เลื่อนลงล่าง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น

20/05/59

Tag

Count :

Share

      อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น เป็นอุทยานแห่งชาติที่สามารถไปเที่ยวชมธรรมชาติและสัมผัสบรรยากาศป่าเขาลำเนาไพร โดยสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปกลับได้ภายในวันเดียวกัน ประกอบด้วยน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม แต่เป็นน้ำตกที่ไม่มีน้าไหลตลอดทั้งปี ได้แก่ น้ำตกโพธิ์หินดาด น้ำตกโตนรากไทร และน้ำตกสามหลั่น เป็นต้น

... ท่านสามารถรับชมวีดีโอเกียวกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่นได้ที่นี่ ... 

ภาพโดย http://gotoeatandjourney.weebly.com/blog/28

ภาพโดย แก่ กรุงเก่า

        น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสามหลั่นเป็นน้ำตกที่ไม่มีน้ำไหลตลอดปี มีลักษณะเป็นลานหินกว้างวางเรียงซ้อนกันเป็นสามชั้น ลดหลั่นกันอย่างละชั้นสูงประมาณ 5 เมตร ในบริเวณน้ำตกมีโต๊ะ ม้านั่ง ไว้สำหรับนั่งเล่น ชมน้ำตก ชมธรรมชาติ เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจ มีเส้นทางเดินป่า เส้นทางน้ำตกสามหลั่น - อ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณลานอเนกประสงค์ ผ่านน้ำตกสามหลั่น อ่างเก็บน้ำเขาสามหลั่น อ่างเก็บน้ำเขาไม้นวล น้ำตกแผงม้า อ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง ไปสิ้นสุดบริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สห.1 (ซับปลากั้ง)

ภาพโดย แก่ กรุงเก่า

        จุดชมทิวทัศน์บนยอดเขาครก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร มีความสูงประมาณ 329 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวจังหวัดสระบุรีและอำเภอใกล้เคียง

ภาพโดย http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/attraction.asp

          น้ำตกโตนรากไทร น้ำตกโตนรากไทรเป็นน้ำตกที่ไม่มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 400 เมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกชั้นเดียวที่ตกลงมาจากหน้าผาหินสูงประมาณ 7 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มี เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติน้ำตกโตนรากไทร-น้ำตกสามหลั่น ระยะทางประมาณ 2,500 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 90 นาที โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านน้ำตกโตนรากไทร อ่างเก็บน้ำเขาสามหลั่น น้ำตกสามหลั่น ไปสิ้นสุดบริเวณลานอเนกประสงค์ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

ภาพโดย http://pantip.com/topic/34331498

          น้ำตกนางโจน น้ำตกนางโจน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก บนหน้าผาหิน 2 ชั้น สูงประมาณ 4 เมตร สายน้ำตกลงสู่แองน้ำเบื้องล่าง

ภาพโดย http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/attraction.asp

      น้ำตกโพธิ์หินดาด น้ำตกโพธิ์หินดาดเป็นน้ำตกที่ไม่มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 400 เมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกชั้นเดียวไม่ใหญ่นัก มีลานหินกว้างและต้นโพแผ่กิ่งก้านสาขา

ภาพโดย m.touronthai.com

      อ่างเก็บน้ำเขาไม้นวล างเก็บน้ำเขาไม้นวล ที่สร้างในปี 2523 เป็นแหล่งน้ำที่มีทิวทัศน์ร่มรื่น และเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่า

ภาพโดย m.touronthai.com

     อ่างเก็บน้ำเขารวก อ่างเก็บน้ำเขารวก สร้างประมาณปี 2523 บริเวณริมอ่างเก็บน้ำมีบ้านพัก ศาลาอเนกประสงค์ รวมทั้งห้องน้ำ-ห้องสุขา และร้านค้าสวัสดิการ นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติยังได้จัดกิจกรรมนันทนาการไว้บริการได้แก่
      เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในเส้นทางเดินป่าเขาแดง-น้ำตกสามหลั่น ระยะทางประมาณ 1,600 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณอ่างเก็บน้ำเขารวก ผ่านน้ำตกเขาแดง น้ำตกเขาสามหลั่น ไปสิ้นสุดบริเวณลานอเนกประสงค์ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
      การพายเรือคายัคและจักรยานน้ำ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจบริเวณอ่างเก็บน้ำเขารวก

ภาพโดย http://gotoeatandjourney.weebly.com/blog/28

      อ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง อ่างเก็บน้ำซับปลากั้งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก สำหรับอุปโภคและบริโภคของราษฎรในท้องที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สห.1 (ซับปลากั้ง) บริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำมีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติเข้ามาใช้บริการกางเต็นท์พักแรม (ควรจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง) มีเส้นทางเดินป่า เส้นทางซับปลากั้ง - น้ำตกสามหลั่น ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2.5 ชั่วโมงครึ่ง โดยมีจุดเริ่มต้นจากอ่างเก็บน้ำซับปลากั้ง ผ่านน้ำตกแผงม้า อ่างเก็บน้ำเขาไม้นวล อ่างเก็บน้ำเขาสามหลั่น น้ำตกสามหลั่น ไปสิ้นสุดบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 

ภาพโดย http://www.panoramio.com/photo/42926979

      อุโมงค์รถไฟพระพุทธฉาย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์รถไฟชนิดรางเดียว มีความกว้างประมาณ 7 เมตร สูง 7 เมตร ยางประมาณ 1,197 เมตร สร้างเมื่อปี 2537 เป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่สร้างโดยคนไทย

ภาพโดย http://topicstock.pantip.com/

      ซากเจดีย์โบราณบนยอดเขาเรดาร์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 5 กิโลเมตร คาดว่าก่อสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันยังมีร่องรอยปรากฏอยู่

      อนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่ 2 (ถ้ำเขาแดง) 

 

   

 

 

        อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง และอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ป่าเขาสามหลั่นอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติป่าเขา น้ำตกที่สวยงาม โดยเฉพาะน้ำตกเขาสามหลั่น ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้จักกันเป็นอย่างดี ทางคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปกลับได้ในวันเดียว อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น มีเนื้อที่ประมาณ 27,856.25 ไร่ หรือ 44.57 ตารางกิโลเมตร

แต่เดิมอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ได้รับการจัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกสามหลั่น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพระฉายทั้งหมด มีเนื้อที่ 24 ตารางกิโลเมตร ในความรับผิดชอบของป่าไม้เขตสระบุรี ต่อมาเมื่อกรมป่าไม้จัดตั้งกองอุทยานแห่งชาติขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 จึงได้โอนวนอุทยานน้ำตกสามหลั่นมาขึ้นกับกองอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในอดีตป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ ทำหลุมหลบภัย มีการตัดไม้ ทำฟืน ทำถ่านหุงหาอาหาร และทำถนน ทำให้ป่าธรรมชาติบางส่วนถูกทำลายลง ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้เริ่มทำการปลูกป่าทดแทนให้สภาพป่าฟื้นตัวขึ้นมา และเมื่อได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติทำให้สภาพป่าฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น

      ต่อมา ในปี 2519 กรมป่าไม้ได้ให้กองอุทยานแห่งชาติ พิจารณาป่าพระฉาย กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงให้วนอุทยานน้ำตกสามหลั่นไปทำการสำรวจ ซึ่งวนอุทยานน้ำตกสามหลั่นได้มีหนังสือรายงานผลการสำรวจว่า บริเวณป่าพระฉายเป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีน้ำตกที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 

     กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 เห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพระฉายและน้ำตกสามหลั่น ในท้องที่ตำบลหนองนาก ตำบลห้วยทราย ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมืองสระบุรี ตำบลบ้านลำ ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง และตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 85 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 27 ของประเทศ 

     ต่อมาในปี 2543 อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมราชการและได้แนะนำว่า ควรเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่นเป็น อุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย โดยกรมป่าไม้พิจารณาแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และสภาพของพื้นที่ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น เป็นอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย

      ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น

ลักษณะภูมิประเทศ

      สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน เป็นเทือกเขาสูงที่วางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาอยู่ทางตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาครก มีความสูงประมาณ 329 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นตัวเมืองสระบุรี และอำเภอใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน ป่าแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกหลายแห่ง เป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลไปหล่อเลี้ยงไร่นาของราษฎรที่อยู่ใกล้เคียง สภาพของดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย หินชั้นล่างเป็นพวกหินดินดาน

ลักษณะภูมิอากาศ

     สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน จะร้อนอบอ้าวระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน และฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 28oC มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนได้ตลอดปี

พรรณไม้และสัตว์ป่า

     สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ พลวง เต็ง รัง ตะเคียนทอง มะค่า ตะแบก เป็นต้น และพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่ทำการสำรวจไว้กว่า 800 ชนิด ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ตลอดจนหวาย และกล้วยไม้ เป็นต้น 

     สำหรับสัตว์ที่มีอาศัยอยู่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ไก่ฟ้า ไก่ป่า เก้ง กระจง ลิง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ซึ่งคาดว่าจะสูญพันธุ์ ไปแล้ว

 

มีร้านอาหารอาหารสวัสดิการสำหรับบริการนักท่องเที่ยว และเยาวชนที่มาเข้าค่ายพักแรม

 

    สิ่งอำนวยความสะดวก 

          อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น เป็นอุทยานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกคอยให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น ค่ายเยาวชน ทางเดินศึกษาธรรมชาติ  ที่จอดรถ ที่พักแรม/บ้านพัก บริการอาหาร
  
ระบบสาธารณูปโภค เรือคยัค-แคนู ลานกางเต็นท์  เวทีกลางแจ้ง ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย และห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง 

รถยนต์
     จากกรุงเทพฯ เดินทางไปยังจังหวัดสระบุรี ตามถนนพหลโยธิน ก่อนถึงจังหวัดสระบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร ก่อนถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 102 มีทางกลับรถ ให้ขับรถชิดซ้ายเข้าถนนด้านใน จะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3042 ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3046 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 110 กิโลเมตร

 รถโดยสารประจำทาง
     เดินทางโดยรถประจำทางไปยังจังหวัดสระบุรี แล้วเหมารถรับจ้างไปยังอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉาย

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น
ตู้ ปณ.10 ต.หนองปลาไหล  อ. เมืองสระบุรี  จ. สระบุรี   18000
โทรศัพท์ 08 1433 6388,0 36225171-2   โทรสาร 0 36713829   อีเมล samlan2008@hotmail.com

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :