จังหวัดอุทัยธานี ส่วนใหญ่เป็นป่าและและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและ นำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน
ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ เมืองโบราณการุ้ง ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า(อำเภอหนองฉาง) แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า "เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทางเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ "พะตะเบิด" เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมือง และเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อเมืองจึงเรียกเพี้ยนเป็น
"เมืองอุไทย" ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยง และมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมและอาหารการกินมากมายเช่นหน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้
คำขวัญ ประจำจังหวัด
" อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ"
มาถึงเมืองอุทัยธานี อันดับแรกต้องแวะไปที่นี่ ยอดเขาสะแกกรัง ดินแดนที่ชาวอุทัยยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 (ตุลาคม) ของทุกปี ชาวอุทัยธานี จะจัดงานประเพณี ตักบาตรเทโว ช่วงเทศกาลตักบาตรเทโว จะได้เห็นภาพพระสงฆ์บิณฑบาตรเป็นแถวเรียงยาวไปถึงยอดเขา ถือเป็นภาพสัญลักษณ์ที่งดงามยิ่งนัก บันไดทางขึ้นไปสู่ยอดเขาจะมีทั้งหมด 449 ขั้น แต่จะมีทางขึ้นอีกทางที่รถสามารถขึ้นไปถึงได้เลย ไม่ต้องขึ้นบันไดให้เหนื่อย แต่ถ้าใครอยากพิชิตยอดเขาโดยการขึ้นบันไดด้วยตัวเองก็เก๋กู๊ดไปอีกแบบ
มาถึง ยอดเขาสะแกกรัง จะเห็นระฆังใบนี้ตั้งโดดเด่นอยู่ด้านหน้ามณฑป ระฆังใบนี้เป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนที่มาถึงต้องมาตีเพื่อความเป็นศิริมงคลไม่อย่างนั้นจะเหมือนมาไม่ถึงอุทัยธานีค่ะ
จากยอดเขาสะแกกรัง มาต่อที่ วัดท่าซุง วัดที่มีชื่อเสียงและงดงามมากๆ อีกวัดหนึ่ง ภายในวัดท่าซุงกว้างขวางและมีศาสนสถานให้เราได้แวะไปกราบไหว้หลายจุดค่ะ แต่ที่โดดเด่นคงเป็นวิหารแก้ว 100 เมตร ซึ่งข้างในสร้างด้วยโมเสกแก้วแวววาว ระยิบระยับทั้งหลัง วิหาร แก้ว 100 เมตร จะมีเวลาเปิด 2 ช่วง คือ 9 โมงเช้า- 11.45 หลังจากนั้นจะปิดให้นั่งกรรมฐาน เปิดอีกรอบตอน 14.00 – 16.00 น. ถ้าจะแวะมาก็ดูเวลาให้ดีน่ะค่ะ ส่วนในจุดอื่นของวัดเปิดตามเวลาปกติ
จากวิหารแก้ว 100 เมตร นั่งรถไปอีกนิดนึง จะถึง ปราสาททองคำ ซึ่งตั้งอยู่ในวัดท่าซุงเช่นกัน
และมาถึงเวลาที่พวกเรารอคอย คือ ปันจักรยานชมเมือง ที่พักเกือบทุกแห่งในอุทัย จะมีบริการจักรยานให้ใช้ฟรี เพราะที่นี่เค้าเป็นเมืองที่รณรงค์ให้ปั่นจักรยาน และมีเส้นทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน ชมวิถีชีวิตในเมืองและรอบเกาะเทโพด้วย สำหรับพวกเราปั่นรอบเกาะเทโพคงไม่ไหว เพราะไกลเกิน เกือบ 40 กิโล ถ้าเส้นเล็กก็เกือบ 15 กม. เลยขอเน้นปั่นชิวๆ ชมเมืองดีกว่า จากที่พักปั่นมาเพียง 800 เมตร ก็จะถึงสะพานปูนเล็กที่ข้ามฝั่งไปยังตลาดสด ช่วงเวลาในการปั่นแนะนำว่าควรปั่นช่วงเช้า หรือไม่ก็เย็นไปเลย อากาศจะได้ไม่ร้อนค่ะ
จากนั้นปั่นข้ามสะพานมายังตลาดสด ผ่านวงเวียนเพื่อมาที่นี่ ถนนคนเดินตรอกโรงยา ในอดีตเป็นย่านที่อยู่อาศัยและร้านค้าของชาวจีนหลากหลายฐานะ
ถนนคนเดินตรอกโรงยา เป็นถนนที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวเมืองอุทัยธานี เป็นแหล่งการค้าและถนนแห่งความบันเทิงที่พบปะของพ่อค้าชาวจีนในสมัยก่อน เปิดในช่วงเย็นทุกวันเสาร์ ถือเป็นถนนสายวัฒนธรรม ที่ถูกฟื้นฟูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เป็นถนนสายเล็กระยะทางสั้นๆเพียง 100 เมตร มีร้านค้า และร้านขายของทีระลึกเหมือนกับถนนคนเดินทั่วไป
เดินมาสะดุดตากับบ้านหลังนี้ค่ะ บ้านนกเขา ไม่ได้ขายของอะไรน่ะค่ะ แต่เป็นเหมือนบ้านที่รวบรวมของเก่าและภาพประวัติของเมืองอุทัยในอดีต โดยมีพี่เจ้าของบ้านคอยเล่าและอธิบายและให้ความรู้เราอย่างเป็นมิตร
จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน
ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ เมืองโบราณการุ้ง
• ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า(อำเภอหนองฉาง) แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า “เมืองอู่ไทย”ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทางเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ“พะตะเบิด” เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อเมืองจึงเรียกเพี้ยนเป็น“เมืองอุไทย” ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน
• อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมและอาหารการกินมากมายเช่นหน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้
• จังหวัดอุทัยธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ แต่ละอำเภอมีระยะห่างจากอำเภอเมือง ดังต่อไปนี้
อำเภอทัพทัน 19 กิโลเมตร
อำเภอบ้านไร่ 80 กิโลเมตร
อำเภอลานสัก 54 กิโลเมตร
อำเภอสว่างอารมณ์ 33 กิโลเมตร
อำเภอหนองขาหย่าง 10 กิโลเมตร
อำเภอหนองฉาง 22 กิโลเมตร
อำเภอห้วยคต 45 กิโลเมตร
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
• ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอวัดสิงห์และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
1. ไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท อุทัยธานี
2. บ้านอิงน้ำรีสอร์ท อุทัยธานี
3.อวตาร มิราเคิล อุทัยธานี
4.อุทัยริเวอร์เลค รีสอร์ท อุทัยธานี
5.ริเวอร์ มารีน่า รีสอร์ท อุทัยธานี
รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1. จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ 305 กิโลเมตร
2. จากทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 333 ตรงทางแยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 206 ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 222 กิโลเมตร
3. อีกเส้นทางหนึ่งเริ่มต้นจากถนนสาย 32 เช่นกัน เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 30 (อยู่ในเขตจังหวัดอยุธยา)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 334 และจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 309 ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง จากนั้นมาตามถนนสาย311ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านจังหวัดชัยนาทที่อำเภอสรรพยา จากนั้นเลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 3183 เข้าจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 283 กิโลเมตร
รถไฟ ต้องโดยสารรถไฟไปลงที่สถานีนครสวรรค์ แล้วต่อรถประจำทางมายังอุทัยธานีอีกประมาณ 50 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1960, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 กิโลเมตร 11 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศตั้งแต่เวลา04.30-17.50 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852 – 66 สถานีเดินรถอุทัยธานี โทร. 0 56511914, 0 56512859, 0 56511058 หรือ www.transport.co.th นอกจากนี้จากจังหวัดอุทัยธานียังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรีและ นครปฐม