เลื่อนลงล่าง

เชียงคาน จ.เลย

13/05/59

Tag

Count :

Share

เชียงคาน เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงสุดชายแดนไทย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่คงยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ แห่งนี้ กำลังเป็นที่สนใจ ของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  ภาพบ้านเก่าๆที่เรียงรายติดกันอยู่ริมถนนชายโขง ดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายรุ่นต่าง หลั่งไหลเดินทางกันมาที่นี่ บ้านเรือนที่เมืองเชียงคานจะแบ่งออกเป็นซอย เล็กๆ เรียกว่า ถนนศรีเชียงคาน ขนานคู่กันไปไปกับถนนใหญ่ ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มตั้งแต่ถนนศรีเชียงคาน ซอยที่ 1- 24  แบ่งเป็นถนนศรีเชียงคานฝั่งบนกับฝั่งล่างซึ่งชื่อซอยเหมือนกัน

ถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง คือ ถนนเส้นที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่าแก่ ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้าเก๋ มากมายซึ่งถนนในเส้นนี้ จะเรียกว่า "ถนนชายโขง" ซึ่ง ระยะทางกว่า  2 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว นิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศ ถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทาง เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง เพราะต้องการอนุรักษ์ สภาพแวดล้อม บริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเป็นการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน แต่ถึงแม้บ้านไม้เก่าๆ ถึงแม้ถูกดัดแปลง ให้เป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บ้านพักโฮมสเตย์ไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรความ สงบเรียบง่ายของวิถีชีวิต รอยยิ้มที่ แสนจะจริง ของผู้คนในเมืองนี้ ยังคงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เมืองเชียงคานแตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ

 

วัดศรีคุณเมือง
ตั้งอยู่ที่ซอย 6 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ สร้างในแบบแปลกตา รูปร่างคล้าย โบสถ์ตามวัดภาคเหนือ ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบันภาพ ทั้งหมด เป็นภาพนิทานชาดก ชุดพระเจ้าสิบชาติ วัดศรีคุณเมือง มีพระพุทธรูปประธานที่เก่าแก่เป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาและนับถือของชาวอำเภอเชียงคานเป็นอย่างมาก คือ พระพุทธรูป ปูนปั้นนาคปรก ปางสมาธิ พระพุทธรูปใน อุโบสถวัดศรีคุณเมือง เป็นพระพุทธรูปนาคปรก ก่อด้วยอิฐถือปูน เป็นศิลปะล้านช้าง ผสมอยุธยา เป็นพระพุทธรูป ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นคนไทยและประชาชนจากฝั่งลาว หากมีโอกาสจะเดินทาง ข้ามแม่น้ำโขง เพื่อมากราบไหว้อธิษฐานขอพรในการเดินทางไปทำมาค้าขายให้สำเร็จรุ่งเรือง หรือให้ปลอดภัยจาก ภยันตราย ทั้งหลายทั้งปวง ใครที่มาขอพรจากพระประธานในพระอุโบสถวัดศรีคุณเมือง จะประสบความสำเร็จและสมหวังกันทุกคน

วัดโพนชัย 
ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างซอย 2-3 ชมพระอุโบสถที่มีรูปสถาปัตยกรรมล้านช้างผสมสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พระยาศรีอรรคฮาตเป็นผู้สร้าง และเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการเมืองเชียงคาน ก่อนจะย้ายไปอยู่ในที่ปัจจุบันแก่งคุดคู้ห่างจากตัวเมือง เชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร

วัดป่ากลาง 
เดิมเป็นวัดเล็กๆ สองวัด คือ วัดกลางและวัดป่า เนื่องจากวัดกลางตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง เข้า มาถึงวัด ชาวบ้านจึงย้ายมารวมวัดสองวัดเข้าเป็นวัดเดียวกันเมื่อปี พ.ศ.2466 เรียกชื่อว่า “วัดป่ากลาง” ต่อมาสมัยพระมหาเกียรติ วฑฒิสาโร ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดมัชฌิมาราม” พระประธานในอุโบสถเป็น พระพุทธ รูปปูนปั้นปางมารวิชัย ภายในบริเวณวัด มีอาคารส้วมโบราณ ซึ่งชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี 
วัดมหาธาตุ 
ตั้งอยู่ ซอย 14 วัดมหาธาตุ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงคาน ไปชมพระอุโบสถไม้เก่าแก่รูปแบบล้านช้าง ภายในประดิษฐานพลวงพ่อใหญ่ บริเวณหน้าจั่วมีภาพเขียนบอกเล่าเรื่องราวประวัติเมืองเชียงคาน และมีเจดีย์ก่ออิฐที่เชื่อกันว่าสร้างทับรูพญานาค นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านช้างที่สวยงาม 
วัดท่าแขก
วัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงนับว่าเป็นบรรยกาศเย็นสบาย ภายในได้ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 
300 ปี นับว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนต่อเนื่อง มีประวัติเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์เมือง เชียงคาน เชื่อว่า "วัดท่าแขก" สร้างตรงกับสมัยขุนคานสร้างเมืองเชียงคาน บ้างก็สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในปี พ.ศ. 2020 เพราะมีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งเกิดศึกญวน พระเจ้าชัยจักรพรรดิแผ่นแผ้วกับข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่ง หลบ หนีศึกสงครามมาตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งลำน้ำโขงบริเวณวัดศพ พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์รัชกาลต่อมาได้สร้างพระยืน ขึ้นที่วัดศพ โดยสกัดจากหินผาฮดและได้สร้าง "วัดท่าแขก" พร้อมกันไปด้วย วัดท่าแขกแห่งนี้ให้ทางฝ่ายชาย ได้ร่วมมือกันสร้างขึ้น 
วัดท่าคก
นี้เชื่อกันว่าสร้างโดยพระยาศรีอรรคฮาต เจ้าเมืองคนสุดท้ายของเชียงคาน มีพระอุโบสถและศิลาจารึกด้านหน้า ให้ชม 
วัดป่าใต้
ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2415 เดิมเป็นวัดป่าธุดงค์ สำหรับพระมาจำพรรษา ต่อมาพระครูศรสิริสุโข พร้อมด้วยชาว บ้านร่วมกันสร้างให้มั่นคงถาวรขึ้น พระอุโบสถเก่าแก่ประดับภาพจิตกรรมฝาผนังเป็นพุทธประวัติ ฝีมือช่างชาว 
เชียงคาน
วัดภูช้างน้อย
ขึ้น ภูไหว้พระใหญ่ อธิฐานขอพร ก่อนชมเมืองเชียงคานจากยอดภูช้างน้อย วัดภูช้างน้อยเป็นวัดป่า ซึ่งชาว 
เชียงคานได้สร้างขึ้น พระพุทธรูปองค์ใหญ่บนยอดเขามองเห็นเด่นเป็นสง่า ให้ทราบว่าท่านมาถึงเมืองเชียงคาน 
เมืองแห่งธรรมมะแล้ว
วัดสันติวนาราม
ตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2482 โดยพระครูพิทักษ์สังฆการ เป็นผู้นำชาวบ้านสร้างขึ้น เดิมชื่อว่า “วัดป่าศิริพิทักษ์อรัญญ วาส” ต่อมาพระพิมลธรรมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดสันติวนาราม” ภายในวัดมีมณฑปประดิษฐานรายพระพุทธบาท จำลอง และบริเวณรอบอุโบสถ มีพระพุทธรูปสีทองอร่าม ประดิษฐานเรียงรายนับร้อยองค์งดงามมาก

- ข้ามเปียกเส้น ตั้งอยู่หน้าปากซอย 12 (เดิมอยู่ซ.10) ตรงข้ามวัดป่ากลาง เปิดขายตั้งแต่ 06.00-20.00 น. 
เมนูเด่นมือเช้าของเมืองเชียงคานที่ไม่ควรพลาด ข้าวเปียกเส้น รสชาติเส้นจะนุ่มและเหนียวนิด น้ำซุปอร่อยเข้มข้น ที่นี่มีเมนูให้เบือกรับประทานหลายอย่าง  ทั้งโจ๊ก เกาเหลาเลือดหมู

- ลุกโภชนา ตั้งอยู่ในถนนศรีเชียงคาน ซ. 9  เปิดขายตั้งแต่ 07.00-21.00 
เป็นร้านอาหารเก่าแก่ ที่ขึ้นชื่อของเชียงคานมีหลากหลายเมนูเด็ดให้เลือกมากมาย มื้อเช้า มีโจ๊ก เกาเหลา ต้เลือดหมู  ขนมจีบ  ต้มจืดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเมนูปลาแม่น้ำโขง ต้มยำ น้ำข้น น้ำไสปลาคังลวกจิ้ม เป็นต้น

- ข้าวปุ่นน้ำแจ่ว
หรือ ขนมจีนน้ำใส เป็นอีก 1 เมนู ที่จะพบเจอได้เฉพาะเชียงคานเท่านั้น เพราเป็นอาหารพื้นเมืองของที่นี่ ข้าวปุ่นน้ำแจ๋ว ส่วนประกอบ ของข้าวปุ้นน้ำแจ๋วที่แตกต่างจากขนมจีนทั่วไป เช่นมีเครื่องในหมู ตับ ไต ไส้ พุง ที่ต้มจนสุกแล้ว ประเภทผักๆก็มีผักบุ้ง กระล่ำปี ถั่วฝักยาว งอก สาระแน ต้นหอมสด และที่สำคัญจะขาดไม่ได้ เลยคือน้ำชุบใส แต่ละร้านของที่นี่ก็จะมีรสชาติแซบ แตกต่าง กันไป ว่ากันว่าถ้าใครได้มาเยือนเชียงคาน ถ้าไม่ได้ชิมข้าวปุ้นน้ำแจ๋วย่ามเช้า ก็เท่ากับว่าไม่ถึงเชียงคาน ซึ่งส่วนใหญ่จะ เปิดใน ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00 – 11.00 นของก็ จะเริ่มหมดแล้ว เพราะฉะนั้้ใครอยากกิน ต้องไปแต่เช้า  ที่เชียงคานมีร้านข้าวปุ่นน้ำแจว หลายร้าน ได้แก่ ป้าอ๋อยข้าวปุ้นน้ำแจ่ว (ซอย 5 บน), ป้านางข้าวปุ้นน้ำแจ่วชอย 6, ป้าลี่ ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ซอย 14 ข้างวัดมหาธาตุ

- จุ่มนัวยายพัด ตั้งอยู่ในถนนศรีเชียงคาน ซ. 10 เปิดขายตั้งแต่ 08.00-15.00 น. 
ร้านเก่าแก่อีกหนึ่งร้าน ที่เปิดมานานกว่า 40 ปี มีเมนูเด็ด คือ ข้าวเปียกเส้น และหมี่กระทิ สำหรับมื่อเช้า ตกเที่ยง แวะมากินจุ่มนัว และขนามจีนน้ำยา 

โรงแรมเชียงคานบุรี เลย

ที่อยู่  343 moo.1  Sri Chiang Khan Soi 11  ตัวเมืองเชียงคาน

ราคาเริ่มต้นต่อคืน    1020

โรงแรมเชียงคานบุรี เลย ให้บริการที่พักคุณภาพในย่านถนนคนเดิน  ผู้เข้าพักสามารถไปยังทุกที่ในเมืองอันมีชีวิตชีวานี้ได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องมองหาที่พักที่ไหนไกลเพื่อไปยังสถานที่และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ ตลาดเชียงคาน, โรงพยาบาลเชียงคาน, แก่งคุดคู้

สุเนต์ตา โฮสเทล เชียงคาน

ที่อยู่ 187/2 หมู่ 2 ถนน เชียงคาน, ตัวเมืองเชียงคาน

ราคาเริ่มต้นต่อคืน    1096

สุเนต์ตา โฮสเทล เชียงคาน  ตั้งห่างจากใจกลางเมืองเพียง 0.5 Km ผู้เข้าพักสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมที่หลากหลายและแหล่งท่องเที่ยวมากมายของเมือง ห้องพัก 15 ห้องที่เรียงรายไปตลอดทั้ง 2 ชั้นให้ทั้งความอบอุ่นและน่าพอใจเหมือนดั่งบ้านหลังที่สอง ความสะดวกสบายและทันสมัย

โรงแรมนอนนับดาว ริมโขง

ที่อยู่ 48 ซอย 3 หมู่1 ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน

ราคาเริ่มต้นต่อคืน    1189 up

โรงแรมนอนนับดาว ตั้งอยู่ใกล้ถนนคนเดิน ติดริมน้ำโขง  เป็นสถานที่พักอันลงตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำกับสีสันของเชียงคาน ตัวเมืองอยู่ห่างไปเพียง 50 km  กลิ่นไอความเป็นโรงแรมนอนนับดาว ริมโขง สะท้อนออกมาให้เห็นในการออกแบบห้องพักทุกห้องที่นี่

1.แก่งคุดคู้ 
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงคานประมาณ 3 กิโลมเตร แก่งคุดคู้เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขงห่างจาก ตัวอำเภอเชียงคาน ประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมาก ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบจรด สองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่าน ไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งทะเลไทยซึ่ง กระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะ ที่จะมาชมแห่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ถึง เดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้งมองเห็นเกาะแก่งต่าง ๆ ชัดเจนบริเวณแก่ง มีร้านอาหารจำหน่ายมากมาย

2.ชมทะเลหมอกภูทอก
จุดชมทัศนีย์ภาพเมืองเชียงคาน และทะเลหมอก สวยงามริมฝั่งโขงที่แปลกตาด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อนสุดตา ไกลถึงฝั่งลาว การเดินทางจากตัวอำเภอเชียงคานนักท่องเที่ยว ต้องนั่งรถมาลงที่จุดจอดรถขึ้นไปชมทะเลหมอกภูทอก ซึ่งจะมีรถสองแถวให้บริการ คิดราคาคนละ 25 บาท ไม่อนุญาติให้นำรถส่วนตัวขึ้นไป

3.หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด ปัจจุบันยังมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ มีบ้านที่สร้างขึ้น ตามแบบเอกลักษณ์ ดั้งเดิมของชาวไทดำ รวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวัน ที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตและยังมีการรวมกลุ่มทอผ้า พื้นเมืองของชาวบ้าน โดยสามารถชมการทอผ้าและเลือกซื้อสินค้าเป็น ของฝากได้ นักท่องเที่ยวที่สนใจที่จะสัมผัสชีวิตความเป็น อยู่ชาวไทดำแบบโฮมสเตย์สามารถติดต่อ ได้ที่ สมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทดำก่อนล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ โทร. 08 1048 2000 พัก 1 คืน อาหาร 2 มื้อ ราคา 300 บาท/คน การเดินทาง ใช้เส้นทางเลย-เชียงคานไปประมาณ 38 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทาง ไปบ้าน นาสีจนถึงบ้านาป่าหนาดอีกประมาณ 10 กิโลเมตร พระใหญ่ภูคกงิ้วเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ประทานพรหล่อด้วยไฟเบอร์ ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตร ตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน เพื่อถวายเป็น พระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องใน วโรกาสมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ. 2542 และ ในมหา มงคลแห่งราชพิธีราชาภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 บริเวณโดยรอบ สามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้ การเดินทาง จากตัวเมืองเลยใช้ทางหลวง หมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ไป 47 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกตรงไปจน ถึงบ้านท่าดีหมี่ และเลี้ยวขวาที่โรงเรียน บ้านท่าดีหมีไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

4. วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน 
อยู่ที่บ้านผาแบ่น ตำบลบุฮม การเดินทาง ใช้เส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้าน ผาแบ่นมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กิโลเมตร พระพุทธบาท ภูควายเงิน เป็นรอยพระพุทธบาทยาวประมาณ 120 เซนติเมตร กว้าง 65 เซนติเมตร ประดิษฐานบนหินลับมีด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2478 รอยพระพุทธบาทภูควายเงินเป็นที่เคารพ สักการะของ ชาวบ้านในแถบนี้มาก สมัยก่อนครั้งที่การเดินทางมานมัสการยังลำบาก เชื่อกันว่าคนที่มีบุญวาสนา เท่านั้นจึงจะ เดินทางมากราบไหว้ได้ คนที่วาสนาไม่ถึงจะต้องมีเหตุให้มาไม่ได้ ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่ก็ตาม บางคนก็หลงทาง ทุกปีในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ทางวัดจะจัดงานสมโภชประจำปีถือเป็นงานสำคัญของชาวบ้านในแถบนี้

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :