เลื่อนลงล่าง

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

โดย. Nattawan Bfc

22/05/59

Tag

Count :

Share

"ชมวิดีโอท่องเที่ยวอุทยานเเห่งชาติเขาพระวิหาร...คลิกที่นี่"

วิดีโอโดย : Voice tv

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เขาสัตตะโสม 

ภาพโดย : kaijae1963

เป็นหน้าผา ติดแนวชายแดนประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย สามารถมองเห็นผามออีแดง และปราสาทเขาพระวิหารได้ชัดเจน มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

เขื่อนห้วยขนุน 

เป็นอ่างเก็บน้ำชลประทาน และที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน เที่ยวชมธรรมชาติและเข้าค่ายกางเต็นท์พักแรม

ช่องตาเฒ่า 

อยู่บริเวณชายแดนแนวเขตของไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย เป็นพื้นที่คอดกิ่วของเทือกเขาพนมดงรัก ที่สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้ระหว่างทั้งสองประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่จัดเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิด (ข้อมูลปี 2547) ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ และกองกำลังทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ได้พยายามเข้าเคลียร์พื้นที่นี้อยู่ เพื่อการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ช่องโพย 

เป็นอีกเส้นทางหนึ่งพื้นผิวจราจรเป็นดินลูกรัง ที่จัดทำไปยังแนวชายแดนกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ท้องที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังสนับสนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ และบริเวณนี้ยังมีน้ำตกและทัศนียภาพที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
    
ช่องอานม้า 

ภาพโดย : apichit kleebmuang

เป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขาย ระหว่างแนวชายแดนไทย-กัมพูชาประชาธิปไตย เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเปิดจุดช่องผ่อนปรนในวันอังคารและวันพฤหัสบดี

ถ้ำฤาษี 

เป็นถ้ำแห่งหนึ่งที่อยู่บริเวณห้วยด้านทิศตะวันตกของสระตราว ใกล้เส้นทาง จะเดินสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณภายในจุคนได้มากสำหรับพักแรมได้ ถ้ำนี้เคยมีพระสงฆ์เดินทางไปปักกรดพักปฏิบัติจำพรรษาที่นั่นมาก่อน

น้ำตกไทรย้อย 

เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากเส้นทางสู่อำเภอน้ำยืน ประมาณ 4 กิโลเมตร
    
น้ำตกและถ้ำขุนศรี 

น้ำตกตั้งอยู่เหนือถ้ำขุนศรีขึ้นไป สูง 3 ชั้น ทางด้านทิศตะวันตกของสระตราวใกล้เส้นทางเดินสู่ปราสาทเขาพระวิหาร ส่วนถ้ำขุนศรีภายในถ้ำกว้างขวาง สามารถจุคนได้มาก เชื่อกันว่าเป็นที่พักของขุนศรีขณะที่มาควบคุมการตัดหินบริเวณสระตราวเพื่อไปสร้างปราสาทเขาพระวิหาร
    
น้ำตกห้วยตา 

เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่บริเวณเส้นทางขึ้นผามออีแดง จัดเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีพันธุ์ไม้ สมุนไพร และกล้วยไม้อยู่หลายชนิด

ผามออีแดง

................................

นับเป็นสถานที่ตรงจุดชายแดนเขตประเทศไทยติดต่อกับประเทศกัมพูชา ใกล้ทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารที่มีทัศนียภาพสวยงาม เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ พื้นที่แนวชายแดนประเทศกัมพูชา และบริเวณปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างสวยงามและกว้างไกล จุดสูงสุดของหน้าผามออีแดง สามารถส่องกล้องชมปราสาทเขาพระวิหารได้ชัดเจนมาก มองเห็นสภาพภูมิประเทศ ตามความเป็นจริงได้อย่างดี ซึ่งปราสาทเขาพระวิหารเคยเป็นสมบัติของประเทศไทยมาก่อน แต่เมื่อเกิดกรณีพิพาทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ถูกศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยโดยเด็ดขาดแล้ว เชื่อกันว่ามีการเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้า สุริยวรมันที่ 1 (ประมาณ พ.ศ. 1581) มีความสวยงามควรค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานมาก ปัจจุบันปราสาทเขาพระวิหารเปิดบริการให้ผู้สนใจขึ้นไปเยี่ยมชมได้ ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย

สระตราว 

สระตราวหรือห้วยตราว เป็นธารน้ำอยุ่ตรงบริเวณลานหินเชิงเขาพระวิหาร สายน้ำไหลผ่านถ้ำใต้เพิงหินลงสู่บริเวณที่ลุ่มต่ำซึ่งมีแนวหินซ้อนกันเป็นขอบเขื่อนกั้นสายน้ำให้ไหลไปตามที่ต้องการ (สร้างด้วยท่อนหินทรายซึ่งตัดมาจากแหล่งตัดหินมาวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ) มีผู้สันนิษฐานว่าที่ลุ่มดังกล่าวคือ บารายหรือแหล่งเก็บน้ำของขอม และปัจจุบันได้มีการบูรณะและทำความสะอาดบริเวณสระตราว สามารถเก็บกักน้ำและนำมาใช้อุปโภคบริการแก่เจ้าหน้าที่ และผู้มาเยี่ยมชม ณ บริเวณผามออีแดง และปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างเพียงพอ
    
ปราสาทโดนตวล 

เป็นปราสาทหนึ่งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีศิลปวัฒนธรรมน่าศึกษาอยู่มาก ตั้งอยู่ตรงเขตชายแดนของประเทศไทย อยู่ห่างจากหน้าผาเพียงเล็กน้อย ประมาณ 300 เมตร ขณะนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 ได้จัดทำทางสู่ปราสาทโดนตวล โดยแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2243 จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทเขาพระวิหาร ตรงจุดกิโลเมตรที่ 98 มีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร การเดินทางเข้าศึกษาและเที่ยวชมพักผ่อนหย่อนใจจึงสะดวกมาก
    
ภาพสลักนูนต่ำ 

ภาพโดย : Antifire Man

เป็นศิลปแบบโบราณมากอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพของ 3 เทพ อยู่บริเวณหน้าผาใต้มออีแดง บางรูปยังสลักไม่เสร็จ สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ระหว่าง พ.ศ. 1465-1490 เป็นรูปสลักซึ่งเก่าแก่ที่นุดในประเทศไทย ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษได้จัดทำทางเดินเท้าและราวจับ สำหรับเดินทางลงไปเที่ยวชมและศึกษาโบราณวัตถุบริเวณจุดนี้ไว้ด้วย
    
สถูปคู่ 

เป็นโบราณวัตถุมีอยู่ 2 องค์ ตั้งคู่อยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง ถ้าเดินทางจากผามออีแดงไปยังเขาพระวิหารก็จะผ่านสถูปคู่นี้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดหน้ากว้าง 1.93 เมตร สูง 4.20 เมตร ยอดมนคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างในเป็นโพรงบรรจุสิ่งของ ก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นท่อนที่ตัดและตกแต่งอีกที นับว่าแปลกจากศิลปวัฒนธรรมยุคอื่นใด

แหล่งตัดหิน 

เป็นบริเวณที่ทำการตัดหินเป็นท่อนสี่เหลี่ยม เข้าใจว่าคงเตรียมตัดหิน เพื่อใช้ในการก่อสร้างทำนบสระตราวสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ซึ่งมีทั้งหินที่ตัดเป็นท่อนแล้ว และยังตัดไม่เสร็จอยู่ในลักษณะเตรียมการอยู่ใกล้บริเวณทำนบสระตราวนั้นเอง

ด้านศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติกล้วยไม้ 

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่างๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพดิน ฟ้า อากาศ ในท้องที่ป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขา สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้จะคละปะปนกันมาก เช่น ประดู่ มะค่าโมง แดง ชิงชัน ตะแบก มะเกลือ งิ้วป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหญ้าและไผ่ชนิดต่างๆ ป่าเต็งรัง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นอยู่กระจัดกระจาย พืชชั้นล่างมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะหญ้าแพ้ว พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เขลง ตะคร้อ ฯลฯ ป่าดิบแล้ง พบบริเวณที่ราบเรียบหรือหุบเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียน พะยุง สมพง กระเบากลัก กัดลิ้น ข่อยหนาม ยาง กระบก ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหวาย และพืชในตระกูลขิงข่าต่างๆ 

เนื่องจากสภาพป่าของป่าเขาพระวิหารและป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น หมูป่า ลิงแสม พังพอนธรรมดา กระต่ายป่า หนูท้องขาว กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ นกนางแอ่นลาย นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกปรอดทอง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกกินแมลงอกเหลือง นกปีกลายสก็อต จิ้งจกดินลายจุด ตุ๊กแกเขาหินทราย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนภูเขาเขมร ตะกวด งูดิน งูเหลือม งูแม่ตะงาว งูหัวกะโหลก กบหนอง เขียดจะนา กบหลังขีด กบนา ปาดบ้าน อึ่งข้างดำ และกบอ่อง เป็นต้น ในบริเวณพื้นที่แหล่งน้ำมีปลาหลากชนิดอาศัยอยู่ เช่น ปลากระสูบจุด ปลาตะเพียนทอง ปลานวลจันทร์เทศ ปลาช่อน ปลาหมอเทศ และปลาดุกด้าน เป็นต้น 

 บริการอาหาร - ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

มีร้านอาหารของเอกชนให้บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหารตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก

*หมายเหตุ
กรณีที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ 

การเดินทาง

รถยนต์
โดยรถยนต์โดยสารสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารได้หลายเส้นทางซึ่งถนนลาดยางทุกเส้นสะดวกสบายมากคือจากจังหวัดศรีสะเกษ-อำเภอกันทรลักษ์-ที่ทำการอุทยานฯหรือจากจังหวัดอุบลราชธานี– อำเภอน้ำยืน – ที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางแต่ละสายประมาณ 100 กิโลเมตรเท่านั้น

เครื่องบิน     
เครื่องบินโดยสารจากท่าอากาศยานดอนเมืองถึงจังหวัดอุบลราชธานี คือ วันจันทร์และวันเสาร์ จากกรุงเทพฯ มีเที่ยวบินเวลา 07.10 น. และวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และอาทิตย์ ออกจากกรุงเทพฯ มีเที่ยวบินเวลา 16.25 น. ทุกวัน แล้วก็เดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารต่อไป ซึ่งสะดวกสบายสำหรับการเดินทางไปท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ตู้ ปณ.14  อ. กันทรลักษ์  จ. ศรีสะเกษ   33110
โทรศัพท์ 0 4581 8021 (VoIP), 0 4581 6071,08 1264 8727   โทรสาร 0 455283268   อีเมล wihan_np@hotmail.com

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :