เลื่อนลงล่าง

เขื่อนรัชชประภา

23/03/60

Tag

Share

วันหยุดยาวนี้ต้องพักสมองซักหน่อย ครอบครัวเราจึงทริปทริปเล็กขึ้นมา.. นั่นคือ 

ทริปเขื่อนรัชชประภา

ที่พวกเราเลือกที่นี่ก็เพราะว่า ที่นี่มีความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความสงบ และมีกิจกรรมให้เลือกทำหลายอย่าง

และทริปของเราก็ได้เริ่มตั้นขึ้น..

ล่องเรือไปที่พัก วิวระหว่างทางสวยมากๆ ลมเย็นๆ

นี่คือวิวด้านหลังของเรา

 

ตอนเย็นๆเราสามารถพายเรือเล่นได้อย่างสบายใจ ลมเย็นๆพัดตลอดเวลา

เขื่อนรัชชประภา

เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน[1] เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”

เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยพื้นทีส่วนใหญ่ติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด เป็น เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530 แต่เดิมนั้นสามารถเดินทางได้โดยจาก อำเภอพนม แต่เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความสลับซับซ้อนประกอบด้วยเหวจำนวนมากเส้นทางดังกล่าวจึงต้องปิดตัวลงโดยปัจจุบันสามรถเดินทางโดยผ่านอำเภอบ้านตาขุน เขื่อนรัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในปี พ.ศ. 2531

เขื่อนรัชชประภา

สถานที่ตั้ง : อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลักษณะเขื่อน เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,598 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ธรณีวิทยา    ธรณีวิทยาเรียกว่าคาร์สต์ (Karst Topography) ที่กำเนิดจากหินปูนซึ่งเกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ถูกน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อนๆ ละลายลงอย่างช้าๆ นับล้านๆ ปี จนสึกกร่อนเกิดเป็นสภาพดังกล่าวขึ้น
ลักษณะภูมิประเทศ    จุดสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 961 เมตร โดยเฉลี่ยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาดิน และภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อนทางด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมดเป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา โดยเฉพาะช่องแคบเขากาเลาะ มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนทางธรณีวิทยาเรียกว่า คาร์สต์ (Karst Topography) ที่มียอดแหลมระเกะระกะ มีแนวหน้าผาสูงชันบางแห่งเป็นแท่งสูงขึ้นไปในอากาศคล้ายหอคอยสูง ที่ราบมีไม่มาก
ดิน    ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทรายมีสีแดงดิน มีความเป็นกรดสูงสามารถอุ้มน้ำ ได้มาก แต่จะถูกกัดเซาะได้ง่าย บางแห่งเป็นดินลูกรังแต่มีส่วนน้อย
น้ำ    ป่าต้นน้ำลำธารของคลองศกและคลองพะแสง
ขยะ    -
ภูมิทัศน์    ภูเขาดิน และเขาหินปูน ยอดแหลม แนวหน้าผาสูงชันพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาสกด้านทิศเหนือเกือบทั้งหมดเป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน
รัชชประภา ซึ่งสร้างปิดกั้นคลองพะแสง มีขนาดใหญ่ประมาณ 168 ตารางกิโลเมตร ก่อให้เกิดเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 162 เกาะ พื้นที่ประมาณ 14.06 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ    ป่าดงดิบชื้น ซึ่งพบเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ส่วนมากกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก มีเรือนยอดต่อเนื่องจากชั้นบนสุดลงมาถึงพื้นดิน พันธุ์ไม้ที่พบสำคัญได้แก่ ยางเสียน นาคบุตร ตะเคียนทอง จิกเขา ไข่เขียว ตาเสือ ตังหนใบใหญ่ สะตอ คอแห้ง เสียดช่อ เต้าหลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ปาล์มช้างไห้ หวายเดา เร่ว และปุด เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นสันเขาและหน้าผาหินปูนจะพบสังคมพืชของ ป่าเขาหินปูน พืชพรรณที่สามารถขึ้นอยู่ได้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่ทนแล้ง รวมไปถึงพืชล้มลุกที่มีระบบรากยึดเกาะตามหน้าผาได้ดี จากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาสก จึงเป็นแหล่งรวมพืชหายากและพืชเฉพาะถิ่น เช่น บัวผุด หมากพระราหู ปาล์มเจ้าเมืองถลาง รองเท้านารีเหลืองกร เอื้องฝาหอย มหาสดำ สังวาลย์โนรี เป็นต้น บางส่วนของพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองศกเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่ารอยต่อของการกระจายพันธุ์พืช เช่น แดง ยวนแหล และตะเคียนชันตาแมว
สัตว์ป่า    อุทยานแห่งชาติเขาสกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 415 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์ป่าสงวน เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้งหม้อ และแมวลายหินอ่อน นอกจากนี้มีสัตว์อื่นๆ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ หมีขอ ค่างดำ ชะนีธรรมดา ไก่ป่า นกคุ่มอกลาย นกเขาหลวง นกต่างๆ เป็นต้น ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภา และแหล่งน้ำต่างในอุทยานแห่งชาติเขาสก อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดมากมายหลายชนิด เช่น ปลาแปป ปลาแกง ปลาหนามหลัง ปลาใบไม้ ปลาสร้อย ปลาเล็บมือนาง ปลาปากใต้ ปลารากกล้วย ปลาหมูจุด เป็นต้น 

ระบบนิเวศ

จากการศึกษาพบว่า ในเขื่อนเชี่ยวหลาน ผืนป่าที่ถูกแบ่งส่วนนั้นทำให้สัตว์ที่อ่อนไหวต่อการรบกวนถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่สามารถทนการรบกวนได้ รวมทั้งเกิดการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่สามารถกระจายพันธุ์ในบริเวณที่มีน้ำได้ดี เช่นหนูบ้านบางสายพันธุ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว (Hyperdispersed) รวมทั้งสัตว์กินแมลงอย่างหนูเหม็นหรือสาโท (Moonrat) ที่ไม่พบในการสำรวจบนผืนป่าต่อเนื่องแต่สามารถพบได้ในเกาะขนาดใหญ่ (พื้นที่มากกว่า 20 เฮกแตร์) ซึ่งสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นประเภทที่สามารถอยู่อาศัยที่ใดก็ได้และว่ายน้ำเก่ง

ในขณะที่หนูสายพันธุ์ M. Whiteheadi (Whitehead's spiny rat) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ใน Redlist ของ IUCNมีจำนวนลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนที่สำรวจพบในผืนป่า ซึ่งได้มีการวิจัยว่าหนูสายพันธุ์ดังกล่าวทนต่อการรบกวนได้ต่ำ อีกทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอีกหลายสายพันธุ์ซึ่งพบได้ในผืนป่าต่อเนื่องก็สูญพันธุ์ไปจากเกาะขนาดเล็ก

การแบ่งส่วนป่าที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนเชี่ยวหลานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อองค์ประกอบของสายพันธุ์สัตว์ที่มีอยู่ในระบบนิเวศ หลังจากผ่านไป 7 ปีเราก็ยังสำรวจพบว่ายังมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง

 

หลายคนอาจเริ่มสงสัย ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอย่างหนู จะส่งผลอะไรมากมายต่อระบบนิเวศ

Eisenberg ได้ทำการวิจัยในประเด็นดังกล่าวและพบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากในห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งเป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ของเมล็ดพืชในป่าเขตร้อน งานวิจัยนี้จึงสำคัญต่อการวางแผนการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย

รายงานวิจัยชิ้นนี้ยังสรุปได้ว่า ผืนป่าขนาดใหญ่นั้นจะช่วยในการคงไว้ซึ่งความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในระบบนิเวศ ส่วนผืนป่าขนาดเล็กที่มีขนาดน้อยกว่า 100 เฮกแตร์ จะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ที่ต่ำกว่าผืนป่าขนาดใหญ่การอนุรักษ์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีผืนป่าขนาดใหญ่ที่ติดต่อกันเพื่อปกป้องชนิดพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อขนาดพื้นที่อยู่อาศัย

เมื่อกันยายน 2556 ที่ผ่านมาก็ได้มีการตีพิมพ์ผลงานที่น่าตื่นตะลึงของ ดร. Luke Gibsonซึ่งได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอีกครั้งหลังการก่อสร้างเขื่อน 25 ปี และพบว่าผืนป่าที่ถูกตัดแบ่งนั้นกลายเป็นที่อยู่ของสัตว์สปีชีส์เดียวคือหนูป่ามาเลย์ (Malayan Field Rat)

สิ่งที่น่าตกใจคือการสูญพันธุ์และการล่มสลายของระบบนิเวศภายใน 20 ปี และสัตว์ที่ครอบครองพื้นที่ป่าขนาดเล็กเหล่านี้ไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่น แต่เป็นหนูที่อยู่อาศัยตามพื้นที่รอบผืนป่า ก่อนจะเดินทางมายึดครองเกาะเล็กเกาะน้อยในเขื่อนเชี่ยวหลาน และทำให้สัตว์สายพันธุ์อื่นสูญพันธุ์ไป

นอกจากนี้ยังพบว่า สัตว์ป่าในพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำ ก็ได้รับผลกระทบลูกโซ่ โดยมีประชากรลดลงเช่นกัน งานวิจัยอื่นๆที่ผ่านมา พบว่าสัตว์ป่าที่ถิ่นอาศัยเดิมถูกน้ำท่วม และย้ายถิ่นฐานหนีน้ำเข้าไปแย่งพื้นที่อาณาเขตของตัวอื่น แทบไม่มีตัวใดรอดชีวิต เพราะพื้นที่ที่เหมาะสมหนึ่งๆ จะสามารถรองรับจำนวนสัตว์ได้จำกัด (carrying capacity) จึงเกิดการต่อสู้เพื่อแย่งขิงทรัพยากรในพื้นที่อันจำกัด

ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีพื้นที่ป่าคิดเป็นราว 31% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ผืนป่าใหญ่เพียงผืนเดียวในประเทศไทยคือผืนป่าตะวันตก การตัดแบ่งผืนป่า (Forest Fragmentation)ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนนั้นเป็นเพียงกรณีหนึ่งที่ทำให้เกิดผืนป่าขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีภัยคุกคามผืนป่ามากมายไม่ว่าจะเป็นการตัดถนน การขยายตัวของชุมชนที่รุกล้ำพื้นที่ป่าสงวน การลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์ป่าและผืนป่า

 "ครัวกุ้ยหลิน" เป็นร้านอาหาร บนเขื่อนรัชชประภา บรรยากาศยามเย็นสวยงาม  รสชาดของอาหารยกนิ้วให้ทุกเมนู

มาดูเมนูกันเลย เด็ดทุกเมนู

1.ภูผาและลำธาร รีสอร์ท เขาสก (The Cliff & River Jungle Resort)

ที่ตั้ง : กม. 97 ถนนสุราษฎร์-ตะกั่วป่า หมายเลข 401 ต.คลองศก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ราคา : 1,800-2,300

2. เขาสก บูติกแคมป์ (Khaosok Boutique Camps)

ที่ตั้ง : ต.คลองศก อ. พนม จ. สุราษฏร์ธานี ราคา : 2,000 บาท

3. เขาสก ทรีเฮาส์ รีสอร์ท (Khaosok Treehouse Resort)

ที่ตั้ง : 233 หมู่ 6 ต.คลองศก อ. พนม จ. สุราษฏร์ธานี ราคา : 900-7,800 บาท

การเดินทาง

โดยรถส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ไปจนถึงจังหวัดชุมพรจากนั้นตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 จนถึง อ.พุนพิน ตรงสี่แยก ที่สามารถเข้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ไม่ต้องเข้าตัวจังหวัด ให้ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงแยก ท่าโรงช้าง ให้เลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 401 จากนั้นประมาณ 40 กม. ก่อนจะถึง ตัว อ.บ้านตาขุนจะมีป้ายใหญ่ ของเขื่อนรัชชะประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) ทางขวามือ โดยรถทัวร์ ขาไป จากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถโดยสารประจำทาง ให้ขึ้นรถทัวร์ที่ไปยัง ภูเก็ต หรือ พังงาแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าลง ปากทางเข้า เขื่อนรัชชะประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) ตรง อ.บ้านตาขุน ใช้เดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ส่วนมากใช้บริการของ ภูเก็ตเซ็นทรัล หรือ ภูเก็ตท่องเที่ยว VIP24 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1000 บาทหรือ แบบ 32 ที่นั่งราคา

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag