เลื่อนลงล่าง

บึงสีไฟ

โดย. Pang Yen

06/12/59

Tag

Share

บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามหรืออันดับห้าของประเทศรองจาก บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบหนองหาน บึงละหานและ กว๊านพะเยา ตามลำดับ โดยบึงสีไฟมีเนื้อที่ 5,390 ไร่ ซึ่งลดลงมาภายหลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ที่เดิมบึงสีไฟมีเนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ บึงสีไฟเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย

บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพิจิตรไปทางทิศตะวันตกเพียง 1 กิโลเมตร บึงแห่งนี้มีอาณาเขตติดต่อกับ 4 ตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร ได้แก่ ตำบลท่าหลวง ตำบลโรงช้าง ตำบลคลองคะเชนทร์ และตำบลเมืองเก่า บึงมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5 - 2 เมตร ซึ่งถือว่าไม่ลึกมากนัก

  • รูปปั้นพญาชาลวัน ตามตำนานเรื่องไกรทอง ที่เล่าว่ามีจระเข้ใหญ่ชื่อพญาชาลวัน เคยอาละวาดกินผู้คน และในที่สุดถูกไกรทองปราบลง รูปปั้นดังกล่าวตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของบึงสีไฟ จัดสร้างเป็นอาคารขนาดย่อม มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง และยังเป็นรูปปั้นจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
  • สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ศาลาเก้าเหลี่ยม เป็นอาคารรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟ ซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร
  • ศาลากลางน้ำ คือศาลาที่ตั้งอยู่บนบึงสีไฟ มีทั้งหมด 4 ศาลา นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารสัตว์น้ำบนศาลาแห่งนี้ โดยเฉพาะศาลาใหญ่ และยังใช้เป็นคูหาเลือกตั้งของจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
  • บ่อจระเข้ ในบริเวณเขตบึงสีไฟยังมีบ่อจระเข้ตั้งอยู่ด้วย โดยมีบ่อจระเข้ถึง 2 บ่อ คือ บ่อเก่า และบ่อใหม่ ซึ่งปัจจุบันบ่อจระเข้เก่าซึ่งมีขนาดเล็กได้ถูกยกเลิกการใช้งานไปแล้ว เพราะมีการสร้างบ่อจระเข้ใหม่ขึ้นมาแทนที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นในบริเวณเขตบึงสีไฟเช่นเดียวกัน
  • ภาพวาดพญาชาละวัน และภาพวาดน้ำตก เป็นงานศิลปะบนพื่นดิน เพื่อให้ถ่ายภาพให้เหมือนภาพสถานที่จริงแบบสามมิติ

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.พิจิตร
เนื้อที่ประมาณ : 8.624 ตารางกิโลเมตร (5,390 ไร่)
ระดับความสูงจากน้ำทะเล : ประมาณ 35 เมตร
 

    พื้นที่ประมาณร้อยละ 85 ของบึงสีไฟปกคลุมด้วยวัชพืชน้ำ และประมาณร้อยละ 15 เป็นที่โล่งไม่มีวัชพืช
ปกคลุม ในฤดูน้ำหลากประมาณ 2 เมตร มีแพสนุ่นขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ ไปตามกระแสลม และสนุ่นบางส่วนก็มีราก
หยั่งไปถึงพื้นดินทำให้มีสภาพคล้ายเกาะ มีนกน้ำมาอยู่อาศัยหากินจำนวนมาก และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์
ของสัตว์น้ำ 
             พบนกอย่างน้อย 83 ชนิด เป็นนกน้ำ 35 ชนิด นกประจำถิ่น และนกอพยพ 34 ชนิด บึงสีไฟเป็นที่ทำรัง
วางไข่ของนกไม่ต่ำกว่า 18 ชนิด เช่น นกเป็ดผีเล็ก (Tachybaptus ruficollis) นกยางไฟธรรมดา (Ixobrychus 
cinnamomeus
) นกยางไฟหัวเทา (I. eurhythmus) นกอีลุ้ม (Gallicrex cinerea) นกกระจาบอกลาย (Ploceus 
manyar
) เป็นต้น ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ได้แก่ นกกระสาแดง (Ardea purpurea
นกกระสานวล (A. cinerea) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้แก่ นกกระจาบอกลาย 
ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (near threatened) ได้แก่ นกยางไฟหัวเทา เป็ดคับแค (Nettapus
coromandelianus) นกอีลุ้ม นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง (Emberiza aureola) นกที่พบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 
นกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) เป็ดลาย (Anas querquedula) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica
นกอีแจว (Hydrophasianus chirurgus
             พบปลาอย่างน้อย 33 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาหมอไทย (Anabas testudineus) ปลากริมควาย 
(Trichopsis vittatus) ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) ปลาช่อน (Channa striatus) ปลาชะโด 
(C.micropeltes)ปลากระดี่หม้อ (Trichogaster tricopterus) ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) ปลาตะเพียนขาว 
(Barbodes gonionotus) ปลาสร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus siamensis) ปลาพรม (Osteochilus melanopleura
และปลาไหล (Monopterus albus) พันธุ์พืชที่พบมีมากถึง 49 ชนิด ที่หนาแน่นเป็นพืชชายน้ำ ตามขอบบึงพบบอน 
(Colocasia esculenta) ตาลปัตรฤาษี (Limnocharis flava) เอื้องเพ็ดม้า (Polygonum tomentosum) หญ้าไซ 
(Leersia hexandra) หญ้าปล้อง (Hymenachne pseudointerrupta) ผักเป็ดไทย (Alternanthera sessilis
และไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra) ซึ่งแพร่ระบาดไปตาม ขอบบึง และทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากมีการควบคุมได้ยาก 
พืชลอยน้ำพบทั่วไป ได้แก่ ผักตบชวา (Eichhornia crassipes) จอก (Pistia stratiotes) แหน (Lemna perpusilla)
แหนแดง (Azolla pinnata) จอกหูหนู (Salvinia cucullata) ผักปอด (Sphenoclea zeylanica) แพงพวยน้ำ
(Jussiaea repens) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) และตับเต่านา (Hydrocharis dubia)

โรงแรมหมูน้อยรีสอร์ท จังหวัดพิจิตร 
ที่อยู่ 250 หมู่3 ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมืองพิจิตร พิจิตร 66000 
เบอร์โทรศัพท์ หมูน้อยรีสอร์ท : 0814750028 
การเดินทาง หมูน้อยรีสอร์ท : 
จากตัวเมืองพิจิตร ใช้ถนนเลี่ยงเมือง ตรงไปทางรอบบึงสีไฟ ผ่านโรงเรียนสระหลวงพิทยาคม ตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบป้ายทางเข้ารีสอร์ทอยู่ด้านซ้ายมือเลี้ยวเข้าซอยไป 300 เมตร ก็จะพบหมูน้อยรีสอร์ท

บึงสีไฟ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 341 กม.ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพประมาณ 4 ชั่วโมง 13 นาที 

อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 4.6 กม.ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 12 นาที 

-ควรรักษาความสะอาด

-ไม่ควรโยนสิ่งของหรือทิ้งขยะลงบึง

เบอร์โทรศัพท์ หมูน้อยรีสอร์ท : 0814750028 

เบอร์โทรศัพท์ผู้ดูแลบึงสีไฟ 0-5661-1309

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag