด อำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง

 

ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีความหลากหลายทางด้านระดับความสูง ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลักษณะของสภาพอากาศแบบเขตร้อนในตอนล่างของพื้นที่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตรลงมา มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อนในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 1,000-2,000 เมตร และมีสภาพอากาศแบบเขตอบอุ่นในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป 

ในพื้นที่สูงตอนบนของอุทยานแห่งชาติ โดยทั่วไปแล้วจะมีสภาพที่ชุ่มชื้นและหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ซึ่งมีลักษณะเป็นสันเขาและยอดเขา จะมีกระแสลมที่พัดแรงและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก และในช่วงวันที่หนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิจะลดต่ำลงถึง 0-4 องศาเซลเซียส และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น ที่ระดับกลางของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,100 มิลลิเมตร/ต่อปี สำหรับในพื้นที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่เย็นและชุ่มฉ่ำอยู่ ทั้งนี้เพราะจะเป็นระดับความสูงของเมฆหมอก ทำให้สภาป่ามีเมฆและหมอกปกคลุมเกือบตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์สามารถจำแนกออกเป็น 
ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า รักใหญ่ ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชอิงอาศัยพวกเอื้องแซะ เอื้องมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพวกมอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นไม้พุ่ม หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในชั้นระดับความสูง 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามที่ลุ่มหรือตามแนวสองฝั่งของลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ นอกจากนี้ยังมีไผ่ชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา ส่วนพืชพื้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่ม หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าชนิดอื่นๆ ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ 

ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางปาย ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อหยุม ก่อลิ้ม ประดู่ส้ม มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ไทรย้อย เดื่อหูกวาง พืชพื้นล่างเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง เช่น กล้วยป่า หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออสมันด้า กูด เฟิน ปาล์ม หวายไส้ไก่ หมากป่า และเขือง เป็นต้น 

ป่าดิบเขาตอนล่าง เป็นป่าที่พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000-1,800 เมตร หรือในบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีป่าที่มีอยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพ หรือป่ารุ่นใหม่ จะมีป่าดิบเขาดั่งเดิมเหลืออยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สภาพโดยทั่วไปของป่าดิบเขาในพื้นที่ดอยอิทนนท์จึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบและวิธีการฟื้นฟูของสังคมพืช ชนิดป่าที่พบที่สำคัญได้แก่ ป่าสนล้วน ป่าก่อผสมสน ป่าก่อ และป่าดิบเขาดั่งเดิม พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสามใบ สารภีดอย เหมือดคนตัวผู้ ก่อแป้น ก่อใบเลื่อม กอเตี้ย ก่อแดง ก่อตาหมูหลวง ก่อนก ทะโล้ จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง กล้วยฤาษี นมวัวดอย ฯลฯ 

ป่าดิบเขาตอนบน ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบ เขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งจะมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างจะไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม พันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อชื้นได้แก่ ก่อดาน ก่อแอบ จำปีหลวง แกง นางพญาเสือโคร่ง กะทัง นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและไม้เกาะเกี่ยวเช่น คำขาว กุหลาบขาว คำแดง และยังมีต้นโพสามหาง กระโถนฤาษี เป็นต้น ในบริเวณแอ่งน้ำและรอบๆ ป่าพรุจะมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ เช่น บัวทอง พญาดง เทียน ผักหนอกดอย มะ แหลบ วาสุกรี บันดงเหลือง ต่างไก่ป่า กุง กูดขน ฯลฯ และบริเวณชายขอบป่าพรุจะมีกุหลาบพันปีสีแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะบนยอดดอยอินทนนท์เท่านั้น 


สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นกพญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่งกราย คางคกเล็ก ปาดแคระฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว 

 

พาไปชิม ร้านอาหารโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ชาวเชียงใหม่ ชีวิตดี๊ดี

เผื่อใครได้มาเที่ยวแถวเชียงใหม่  หรือว่าบ้านอยู่แถวเชียงใหม่ 
ก็สามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวกสบาย   เพราะมีถนนสายเลี่ยงเมืองสันป่าตอง 
ทำให้การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ขึ้นดอยอินทนนท์สะดวกรวดเร็วกว่าเดิมเยอะเลยครับ  

เห็ดหอม ทอดซีอิ้ว  เมนูนี้ สั่งมาสองจานเลย   
เป็นเมนูโปรดของลูกชาย  มาทีไร สั่งทุกที   
เห็ดหอกดอกเล็กๆ นุ่มๆนิ่มๆ  ชุบแป้งทอด ชุบซีอิ้ว   จิ้มกับซอสพริก   
จริงๆแล้ว เมนูนี้เป็นอาหารบ้านๆมากเลยครับ  แต่ขายดีติดอันดับ   
เพราะความสด กับ อากาศ  และ บรรยากาศ  ทำให้อาหารอร่อยขึ้นเป็นสิบเท่า  




เป็ดอบกาแฟ  รายการนี้ก็ของเด็กๆอีกละครับ  
เป็นคล้ายๆเป็ดอบตุ๋นกับเม็ดกาแฟ หอมกาแฟนิดๆ โชยๆ  
เนื้อนุ่มหน่อยๆ หนังเปื่อยๆ มาทีไร สั่งทุกทีเช่นกัน



กุ้งแดง ราดซอสมะขาม
ปกติต้องเป็นกุ้งแดง  หรือ clay fish   แต่ช่วงนี้กุ้งแดง ไม่มี  คือไม่ใช่ฤดูหรือยังไงผมไม่แน่ใจ  
ยกกลายเป็นกุ้งก้ามกรามธรรมดาๆ
พอใช้ได้ครับ  


ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์  
รายการนี้ ผมเฉยๆครับ   


ยำผักทอดกรอบ 
รายการนี้ก็ชอบครับ   ผักสดมาก หวานมาก  ลูกชายคว้าหนุบหนับๆ



****ใครได้มาทานร้านนี้ แนะนำให้สั่งเมนูผักเป็นหลักครับ ****
 ด้วยความที่อากาศดี ทำให้ความสด ความสมบูรณ์ของผักนี่ หายห่วงครับ

บริการที่พัก

            มีทั้งบ้านพัก เต้นท์สนามคู่ และสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กม. ที่ 31 อำเภอจอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160 โทร. (053) 268550 หรือติดต่อที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. (02) 57954852, 5795269 หรือคลิกเข้ามาหาข้อมูลละเอียดยิบได้ที่นี่เลย www.doiinthanon.com

การเดินทาง & แผนที่ 
 

 จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

          เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง)  


 

 

           


           เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว) 

 

            


            เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 3 (สีน้ำเงิน) 
 

ข้อปฏิบัติในการไปเที่ยว

1. ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบของทางอุทยานฯ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

2. ดูแลรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความงดงามตามธรรมชาติมากที่สุด

3. ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นในการเข้าไปใช้พื้นที่ธรรมชาติร่วมกัน

4. ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือรบกวนความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า

5. การเดินป่าศึกษาธรรมชาติควรเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทางเดินถาวร ซึ่งอาจจะไปเหยียบย่ำพืชพรรณหรือสัตว์เล็กๆ

6. ห้ามเก็บ หรือนำออก หรือกระทำการใด ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพของก้อนหิน พืชพรรณ และสัตว์ป่า ในเขตอุทยานฯ

7. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ เพราะอาจจะเป็นการนำโรคเข้าไปแพร่ในธรรมชาติหรือในทางตรงกันข้าม ก็อาจจะรับโรคติดต่อจากสัตว์ป่าภายในออกมา

8. ไม่ควรก่อไฟในอุทยานฯ เพราะการก่อไฟจำเป็นจะต้องใช้ฟืนในธรรมชาติและก่อเกิดมลพิษ ปัจจุบันมีเตาน้ำมัน เตาแก๊สสารพัดประโยชน์ขนาดพกพา สามารถใช้การได้ดีและไม่ทำลายธรรมชาติ หรือหากจำเป็นต้องก่อกองไฟจริง ๆ ควรก่อในที่ที่ทางอุทยานฯ กำหนด และดับให้เรียบร้อย

9. ไม่ควรนำสิ่งที่จะก่อให้เกิดขยะเข้าไปในอุทยานฯ เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม ขวด กระป๋อง หากนำเข้าไปกรุณาเก็บคืนออกมาให้มากที่สุด

10. เมื่อพบเห็นการกระทำผิดกฏระเบียบอุทยานฯ หรือการกระทำอันเป็นผลกระทบต่อธรรมชาติ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อดำเนินต่อไป

11. ไม่ควรน้ำสุราและของมึนเมาไปดื่มในอุทยานฯ เพราะถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทะเลาะวิวาทได้

12. ร่วมกันสอดส่องดูแล หรือชักชวนให้เพื่อนฝูง หรือเพื่อนร่วมทาง ช่วยกันดูเลรักษาธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 


ตู้ ปณ.2 119 หมู่7 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160 

โทรศัพท์ : 053-286729 (บริการข้อมูลท่องเที่ยว,จองที่พัก), 053-286728 (ศูนย์กู้ภัย) 

โทรสาร : 053-286727 

อีเมล : doiinthanonnp@hotmail.com 

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายรุ่ง หิรัญวงษ์ 

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px