เลื่อนลงล่าง

หนีร้อนไปนอนแพ ณ เขื่อนรัชชประภา

Tag

Count :

Share

                เขื่อนรัชชประภา หรือที่ใครๆ รู้จักกันดีว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” อันเป็นชื่อดั้งเดิม ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเขื่อนรัชชประภาในปัจจุบัน อันเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง สำหรับตัวเขื่อนรัชชประภานั้น เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวอเนกประสงค์  สูง 95 เมตร ยาว 700 เมตร ทะเลสาบเหนือเขื่อนก็เต็มไปด้วย ภูเขาหินปูนธรรมชาติที่มีรูปร่างต่าง ๆ แปลกตา และเมื่อธรรมชาติได้จัดวางผืนน้ำเคียงข้างกำแพงแห่งขุนเขาหินปูนได้อย่างลงตัวราวกับบรรจงสร้างมาอย่างไรอย่างนั้น ได้ทำให้ที่นี่กลายเป็นโลกใบใหม่ที่ห่มคลุมด้วยความสงบงาม

                                                  

                                                 

                                   

              เขื่อน รัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อีกแห่งหนึ่ง ของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ได้ประสบผลสำเร็จ ลุล่วงตามเป้าหมาย ที่วางไว้ ทุกประการ ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือด้วยดี จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในภาครัฐบาล และเอกชน

              เนื่อง ในวโรกาส มหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ และรัชมังคลาภิเษก ในปี ๒๕๓๐ เขื่อนรัชชประภา ได้รับการพิจารณา ให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ ตามที่รัฐบาลจัดถวาย นับเป็นเกียรติ อันยิ่งใหญ่ของ กฟผ. และชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะคงความภูมใจ อยู่คู่กับเขื่อนนี้ ตลอดไป

               เขื่อน รัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ แล้วเสร็จ ในเดือนกันยายน ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน เปิดเขื่อน รัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๐

              เขื่อน รัชชประภา หรือที่เรียกกันติดปากว่า กุ้ยหลินเมืองไทย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น ทัศนียภาพ ของ เขื่อนรัชชประภา โดยทั่วไปภาย ในอ่างเก็บน้ำเหนือ เขื่อนรัชชประภา มีความสวยงมาก นักท่องเที่ยวทุกคณะที่ไปเห็นล้วนประทับใจ ภูมิประเทศโดยทั่วไปของ เขื่อนรัชชประภา เป็นภูเขาหินปูนที่สูงชันล้อมรอบไปด้วยผืนน้ำที่กว้างใหญ่ สีน้ำใสจน ด้วยความลึกที่มาก ประกอบ กับสีของตะไคร้น้ำที่อยู่เบื้องล่างทำให้น้ำใน เขื่อนรัชชประภา มีสีเข้มเหมือนสีมรกต หรือเหมือนสีน้ำทะเลของถ้ำมรกต ลักษณะภูมิประเทศไปคล้ายกับภูมิประเทศที่เมืองกุ้ยหลินประเทศจีน จึงได้ฉายาว่า กุ้ยหลินเมืองไทย

 

ครัวกุ้ยหลิน

  • เมนูแนะนำ

ครัวพุมดวง

  • เมนูแนะนำ

ครัวบัวผุด

  • เมนูแนะนำ

 

ที่พักในเขื่อนรัชชประภามีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ 

1. ที่พักของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ( เขื่อนเชี่ยวหลาน) มีหลายลักษณะและหลายราคา ( ห้องแอร์ทั้งหมด ) เหมาะสำหรับครอบครัว ติดต่อขอรายละเอียดหรือจองที่พักได้ที่ โทร.077-242561 
ภาพ บ้านพักต่างๆ ของการไฟฟ้าฯ

 

2. ที่พักแบบเรือนแพ ของทางอุทยานแห่งชาติเขาสก

  • แพนางไพร เป็นแพที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุด และวิวหน้าแพสวยที่สุด โทร. 077-095025, 077-299318, 077-395139ภาพ แพนางไพร
  • แพคลองคะ อยู่ถัดจากแพนางไพรเข้าไป ใกล้กับน้ำตกคลองคะ โทร. 077-299078-9 ภาพ แพโตนเตย
  • แพโตนเตย เป็นแพที่อยู่ใกล้กับ ถ้ำน้ำทะลุ โทร. 077-395139 ภาพ แพโตนเตย
  • แพไกรสร เป็นแพที่อยู่ไกล และเป็นธรรมชาติ โทร. 077-395139 ประมาณค่าใช้จ่าย คนละ 560 บาทต่อคืนพร้อมอาหาร 3 มื้อ อยู่ไม่ครบมื้อก็หักไปตามมื้อ ค่าที่พัก 200 บาท ค่าอาหารเช้า 60 บาท เที่ยง 150 บาท เย็น 150 บาท

    ***จองที่พัก อุทยานแห่งชาติเขาสก แบบ online ได้ที่ http://www.dnp.go.th/
  •  

3. ที่พักแบบเรือนแพ ของกรมป่าไม้ 
แพหน่วยฯคลองหยา หรือ แพคลองแสง เป็นแพที่อยู่ไกลที่สุด เป็นแหล่งตกปลา โทร.คุณโอ 08-6593-3440 (ทางแพไม่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา) ประมาณค่าใช้จ่าย คนละ 700 บาทต่อคืนพร้อมอาหาร 3 มื้อ 
ภาพ แพหน่วยฯคลองหยา หรือ แพคลองแสง 
 

4. ที่พักแบบเรือนแพ ของทางเอกชน

1.การเดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี

การเดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี (สนามบิน,สถานีรถไฟ,สถานีขนส่งสุราษฎร์) มายังท่าเทียบเรือเขื่อนเชี่ยวหลาน,ภูผาและลำธารรีสอร์ท โดยใช้บริการรถตู้โดยสารประจำทาง ซึ่งจะออกจากต้นสายทุกๆ 1 ชม. ซึ่งสามารถโทรแจ้งสถานที่รับ จำนวนท่าน และจุดหมายปลายทางที่จะลง

 

2.การขึ้นรถทัวร์กลับ

หากไม่ได้จองมาตั้งแต่แรก ก็สามารถมาติดต่อ สำนักงานตัวแทนขายตั๋ว ใน อ.บ้านตาขุน เป็นสำนักงานตัวแทน

  • ตัวแทนของ บริษัทภูเก็ตเซ็นทรัล 
    สนง.ตัวแทนบ้านตาขุน โทร.077 – 397050
    ภูเก็ต-กรุงเทพฯ เย็น 18.20 น. วันละ 1 เที่ยว 
     
  • ตัวแทนของ บริษัทลิกไนท์ทัวร์ 
    สนง.ตัวแทนบ้านตาขุน โทร.077 – 261169 
    พังงา-กรุงเทพฯ เย็น 18.00 น. วันละ 1 เที่ยว
    รถแอร์ธรรมดา ป.1 38 ที่นั่ง

 

3.ทางเครื่องบิน

สามารถมาลงยัง สนามบินใกล้เคียงได้ 3 สนามบิน สุราษฎร์ธานี, กระบี่, ภูเก็ต จากระยะทางระหว่างสนามบินสุราษฎร์ธานีกับเขื่อนเชี่ยวหลานจะใกล้กันมากที่สุด รองลงมาเป็นสนามบินกระบี่ และสนามบินภูเก็ตไกลสุด 

  • สนามบินสุราษฎร์ธานี 

                ระยะห่างเขื่อนประมาณ 65km มีจำนวนเที่ยวบินปานกลาง การเดินทางต่อไปเขื่อน มีให้เลือกน้อย 

  • สนามบินกระบี่ 

                ระยะห่างเขื่อนประมาณ 140km มีจำนวนเที่ยวบินปานกลาง การเดินทางต่อไปเขื่อน มีให้เลือกน้อย 

  • สนามบินภูเก็ต 

                ระยะห่างเขื่อนประมาณ 160km มีเที่ยวบิน หลายเที่ยวบิน ตลอดทั้งวัน การเดินทางต่อไปเขื่อน มีให้เลือกมากมาย 

 

4.ทางรถไฟ

ตารางเวลาเดินรถ และการจองตั๋วรถไฟ สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 0 2220 4334 หรือ www.railway.co.th การเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี (อยู่ที่อำเภอพุนพิน) แล้วต่อรถประจำทาง หรือรถทัวร์ของบริษัทท่องเที่ยว ไปจังหวัดภูเก็ต หรือ พังงา เพื่อมาลงตรงหน้าปากทางเข้าเขื่อน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 

รถประจำทาง ที่ผ่านสถานีรถไฟ เที่ยวแรก 6.30น และมีมาทุกๆชั่วโมง รถบัส สีส้ม เส้นทาง สุราษฎร์-ตะกั่วป่า-ภูเก็ต ค่าโดยสาร 50 บาท รถบัส สีน้ำเงิน พุนพิน-ตาขุน-พนม ราคาประมาณ 50 บาท 
รถบัส หรือรถตู้ขนาดใหญ่ D4D ของบริษัททัวร์ ที่จะไป ภูเก็ต หรือ กระบี่ เที่ยวแรก 7.30น และมีมาทุกชั่วโมง ค่ารถบัส 280 บาท ถ้าเป็นรถตู้ 350 บาท

รู้ก่อนเดินทาง

  • ฤดูกาลที่เหมาะสม ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง ก.ย. ยกเว้นในช่วงฤดูมรสุม เดือน ต.ค. ถึง ธ.ค.
  • ในเขื่อนรัชชประภา มีที่พักแบบเรือนแพของอุทยานฯ ของกรมป่าไม้ ของการไฟฟ้า และ ของเอกชนไว้บริการ
  • เวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวอยู่ที่ประมาณ 3 วัน 2 คืน น่าจะเที่ยวได้เกือบทั่วทุกแห่งหรือจะเผื่อเวลาอีกนิด เป็น 4 วัน 3 คืน ก็ดี
  • ถ้าไม่ใช่ช่วงฤดูหนาว อากาศร้อนถึงร้อนมาก ควรมีพัดลมเล็กๆติดตัวไปด้วย ไม่งันนอนไม่ได้แน่
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่อุทยานแห่งชาติเขาสกโทร. 077 395 139 หรือ 077 395 055

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่

         ทางหลวง 401 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน  สุราษฎร์ธานี

เบอร์โทร

          0 7724 2560 ต่อ 2512

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :