เลื่อนลงล่าง

ดอยอินทนนท์

29/03/60

Share

                 พอเริ่มเข้าหน้าร้อนอย่างเดือนมีนาคม ใครๆก็จะนึกถึงแต่ทะเลกันเป็นส่วนใหญ่

     แต่ใครจะคิดว่า สถานที่ท่องเที่ยวตามเขาตามดอย อย่างดอยอินทนนท์

ก็เป็นสถานที่ที่น่าสนใจไม่น้อย ถ้าไปถึงดอยอินทนนท์ ท่านจะได้สัมผัสกับบรรยากาศ

ที่เย็นสบาย ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติแบบสุดๆ ถ้าได้กาแฟสักแก้ว จิบไป ชมธรรมชาติไป จะได้บรรยากาศไม่ใช่น้อย

ที่ดอยอินทนนท์ ไม่ได้มีแต่เขา แต่ดอย อย่างเดียว ที่นี่ยังมีน้ำตกที่สวยงาม อย่างน้ำตกวชิรธาร

 มีดอกไม้สวยงามนานาชนิตให้ชมมากมาย ที่สถานีเกษตรหลวงดอยอินทนนท์

และสามารถศึกษาธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด ที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน

แค่พูดมาเพียงเท่านี้ ก็เริ่มอยากมาเที่ยวดอยอินทนนท์กันแล้วใช่ไหมละคะ

 

                 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

             ที่นี่คือยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย ด้วยความสูง 2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยที่พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุด ณ ที่แห่งนี้ ขณะเดียวกัน ดอยอินทนนท์ยังมีสภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวัน และในตอนเช้าตรู่ท่ามกลางอุณหภูมิถึงจุดเยือกแข็ง ยังเกิดปรากฏการณ์เป็นน้ำค้างแข็ง ที่สร้างความฮือฮาในหมู่นักท่องเที่ยวเป็นประจำในทุกฤดูหนาว

 

น้ำตกวชิรธาร

                  ละอองน้ำที่ซัดสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณ เมื่อต้องกับแสงอาทิตย์ทำให้เห็นรุ้งกินน้ำเกิดขึ้นที่น้ำตกวชิรธารแห่งนี้ ได้บ่อยครั้ง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แปลกและสรรค์สร้างให้น้ำตกแห่งนี้มีความสวยงามมาก ขึ้นไปอีก บริเวณโดยรอบน้ำตกวชิรธารจะมีจุดชมความสวยงามของน้ำตก และเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ที่ทางอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ทำไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมายัง ตัวน้ำตกได้สะดวก 

             น้ำตกวชิรธาร แต่เดิมมีชื่อว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ส่วนด้านตรงข้ามของน้ำตก      วชิรธาร จะมีหน้าผาสูงชันมีชื่อว่า ผามอแก้ว หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนท้องถิ่นนิยมเรียกว่า ผาแว่นแก้ว น้ำตกวชิรธารอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ โดยอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร เป็นน้ำตกที่ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว hightlight ของดอยอินทนนท์ ที่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวไม่ควรที่จะพลาดการมาชมความงดงามของน้ำตก และเล่นน้ำตกที่นี่ น้ำตกวชิรธาร

 

             

 

สถานีเกษตรหลวงดอยอินทนนท์

ปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ถือเป็นสถานีหลักในการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับเขตหนาว และไม้ผลเขตหนาวขนาดเล็ก รวมถึงการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชผัก พืชไร่

ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านไม้ดอกและไม้ประดับที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งบนพื้นที่สูง

 

 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน

           กิ่วแม่ปาน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น เป็นวงรอบระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงประมาณ2,000เมตรจากระดับน้ำทะเลถือเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและ ทะเลหมอกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง ของดอยอินททนท์เส้นทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วย เฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของ สันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสง แดดจ้าและสายลมแรงมาถึงจุดชมวิวสูงสุด ถัดจากจุดชมวิวไปจะเป็นทางเดินเลียบไปตามสันเขาเลียบหน้าผา มีความกว้างประมาณ 1 เมตร ซึ่งจะสามารถเดินได้เพียงคนเดียว จึงเป็นที่มาของชื่อ “กิ่วแม่ปาน” ระหว่างทางจะมีต้นไม้น้อยใหญ่ให้ชม อย่างเพลิดเพลิน

 

 

 

สถานภาพทางกายภาพ

          อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ของแนวเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัว
ตามแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ ชุ่มน้ำในอุทยานแห่งชาติฯ ประกอบด้วยอ่างน้ำซับ ลำธารบนภูเขา และน้ำตก ซึ่งเป็น
แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำปิง ลำธารส่วนใหญ่เป็นลำธารขนาดเล็ก บนยอดดอยอินทนนท์ในระดับ 2,565 เมตร
เหนือระดับน้ำทะเล แอ่งน้ำซับที่เรียกว่าอ่างกาหลวง มีลักษณะเป็นพรุน้ำจืดเขตอบอุ่น เกิดจากการทับถมของมอส 
ชนิดต่างๆ และเศษซากพืชที่ขึ้นอยู่โดยรอบ กลางพรุเป็นแอ่งน้ำ

สถานภาพทางชีวภาพ

          บริเวณอ่างกาหลวงมีน้ำตื้นมาก อุณหภูมิของน้ำเย็นตลอดปี ลำต้นของต้นไม้ถูกห่อหุ้มด้วยมอส เฟิน 
กล้วยไม้ และพืชอิงอาศัยชนิดอื่นๆ บริเวณอ่างกาหลวง มีพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นและ/หรือพรรณไม้ หายาก เช่น คำขาว
หรือกุหลาบพันปีสีขาว (Rhododendron moulmeinense และ R. veitchianum) คำแดงหรือกุหลาบ พันปีสีแดง
(R. delavayi) เฟินและมอสชนิดต่างๆ ที่สำคัญ คือ ข้าวตอกฤาษี (Sphagnum cuspidatulum
          พบนกอย่างน้อย 364 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 255 ชนิด นกอพยพ 109 ชนิด ได้แก่ นกคัดคูพันธุ์ยุโรป
(Cuculus canorus) เหยี่ยวทะเลทราย (Buteo buteo) นกพญาไฟสี กุหลาบ (Pericrocotus roseus) นกกระเบื้องผา 
(Monticola solitarius) เป็นต้น ตามริมห้วย ริมน้ำ ลำธาร ค่อนข้าง ชุ่มชื้น มีแนวหมู่ไม้ และไม้พุ่มขึ้นปกคลุมให้ร่มเงา 
พบนก ได้แก่ นกกะเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis) นกอัญชันป่าขาแดง (Rallina fasciata) นกอัญชันอกเทา 
(Rallus striatus) นกกระปูดใหญ่ (Centropus sinensis) ตามธารน้ำที่เป็นแก่งหิน น้ำตก พบนกอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ 
นก กางเขนน้ำ (Enicurus spp.) นกเด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) นกอุ้มบาตร (M. alba) นกเขนหัวขาว
ท้ายแดง (Chaimarrornis leucocephalus) นกมุดน้ำ (Cinclus pallasii) เป็นต้น ชนิดที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม
ของโลก (globally threatened) ได้แก่ เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว(Polihierax insignis) นกอินทรีหัวไหล่ขาว 
(Aquila heliaca) นกปากซ่อม พง (Gallinago nemoricola) นกเดินดงอกเทา (Turdus feae) นกเงือกคอแดง 
(Aceros nipalensis) นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) นกปีกแพรสีม่วง (Cochoa purpurea) เป็ดปากสั้น (Anas 
penelope
) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered) ของประเทศไทย ได้แก่ พญาแร้ง 
(Sarcogyps calvus) แร้งเทาหลังขาว (Gyps bengalensis) ชนิดที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ได้แก่ 
นก อินทรีหัวไหล่ขาว นกเงือกคอแดง นกไต่ไม้ใหญ่ นกปีก แพรสีม่วง ชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 
(vulnerable) ได้แก่ นกกระติ๊ดใหญ่ปีกลาย (Mycerobas melanozanthos) นกเดินดงอกเทา นกเดินดงอกดำ 
(Turdus dissimilis) นกนางแอ่นหางลวด (Hirundo smithii) นก กะเต็นขาวดำใหญ่ (Megaceryle lugubris
เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว นกปากซ่อมพง นกเดินดงอกเทา และชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม 
(near threatened)ได้แก่ เหยี่ยวภูเขา (Spizaetus nipalensis) อินทรีดำ (Ictinaetus malayensis) เหยี่ยวฮอบบี้ 
(Falco severus) นกลุมพู (Ducula aenea) นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล (Bubo nipalensis) นกกกหรือนกกาฮัง 
(Buceros bicornis) นกหัวขวานใหญ่สีเทา (Muelleripicus pulverulentus
            ปลาสำคัญในระบบนิเวศที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ ได้แก่ ปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis) ซึ่งเป็น
ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic) และอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) พบที่ระดับ 600 เมตรขึ้นไป ชนิดที่สามารถ                                                               พบได้ในระดับความสูง 40-1,200 เมตร ได้แก่ ปลามอน (Scaphiodonichthys burmanicus) ชนิดที่
พบตั้งแต่ระดับ ความสูง 370 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ได้แก่ ปลาช่อนก้าง (Channa limbata)                                                                                 และปลาพลวง (Tor soro) ชนิดที่พบที่ระดับ 370-900 เมตร ได้แก่ ปลาแก้มช้ำ (Systomus orphoides) ชนิดที่
พบที่ระดับ 370-1,200 เมตร ได้แก่ ปลาซิวควายแถบดำ (Rasbora sumatrana) และพบที่ระดับ 400 เมตร ได้แก่ 
ปลาน้ำหมึก (Barilius puchellus) ปลาเลียหิน (Garra taeniata) และปลาค้อ (Nemacheilus spp.) หลายชนิด 
                  พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้แก่ จักกิ้มน้ำหรือ
จิ้งจกน้ำ หรือกระท่าง (Tylototriton verrucosus) เต่าปูลู (Platysternon megacephalon) และพบกบจุกหรือ
กบหงอน (Rana pileata) ซึ่งเป็นสัตว์ที่พบในบริเวณนี้เท่านั้น

คุณค่าการใช้ประโยชน์

             เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปิง โดยมีพื้นที่ต้นน้ำย่อยที่ให้กำเนิด แม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ลำน้ำแม่กลาง 
 แม่ยะ แม่เตี๊ย แม่แจ่ม และแม่วาง ที่ไหลผ่านหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง 
 รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำของชุมชนชาวเขา จุดท่องเที่ยว
 ที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำ น้ำตก ลำธาร และอ่างกาหลวง ที่ดินบริเวณอุทยานฯ แห่งชาติบางส่วนถูกใช้สร้างที่ทำงาน                                                                                  สถานีวิจัยพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและโครงการอื่นๆ พื้นที่ส่วนหนึ่งมีชุมชนชาวเขาอาศัยอยู่ และประกอบ
 อาชีพทางการเกษตร โดยมีชุมชนรวมทั้งสิ้น 39 หมู่บ้าน 948 ครัวเรือน

 

 

ที่พัก

1. บ้านพักสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

บ้านพักสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นบ้านพักท่ามกลางธรรมชาติที่รายล้อมด้วยธรรมชาติ ขุนเขา และอากาศบริสุทธิ์ ทั้งนี้ยิ่งไปในช่วงหน้าหนาวเราอาจจะได้ทันเห็นดอกไม้นานาชนิดบานสะพรั่งรอตอนรับนักท่องเที่ยวอย่างพร้อมเพรียง เหล่านี้ยิ่งสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวเชียงใหม่ให้ดูมีสีสันมากขึ้น ที่พักของโครงการหลวงอินทนนท์มีหลากแบบหลายราคา ซึ่งแต่ละหลังเน้นที่ความต้องการให้ผู้เข้าพักใกล้ชิดกับธรรมชาติ ภายในห้องพักแต่งตัวด้วยสไตล์โมเดิร์น เรียบง่าย เน้นโทนสีขาวเป็นหลัก รวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างครบครัน เช่น โทรทัศน์ เครื่องทำน้ำอุ่น รวมถึงอาหารเช้าไว้พร้อมรอเสิร์ฟ

 

2 ที่พักอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 ที่พักของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ถือเป็นที่พักแรกที่นักท่องเที่ยวนึกถึง เนื่องจากราคาไม่แพง มีทั้งจุดกางเต็นท์และบ้านพักให้เลือกกันตามงบประมาณ หากชอบแนวลุย ๆ ประหยัดๆ ไปที่จุดกางเต็นท์ตรงสวนสน หรือถ้าหากชอบแบบส่วนตัวก็ไปพักที่บ้านพักของอุทยาน ด้วยเพราะสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย

 

 

ที่ตั้ง – ติดต่ออุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

ที่อยู่: อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 119 หมู่ที่ 7 ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160

เบอร์โทรศัพท์ :053 – 286728 – 9 (บ้านพัก), 053 – 286730 (VoIP)

 

 

 

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px