เลื่อนลงล่าง

หนาวนี้กอดกันที่ดอยอ่างขางเชียงใหม่

โดย. Pedms Ploy

23/03/60

Share

ถ้าจะพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีใครไม่นึกถึง ดอยอ่างขาง แห่งนี้ 

      อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,400 เมตร คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของ ดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อมรอบ ประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิม เป็นเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขา หินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็น โพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตร ในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและ พัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซล เซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศา ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียส ในเดือนมกราคม ซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับ แม่คะนิ้งหรือ น้ำค้างแข็งได้

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนดอยอ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตั้งขึ้นโดยสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณ ดอยอ่างขางทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่ อาศัย อยู่บริเวณนี้ ทำการปลูกฝิ่น แต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็นมี การปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่ เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนักประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จาก การปลูกท้อพื้น เมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลอง วิธีติดตาต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการ หลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราช โองการใน ตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็น สถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผักไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่าง แก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูก ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

สวนสมเด็จ
ภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่น ประดับ ดอกป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ โดยจะปลูกสลับหมุนเวียนพันธุ์ไม้ทุกปี ได้แก่ กระดุมเงินกระดุมทอง ปักษาสวรรค์

สวนแปดสิบ
เป็นสวนจัดกลางแจ้งจะอยู่ด้านในสถานีฯ ตรงข้ามบริเวณสโมสร ซึ่งสวนนี้ตั้งชื่อตามอายุขององค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ในวาระที่ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยจะจัดตกแต่งสวนในสไตล์อังกฤษ ด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เมืองหนาว นานาชนิด เช่น กะหล่ำประดับ เดซี ลินาเลีย ชบาอาบูติลอน ฯลฯ

สวนคำดอย
เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกตระกูลโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือ ดอกคำดอย(กุหลาบพันปลี) ซึ่งดอก คำที่ปลูกส่วนใหญ่ จะเป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ และ อังกฤษ ซึ่งจะไม่มีปลูกที่ อื่นนอกจากที่สวนแห่งนี่ที่เดียวและ ลักษณะเด่น ของกุหลาบพันปลีที่นำเข้าจะเป็นกุหลาบพันปลีด่าง คือลักษณะต้นใบจะด่างในบ้างพันธุ์ดอกกุหลาบพันปลีจะ มีสีเหลือง และสีชมพู ส่วนกุหลาบพันธุ์ปลีพันธุ์พื้นเมืองนั้น จะมีดอก สีแดง หรือ สีขาว นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวหลายชนิด เช่น อะซาเลีย คาเมเลีย ลาเวนเดอร์ ซึ่งสวนนี้จะอยู่ตรงข้ามกับสวนแปดสิบ

สวนหอม
สวนนี้จะอยู่ติดกับบริเวณสโมสรของสถานีฯ โดยภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้หอมทุกชนิดทั้งพันธุ์ไม้หอมของไทยและพันธุ์ไม้หอม จากต่างประเทศ เช่น หอมหมื่นลี้ เนสเตอเตียมคาร์เนชัน เจอราเนียม หญ้าหอม ลาเวนเดอร์ ลาเวนดริน และ แมกโนเลีย (ไม้ยืนต้นตระกูลจำปีป่า) 

แปลงไม้ผลเมืองหนาว
เป็นแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ พีช บ๊วย พลับ สาลี่ พลัม กีวีฟรุ๊ต ราสพ์เบอรี่ บูลเบอรี่ สตรอเบอรี่ หยางเมย ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สามารถมองเห็นแปลงไม้ ผลไม้ เมืองหนาว เหล่านี้ได้ตลอดเส้นทางที่ขับรถรอบ บริเวณสถานีฯ แต่เนื่องจากแปลงไม้ผลเมืองหนาวเหล่านี้เป็น แปลงงานทดลอง นักท่องเที่ยวจึึงได้รับอนุญาตให้ชื่นชมความสวยงามและ แปลกตาของไม้ผลเหล่านี้แค่บริเวณ ภายนอกแปลงเท่านั้น

โรงเรือนทดสอบพันธุ์กุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนกุหลาบท่านจะได้ชื่นชมกับกุหลาบตัดดอกสายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์กว่า 7 สายพันธุ์ ซึ่งจะมีสีสันสวยงามและมี กลิ่นหอมพร้อมรอผู้มาเยือน

เรือนดอกไม้
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวชนิดต่างๆ มากมาย อาทิเช่น บีโกเนีย รองเท้านารี พืชกิน แมลง มีมุมน้ำตก ในสวนสวย ซึ่งดอกไม้ในสวนเหล่านี้จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ภายในบริเวณโรงเรือนจะมีจุดจำหน่าย ผลผลิตของสถานีและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมมีมุมนั่งพักจิบกาแฟอีกด้วย

สวนกุหลาบอังกฤษ
เหตุที่เรียกกุหลาบก็เนื่องมาจากกุหลาบที่ปลูกในสวนแห่งนี้ เป็นกุหลาบที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษโดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกนั้นมีมากกว่า 200 กว่าสายพันธุ์

โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกผักในโรงเรือน 1,165 ตารางเมตร โดยจัดแสดงไว้ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม โดยชนิดผักที่ปลูกในโรงเรือนได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี, ผักตระกูลแตง เช่น ซุกินีเหลือง ฟักประดับ, ผักตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือม่วงก้านดำ , ผักตระกูลแครอท เช่น พาร์สเลย์ เซเลอรี่ และ ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหวาน ถั่วปากอ้า

ดอกซากุระแท้บานในสถานีเกษตรหลวงฯ
ซึ่งจะเรอ่มบานในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จุดชมซากุระแท้ดอยอ่างข่าง มีอยู่ 3 จุด คือ ระหว่างทางภายในสถานี ฯ สวน 80 และ สวนกุหลาบอังกฤษ 

สถานีท่องเที่ยวรอบสถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง

จุดชมพระอาทิตยขึ้นขอบด้ง
เป็นจุดที่อยู่ระหว่างเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปบ้านขอบด้งและนอแล จุดนี้จะเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น ได้สวยงามโดยเฉพาะใน ฤดูหนาว จะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวจะมารอชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกตอนเช้า ทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักอีกจุดหนึ่ง มีร้านค้าขาย อาหรเปิดให้บริการหลายร้าน

ไร่ชา 2000 
อีกหนึ่งจุดบนดอยอ่างข่างที่มีความงดงามเป็นขุดชมพระอาทิตย์ขึ้นเคล้าสายหมอก ในบรรยากาศของริ้วลายของแปลงชาไล่ระดับ ในมุมสูง ไรชาสองพันจะอยู่อยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงบ้านนอแล จะไม่มีป้ายบอกเมื่อไปถึงในบริเวณนั้นให้สอบถามไปยังชาวบ้าน

ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
จุดนี้จะตั้งอยู่ก่อนถึงสถานีกษตรหลวงอ่างขางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นจุดทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามของดอยอ่างขาง โดยเฉพาะในฤดูฝนสามารถพบเห็นทะลหมอกได้ง่ายที่สุด

จุดชมวิวซุยถัง
เป็นจุดชมวิวที่ไม่ค่อยจะมีคนรู้จักซักเท่าไหร่ เพราะอยู่ทางไป อ.เชียงดาว อยู่ห่างจากด่านตรวจตรงสามแยกอ่างขาง ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยาม มีทะเลหมอกอลังการฉากหลังเป็นทิวเขาสูงสง่า ด้านล่างเป็นหมู่บ้านสุ่ยถัง

จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดน ของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็น

หมู่บ้านนอแล
เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผาปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า ซึ่งหมู่บ้านจะตั้งอยู่ห่างจากตัวสถานีฯประมาณ 5 ก.ม.นักท่องเที่ยว สามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวปะหล่องได้ นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกจำหน่าย อาทิเช่น กระเป๋า,ผ้าพันคอ,ผ้าถุง ซึ่งถือเป็น ฝีมือของชาวเขาเองแถบทั้งสิ้น

หมู่บ้านขอบด้ง
ตั้งอยู่บริเวณสันขอบอ่างระหว่างพื้นที่ดอยอ่างขางและอำเภอฝาง โดยอยู่ห่างจากสถานีฯออกไปประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านของ ชาวมูเซอดำที่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีศูนย์หัตถกรรมที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เช่น กำไลหญ้าอิบูแค ตะกร้าสาน ฯลฯหมู่บ้านคุ้มบ้านคุ้มจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีฯ ซึ่งประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยใหญ่ ชาวพม่า และชาวจีนฮ่อ โดยส่วนมากชาวบ้านจะประกอบ อาชีพด้านการค้า เช่น การขายของที่ระลึก,ผลไม้ดอง แช่อิ่ม , เปิดบริการด้านอาหาร และที่พักเพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว 

หมู่บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอาชีพหลักของ ชาวบ้าน จะเป็นอาชีพด้าน การเกษตร ซึ่งจะปลูกผลไม้ อาทิเช่น พีช,พลัม,สาลี่ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้าน ยังมีี ร้านอาหาร จีนยูนาน จำหน่ายข้าวซอยและ ซาลาเปารสชาดดี สไตล์จีนยูนานให้นักท่องเที่ยวได้ลองชิมอีกด้วย ทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ยังจะได้ชมแบบ บ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร 

ชมดอกนางพญาเสือโคร่งรอบสถานี
หากเรามาเที่ยวดอยอ่างขางในช่วงปลายธันวาคม -กลางเดือนมกราคม ของทุกปี จะพบกับเส้นทางสีชมพูของดอกพญาเสือโคร่ง ที่บานสะพรั่งทั่งดอย 

               ดอยอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,400 เมตร คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของ ดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อมรอบ ประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิม เป็นเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขา หินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็น โพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตร ในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและ พัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วย ประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซล เซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศา ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด–3 องศาเซเซียส ในเดือนมกราคม ซึ่งหากมาเที่ยวในช่วงดังกล่าวอาจพบกับ แม่คะนิ้งหรือ น้ำค้างแข็งได้

เมนูแนะนำสโมสร

 

สลัดอ่างขาง
 
สลัดอ่างขาง
ขาหมูหมั่นโถว
 
ขาหมูหมั่นโถว
ยำผักกรอบอ่างขาง
 
ยำผักกรอบอ่างขาง

 

ถั่วแดงกรอบยูนาน
 
ถั่วแดงกรอบยูนาน
ไก่อุ๊ป
 
ไก่อุ๊ป
เต้าหู้เหลืองทอด
 
เต้าหู้เหลืองทอด

 

ซี่โครงหมูตุ๋นรูบาร์บ
 
ซี่โครงหมูตุ๋นรูบาร์บ

 

  • สโมสรเปิดบริการตั้งแต่ 07.30 น. – 22.00 น.
     
  • สโมสรอ่างขางเปิดให้บริการอาหาร ตั้งแต่ 
         07.30 น. ถึง 20.30 น. 
     
  • สโมสรอ่างขางเปิดให้บริการเครื่องดื่ม 
         07.30 น. ถึง 22.00 น. 
     
  • ในกรณีที่มาเป็นหมู่คณะ และต้องการสั่งจองอาหารก็ติดต่อได้ที่เบอร์ของสถานีฯ 053-969-489

บ้านพักสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

หมายเลขโทรศัพท์สำรองที่พัก สถานีฯ อ่างขาง 053-969-476-78 กด 1

เดือนตุลาคม, 1-14 พฤศจิกายน, มีนาคม ราคาหลังละ 5,620 บาท/คืน

  • รวมอาหารเช้า
  • เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 450 บาท + อาหารเช้า

15 พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ราคาหลังละ 6,820 บาท/คืน

  • อาหารเย็น + อาหารเช้า
  • เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 750 บาท + อาหารเย็น + อาหารเช้า

เดือนเมษายน – กันยายน ราคาหลังละ 3,500 บาท/คืน

  • ไม่รวมอาหารเช้า
  • เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ 280 บาท / ไม่รวมอาหารเช้า

** พักได้ 4 คน / 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น

ลานกางเต้นท์

ลานกางเต็นท์สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ทางสถานีฯได้จัดจุดสำหรับกางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว จุดภายนอกสถานีฯ ซึ่งสามารถรองรับผู้ที่จะมากางเต็นท์ ประมาณ 203 คน มีอัตราค่าบริการดังนี้ (***ลานกางเต็นท์ของสถานีฯ อ่างขาง ไม่รับจองล่วงหน้า)
ค่าเช่าพื้นที่กางเต็นท์ อัตราคนละ 20 บาท/คน/คืน (ไม่รวมค่าเช่าเต็นท์)

         ราคาเช่าเต็นท์ พัก 2 คน(10 หลัง)

  • รวมเครื่องนอน หลังละ 300 บาท/คืน (เครื่องนอน : ที่นอน 1 ผืน / ผ้านวม 1 ผืน/ หมอน 2 ใบ)
  • ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 200 บาท/คืน      

    ราคาเช่าเต็นท์ พัก 3 คน (40 หลัง)

  • รวมเครื่องนอน หลังละ 400 บาท/คืน (เครื่องนอน : ที่นอน 2 ผืน / ถุงนอน 3 ใบ)
  • ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 250 บาท/คืน

    ราคาเช่าเต็นท์ พัก 4 คน ( 9 หลัง)

  • รวมเครื่องนอน หลังละ 500 บาท/คืน (เครื่องนอน : ที่นอน 3 ผืน / ผ้านวม 2 ผืน / หมอน 4 ใบ)
  • ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 300 บาท/คืน

    ราคาเช่าเต็นท์ พัก 6 คน ( 6 หลัง)

  • รวมเครื่องนอน หลังละ 1,000 บาท/คืน (เครื่องนอน : ที่นอน 3 ผืน / ผ้านวม 6 ผืน / หมอน 6 ใบ )
  • ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 700 บาท/คืน

    ราคาเช่าเต็นท์ พัก 10 คน ( 5 หลัง)

  • รวมเครื่องนอน หลังละ 1,500 บาท/คืน
  • ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 1,000 บาท/คืน (เครื่องนอน มี หมอน ผ้าน่วม ที่นอน)

    รวมทั้งหมด 70 หลัง (262 คน) หากต้องการเช่าเฉพาะเครื่องนอน มีกำหนดราคาดังนี้

  • ผ้านวม 60 บาท/ผืน
  • ถุงนอน 60 บาท/ใบ
  • ที่นอนฟองน้ำ 50 บาท/ผืน
  • หมอนใหญ่ 20 บาท/ใบ
  • หมอนเล็ก 10 บาท/ใบ
  • เสื่อ (2x3 ม.) 30 บาท/ผืน
  • ผ้าใบ (2x3 ม.) 30 บาท/ผืน
  • เตาชุด 50 บาท/ชุด (ถ่าน+แอลกอฮอล์แห้ง) + ตะแกรงย่าง 20 บาท/อัน
พัฒนาอาชีพ แก่เกษตรกรชาวเขา

 

เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว:

                   สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาวบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก(เส้นทางหมายเลข 1ในแผนที่) ถ้าเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกจะผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางจะค่อนข้างแคบแต่จะไม่ค่อยลาดชันเท่าใดนัก และเนื่องจากถนนเกือบตลอดทั้งสายจะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นช่วงเวลาที่จะสัญจรโดยถนนสายนี้ควรจะเป็นช่วงเช้าหรือกลางวันน่าจะดีกว่าช่วงบ่ายไปแล้ว เพราะถ้าเกิดรถเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาจะติดต่อขอความช่วยเหลือค่อนข้างลำบาก 

                   หากยังไม่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกหมายเลข 1 ก็ขับรถตามถนนเรื่อยมาจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 137 จะถึงเส้นทางหมายเลข 2 ตามที่แสดงในแผนที่ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นสายหลักที่ใช้กันเป็นประจำ เมื่อมาถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขางจะมีป้ายบอกด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถตามถนนขึ้นมาเลย ทางเส้นนี้จะค่อนข้างลาดชันมาก จึงมีบริการเช่าเหมารถคิวสองแถวหน้าปากทางให้ขึ้นมาส่งได้ แต่หากตัดสินใจจะนำรถขึ้นมาเองก็ควรขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ 
 

เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง :

                   ในกรณีที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ให้ขึ้นรถสาย เชียงใหม่-ฝางที่ คิวรถช้างเผือกในตัวเมืองเชียงใหม่ มีทั้งรถตู้ และรถบัสคันใหญ่ และมาลงที่หน้าวัดหาญสำราญ(ตรงหลักกิโลเมตรที่ 137) มีบริการ รับ-ส่ง คิวรถสองแถว ซึ่งสามารถเหมารถต่อเพื่อขึ้นมาถึงดอยอ่างขางได้

ติดต่อรถคิวปากทางขึ้นดอยอ่างขาง : 053-884848 / 086-1947484 คุณส้ม

ติดต่อสถานี

 

www.angkhangstation.com
www.facebook.com/angkhangstation


สำนักงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
โทร : 053-969-489

สำหรับจองที่พัก หรือสอบถามร้านอาหารสถานีฯ อ่างขาง
โทร : 053-969-476-78 ต่อ 114

ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอ่างขาง
โทร : 053-969-489

 

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px