เลื่อนลงล่าง

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย : Sukhothai Historical Park

29/04/59

Share

 

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

นอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมาย

 

 

 

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)

ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง] องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)

 

โบราณสถานในอุทยาน

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วัดมหาธาตุ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
วัดตระพังเงิน
วัดศรีสวาย
วัดตระพังทอง
วัดสระศรี
วัดชนะสงคราม
วัดตระกวน
ศาลตาผาแดง
วัดพระพายหลวง
เตาทุเรียงสุโขทัย
วัดสังฆวาส
วัดศรีชุม
วัดช้างล้อม
วัดตระพังทองหลาง
วัดเจดีย์สูง
วัดก้อนแลง
วัดต้นจันทร์
วัดเชตุพน
วัดเจดีย์สี่ห้อง
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
วัดวิหารทอง
วัดอโสการาม
วัดมุมลังกา
วัดตะพานหิน
วัดอรัญญิก
วัดช้างรอบ
วัดเจดีย์งาม
วัดถ้ำหีบ
วัดมังกร
วัดพระยืน
วัดป่ามะม่วง
วัดตึก
สรีดภงค์หรือทำนบพระร่วง

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

บริเวณที่ตั้งของจังหวัดสุโขทัยเป็นบริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือ ได้ค้นพบหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่พบใน เขตอำเภอศรีนคร อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ ซึ่งแสดง ถึงหลักฐานทางชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องกันและตั้งเป็น บ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมาจนกระทั่ง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100 เป็นต้นมา) ชุมชนบริเวณนี้ได้มีการ ติดต่อกับดินแดนอื่นแถบบริเวณภาคกลางและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมแบบทวารวดี โดยได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย หลักฐานทางศิลปกรรมในเขตเมืองเก่าสุโขทัยที่ศาลตาผาแดง และปรางค์เขาปู่จาในเขตอำเภอคีรีมาศ เป็น หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1700 เป็นต้นมา) และน่าจะเป็น การพัฒนาการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองในวัฒนธรรมเขมร ในบริเวณที่ราบเชิงเขาหลวงเป็นครั้งแรก จนราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ปรากฏเรื่องราวการตั้งตนเป็นอิสระ เพื่อ ปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน

อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมและเริ่ม ชัดเจนมากขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาวพ.ศ. 1781 - 1822) อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช1841) อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วง รัชสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้น ทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญทั้งด้านประวัติ-ศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และ อื่น ๆ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือสุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา 

ในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทาง สถาปัตยกรรมที่ โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2531

 

BanmoResort

92/12 Moo.4,MueangKao, Mueang Sukhothai,Sukhothai,Thailand,สุโขทัย 64210

 

การเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

โดยรถยนต์ 
ตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ ระยะทาง 440 กิโลเมตร เดินทางด้วยรถยนต์ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 (ถนนสิงหวัฒน์)  ถนนหลวงตัดผ่านกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตกเมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่าจะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ


รถประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่ง หมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2537 8055-6, 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th นอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ โทร. 0 5561 1039 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3753 บริษัท พิษณุโลกยานยนต์ โทร. 0 5525 8647, 0 5525 8941 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2924-5 จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจ มาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที

ทางเครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลกทุกวัน จากนั้นให้เดินทาง ต่อโดย รถประจำทางไปสุโขทัยอีกประมาณ 118 กิโลเมตร สอบถามเที่ยวบินเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สาขาพิษณุโลก โทร. 0 5524 2971-2 หรือwww.thaiairways.com และ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเที่ยวบินที่บินตรงไปสุโขทัยทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2229 3456-63 สาขาสุโขทัย โทร. 0 5564 7225-6 หรือwww.bangkokair.co
m

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px