เลื่อนลงล่าง

เที่ยวสะพานข้ามแม่น้ำแคว แห่งเมืองกาญจน์

06/05/59

Share

สะพานข้ามแม่น้ำแควถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาโดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกจำนวนมากมาเพื่อเป็นแรงงานการก่อสร้างใช้เวลาอันรวดเร็วหากแต่จำต้องสูญเสียแรงงานไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไข้ป่า สัตว์ร้าย ความอดอยากและความโหดร้ายทารุณ ทำให้เชลยศึกชาวตะวันตก และกรรมกรรถไฟหลากเชื้อชาติต้องสังเวยชีวิตไปเป็นจำนวนมาก จนมีการเปรียบเทียบว่าหนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟสายมรณะคือหนึ่งชีวิต สะพานอันเลื่องชื่อในสงครามโลกครั้งที่ 2

รถไฟสาย 4020 กำลังเข้าจอดที่สถานี

                               

บรรยากาศของสองฝั่งของสะพานข้ามแม่น้ำแคว  ในมุมนี้เราจะเห็นสภาพบ้านเรือนของผู้คนบริเวณเป็นอย่างดี 

วิวแม่น้ำจากบนสะพานข้ามแม่น้ำแควสามารถมองเห็นความงามของแม่น้ำได้เป็นอย่างดี

ถ้ำกระแซ (ทางรถไฟช่วงโค้งมรณะ) ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำแควไปราว 60 กิโลเมตร  ทางรถไฟช่วงนี้ทิวทัศน์สวยงามมาก เพราะสร้างเลียบแม่น้ำแควน้อย และอีกฝั่งของทางรถไฟก็ลัดเลาะไปตามเชิงหน้าผา จุดนี้กล่าวกันว่าเป็นจุดที่อันตรายที่สุดในการก่อสร้าง เนื่องจากต้องสร้างทางตัดผ่านหน้าผาหินสูงชัน ทั้งอีกฝั่งยังเป็นเหวลึกสู่ลำน้ำแควน้อย
วันที่ไปอากาศค่อนข้างร้อนแต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เดินท้าแสงแดดชมความงดงามและซึมซับประวัติศาสตร์ไปตามทางรถไฟช่วงมรณะ

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับสะพานแม่น้ำแควและการหยิ่งในศักดิ์ศรีของคนอังกฤษ 

ระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดประเทศไทยไว้ได้ ได้นำเชลยศึกทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า โดยพวกญี่ปุ่นได้ใช้นายทหารอังกฤษเป็นผู้คุมในการสร้างสะพาน ซึ่งเชลยในส่วนที่นายทหารอังกฤษคุมอยู่นั้นสร้างผลงานออกมาได้ดีมาก ทั้งยังสร้างได้เร็ว และแข็งแรง จนเชลยศึกชาติอื่นต่างครางเครงใจพวกเชลยศึกทหารอังกฤษว่า ทำไมจึงต้องทำงานให้พวกญี่ปุ่นให้ดีด้วย ทั้งๆมันไม่เป็นสิ่งที่จำเป็นเลย ทั้งเมื่อสะพายเสร็จก็ต้องไปตีเอาอินเดียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษเช่น และนี่คือคำตอบจากนายทหารอังกฤษ "ไม่ได้ - สะพานแห่งนี้อีกร้อยปีคนทั้งโลกจะต้องรู้ว่าคนอังกฤษเป็นคนสร้าง คนอังกฤษจะสร้างของห่วยๆไม่ได้ "

 

สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขามอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะสร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่าย สัมพันธมิตรได้แก่ ทหารอังกฤษอเมริกันออสเตรเลียฮอลันดาและนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีนญวน ชวา มลายูไทยพม่าอินเดียอีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่าซึ่งเส้นทาง ช่วงหนึ่ง จะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
สะพานข้ามแม่น้ำแคว 
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงคราม สิ้นสุดลง เมื่อปีพ.ศ. 2489จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ เดิมทีสะพานข้ามแม่น้ำแควไม่เคยมีจริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากทางอเมริกาได้ทำเป็นภาพยนตร์ ดังนั้นทางจังหวัดจึงมีความ เห็นให้ตั้งชื่อสะพานที่ท่ามะขามให้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อให้เหมือนภาพยนตร์ และได้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาตามหาจริงๆ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น สะพานเดิมนั้นจะเป็นเหล็กโค้ง ส่วนที่เป็น 4 เหลี่ยมเป็นการซ่อมแซมสะพานเหล่านี้เดิมทีมีมากมายหลาย แห่งในประเทศไทยและลาวพม่าแต่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ในไทยมีที่ทำจากเหล็กไม่ถึง 15 สะพาน

 

Loft Bar & Restaurant

Thailand,Ban Tai, Mueang Kanchanaburi District,Kanchanaburi 71000

 

โดยรถส่วนตัว
- จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเพชรเกษม(ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐมจากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายปิ่นเกล้า - นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) มุ่งหน้าสู่นครปฐมจากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่ จังหวัดราชบุรี

ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไป โดยจะผ่านสะพานไปบ้านแพ้ว ประมาณ 8.5 กิโลเมตร ผ่านสะพานไปตัวเมืองนครปฐมประมาณ 0.5 กิโลเมตร ผ่านแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 6.4 กิโลเมตร จากนั้นจะถึงสะพานไปจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 9 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร

2.ทางรถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่กรุงเทพฯ - กาญจนบุรีใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากขนส่งกาญจนบุรีนั่งรถสายกาญจนบุรี - เอราวัณ หรือรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี ไปลงตรงแยกซ้ายมือเข้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไปประมาณ 700 เมตร

3.ทางรถไฟ
โดยสารขบวนรถไฟประจำธนบุรี-น้ำตกหรือขบวนรถนำเที่ยวพิเศษกรุงเทพ-น้ำตก(เฉพาะเสาร์ - อาทิตย์) ลงที่;สะพานแควใหญ่ซึ่ง อยู่ที่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแควพอดี
 

บริการเสริม
ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดา จะมีตั้งแต่เวลา 08.00-10.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ 18.00-18.30 น.
งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว
งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควจัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการ สร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดง นิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว

บริการเสริม
ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดา จะมีตั้งแต่เวลา 08.00-10.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ 18.00-18.30 น.

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px