เลื่อนลงล่าง

ครั้งหนึ่งในชีวิต...ได้พิชิต"ภูกระดึง"

23/03/60

Tag

Count :

Share

สวัสดีครับเพื่อนๆขาลุยทุกท่าน เพื่อนๆคนไหนที่ชอบปีนเขา เดินป่า เล่นนำ้ตก อากาศหนาวๆเย็นๆ เดินเล่นชมธรรมชาติ ผมขอแนะนำไปที่นี่เลยครับ

"ภูกระดึง"จังหวัดเลย จะมีอะไรที่น่าสนใจน่าเที่ยวบ้าง เราไปลุยกันเลยยยยยย

ครั้งหนึ่งในชีวิต...เราคือผู้พิชิตภูกระดึง 

เดินทางจากกรุงเทพโดยรถยนต์ส่วนตัว ประมาณ6โมงเช้า แวะกินอาหารข้างทาง ขับรถชิลๆไปเรื่อยๆ

ใชเวลาประมาณ5ชม. ก้ถึงที่ตีนผาของภูกระดึง ก็ต้องแวะกินข้าวต้ม เติมพลัง เพราะต้องขึ้นไปอีกไกล


ได้เวลาเดินขึ้นไปข้างบนแล้ว ข้างล่างอุทยานจะมีทางบอกให้เดินไปตามทางที่เค้าบอกไว้
พอเริ่มเดินก็เริ่มรู้สึกตื่นเต้น เพราะเป็นครั้งแรกกับการมาภูกระดึง ไม่รู้เลยว่าข้างหน้าจะเป็นยังไง ในใจก็คิดว่าคงไม่มีอะไรมากหรอก เดินไปเรื่อยๆ แต่ที่กังวลที่สุดคือแดดและอากาศที่ร้อนมากกกก

ป้ายบอกทางที่เราจะต้องขึ้นไปเจอ จะมีระยะทางบอกว่ากี่กม.ถึงซำอะไรๆ ซึ่งแต่ละซำจะมีร้านค้าร้านอาหารให้เรานั่งพัก
และเราต้องเดินไปข้างบนสุดที่เรียกว่าหลังแป เป็นระยะทาง 5.5 กม. เห็นเลขแล้วแค่ 5.5 กม.เอง ไม่น่าจะยากหรอก

ระหว่างเดินไปยังซำแรก ซึ่งเป็นซำแฮ่ก บรรกาศดูแห้งแล้งมากกกก ไม่เหมือนภาพในจินตนาการว่ามันจะเขียวชะอุ่มชุ่มชื่น มีแต่ใบไม้แห้งร่วงอยู่เต็มพื้น เพิ่งเริ่มต้นก็ยังคงสนุกอยู่ เดินๆๆหยุดๆๆ แวะถ่ายรูปไปเรื่อยๆ ลืมคิดไปเลยว่าเราเป็นกลุ่มสุดท้ายแล้ว ต้องรีบเดินขึ้นไป

เดินมาเรื่อย เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ ระยะเวลา 1 กม.ที่เดินมาถึงซำแฮ่กนี่ใช้เวลาไปเยอะมากก ประมาณ 1 ชม.กว่าได้ ระหว่างทางก็จะเป็นบันไดที่มีขั้นค่อนข้างใหญ่ ตลอดต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ไม่มีขึ้นให้หยุดพัก เดินไปเหงื่อหยดเป็นเม็ดๆ ได้ยินแต่เสียงหัวใจเต้นรัวๆ กับเสียงหอบแฮ่กๆๆๆดังมากก 

พอเดินไปถึงซำแฮ่กเป็นอะไรที่ดีใจมากกกกกก รู้สึกเหมือนเดินถึงข้างบนแล้ว 55555 ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตั้งชื่อซำแฮ่กขึ้นมา มันสมกับชื่อนี้จริงๆ ถึงบนนี้แล้วมีฝนตกลงปรอยๆด้วย ตอนแรกคิดว่าจะตกนานแล้ว แต่ที่ไหนได้แป็บเดียวก็หยุด พวกเราก็นั่งพักดื่มน้ำกินขนม กินข้าว เพิ่มพลังกันก่อนออกเดิน

ในที่สุดก็ถึงซำแคร่แล้ว ซำสุดท้ายก่อนจะถึงหลังแป ซึ่งก็ได้ยินมาว่า โหดอีกเช่นกัน แล้วมันก็โหดเอาเรื่องจริงๆ ... หลังจากที่เดินกันมาตั้งแต่ 11 โมง จนถึงตอนนี้ก็เกือบๆ 4 โมงแล้ว รู้สึกว่าเวลามันเดินเร็วมาก ยังเดินไม่ถึงไหนเลยทำไมเวลาผ่านไปเร็วอย่างนี้ นี่เดินมาแค่ 4 กม. เองนะ ใช้เวลาตกกม.ละ 1 ชม.เลยหรอ มันไม่ง่ายเลยจริงๆ 

วินาทีแรกที่มองขึ้นไปเห็นบันไดนี้ ไม่รู้จะดีใจหรืออะไรดี บันไดนี้เรียกว่าบันไดลิงจะดีกว่า เวลาเดินต้องเดิน 4 ขาเลยทีเดียว ใครที่กลัวความสูงนี่มีเสียวนะบอกเลย ขนาดเราเป็นคนไม่กลัวความสูง แต่ด้วยความที่

ขาอ่อนแรงก็กลัวเหมือนกันนะ ว่าแล้วก็สูดหายใจยาวๆ แล้วก็ปีนมันขึ้นไป

เวลา 17.30 น. ถึงแล้วววววววววววววว หลังแปที่รอคอย ร้องไห้หนักมากกกกก เมื่อถึงยอดเขาที่เรารอคอย เพียงแค่ 5.5 กม.เท่านั้น แต่อย่าดูถูกไป การเดินขึ้นเขา 5.5 กม. มันไม่เหมือนเดินทางเรียบนะจะบอกให้ จากตีนภูจนถึงยอดภูใช้เวลาในการเดินไปทั้งหมด 5.30 ชม. ได้ แต่ถ้าใครฟิตๆหน่อย 4 ชม.ก็มาถึงแล้ว หรือถ้าใครไม่ฟิตนี่มี 8-9 ชม.เลยนะ เพราะฉะนั้นใครรู้ว่าตัวเองไม่ฟิตแต่อย่างมาลองสักครั้ง ให้ฟิตร่างกายให้พร้อม แล้วรีบมาถึงตีนภูให้เช้าที่สุดจะได้ไม่เป็นการบีบบังคับตัวเองในขณะเดิน ลืมบอกไปว่าอุทยานเค้าเปิดให้เดินขึ้นตั้งแต่ 7 โมง จุดชมวิวจุดแรกบนยอดภูกระดึง หรือจุดพักเหนื่อยจุดแรกบนยอดภูกระดึงก็ว่าได้ ขึ้นมาแล้วหายเหนื่อยเลยย   

ถึงแล้วศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มืดพอดี ... พอไปถึงก็ติดต่อเจ้าหน้าที่เรื่องห้องพักที่ทำการจองไว้ล่วงหน้า 1 เดือนแล้ว แต่ช่วงที่มาห้องพักเหลือเพียบเลย เพราะจากที่บอกแต่แรกว่านักท่องเที่ยวมีแค่ 30 กว่าคนเท่านั้น รวมพวกเราไปแล้ว (แต่ใครที่มาช่วง High Season ก็ควรจองล่วงหน้าแต่เนิ่นๆนะคะ เดี๋ยวจะเต็มซะก่อน เค้าเปิดให้จองล่วงหน้าได้ 60 วัน) 


หลังจากที่เค้าตัดไฟปุ๊บ เราและเพื่อนอีกคนก็แบกกล้องออกมาถ่ายดาวกันบริเวณที่พัก คนที่ไม่มีกล้องและขาตั้งก็ออกมาดูความสวยงามของท้องฟ้ายามค่ำคืน ที่ไม่สามารถหาได้จากในกรุงเทพแน่นอนถ่ายกันพอหอมปากหอมคอ ก็เข้านอนกันดีกว่า ต้องเก็บแรงไว้เดินต่อ

ตื่นเช้ามา ก็แวะกินข้าวละเดินเท้ามา 5 ชม.กว่าๆกับระยะทาง 10 กม.ก็ถึงแล้วววววววว ผาหล่มสักที่รอคอย

หลังเดินกลับจากผาหล่มสัก กินข้าวเรียบร้อย ก็ทำการ Check-out จ้างลูกหาบขนของลงอีกเช่นเคย ตอนนี้ประมาณ 11.30 น.

ระหว่างทางที่เดินลงมา ทุกคนจะคิดว่าการเดินลง โอ้ยยยย หมูมากก ขอบอกว่า คิดผิดมากนะจ๊ะ เพราะการเดินลงเนี่ย ต้องเกร็งขาจิกเท้ากันตลอด ระวังไม่ให้สะดุด เพราะถ้าสะดุดทีนี่คือกลิ้งตกเขาเลย ลงมาถึงข้างล่างครบทุกคนประมาณ 17.30 น. 

ขอบคุณทุกคนมากครับ หวังว่ากระทู้นี่จะเป็นกระทู้ที่ทำให้ทุกคนอยากไปเที่ยวภูกระดึงกันนะครับผม

ที่ตั้งและแผนที่

สถานที่ติดต่อ: หมู่ที่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย 42180 

โทรศัพท์ : 042-810833 
จองบ้านพัก : 042-810834 

อีเมล์ : pkd_11@hotmail.co.th 

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ :นายสมบัติ พิมพ์ประสิทธิ์ 
ตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ 

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ 
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท 
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท 

ความเป็นมา 
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.13 ตารางกิโลเมตร (217,576.25 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึงประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) 
ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400 – 1,200 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร สภาพทั่วไปของภูกระดึงประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพองซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปีบนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาที่หวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต พุธ 

นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทาง 
ได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4281-0833 และหมายเลข 0-4281-0834 (ในเวลาราชการ)

 

ขนาดพื้นที่

217576.25 ไร่

 

หน่วยงานในพื้นที่

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.1 (วังกวาง)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.2 (อีเลิศ)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.3 (นาน้อย)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.4 (พองหนีบ)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.6 (ภูขี้ไก่)

ลักษณะภูมิประเทศ 

สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูปใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น 

 

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี 

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ 

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี 
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี

 

 

นิเวศวิทยา

สัตว์ป่า

ภูกระดึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จากการสำรวจพบสัตว์บกมีกระดูกสันหลังรวม 266 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 36 ชนิด เช่น เก้ง กระรอก กวางป่าหนูหริ่งนาหางยาว  เม่นหางพวง  เป็นต้น ในจำนวนนี้เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์  สัตว์ปีกจำนวนมาก เช่น นกโพระดกคอสีฟ้า  นกกางเขนดง สัตว์เลื้อยคลาน 39 ชนิด เช่น จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน  งูลายสอบ้าน เป็นต้น มี 1 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าเดือย นอกจากนี้ยังพบเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ  “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาวอาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวนมาก เช่น อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง  กบหูใหญ่ และ ปาดแคระเป็นต้น

สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้บ่อยเมื่อขึ้นไปถึงยอดภูคือกวางเนื่องจากมีกลุ่มกวางจำนวนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯได้เลี้ยงเอาไว้ ทำให้กวางกลุ่มนี้ไม่วิ่งหนีเมื่อพบเห็นคน กวางตัวแรกที่เจ้าหน้าที่ได้เลี้ยงเอาไว้ชื่อ คำหล้า เป็นกวางตัวเมีย ตัวที่สองเป็นตัวผู้ชื่อ คัมภีร  นอกจากนี้ยังมีหมูป่าซึ่งเคยพบตัวในบริเวณป่าปิด แต่ปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วไปแม้ในส่วนลานกางเต็นท์เมื่อยามมีนักท่องเที่ยวไม่มาก และหมาใน เดิมจะอยู่ในส่วนป่าสนด้านบน หากินกันเป็นฝูงใหญ่ แต่ปัจจุบันเข้ามาหากินใกล้บริเวณที่ทำการมากขึ้นสามารถพบเห็นได้บริเวณร้านค้าที่ทำการด้วย

พืชพรรณ

ภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่งในประเทศไทย มีสังคมพืชหลากหลายสามารถแบ่งได้ตามความแตกต่างของความสูง ภูมิอากาศ สภาพดิน-หิน และชีวปัจจัย จากที่ราบเชิงเขาถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล600เมตรจะเป็นคิดเป็น 8% ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น เหียง พลวง กราด รกฟ้า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่นแทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก นอกจากนี้จากพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภู จนถึงระดับความสูง 950 เมตรจะเป็นป่าเบญจพรรณหรือป่าผลัดใบผสมคิดเป็น 67 % ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเช่น แดง ป่า กระบก ตะแบกเลือด เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้า ไม้พุ่ม ไม้เถา พืชล้มลุก และพืชกาฝากและอิงอาศัย

ป่าดิบแล้งพบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูง 950 เมตรคิดเป็น 5 % ของพื้นที่มีพันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม เป็นต้น พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา และ พืชล้มลุก เมื่อสูงจากระดับ 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็นป่าดิบเขาพบในทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและไม้เถา ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูง เช่น ค้อดอย

ที่ความสูงเกิน 1,000 เมตรขึ้นไปจะเป็น ป่าดิบเขาพบเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไปคิดเป็น 9% ของพื้นที่อุทยาน ป่าละเมาะเขาจัดอยู่ในประเภทป่าไม่ผลัดใบ พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงระหว่าง 1,200–1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 %

จะพบเฉพาะบนที่ราบยอดภูที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรคิดเป็น 10 % ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย เป็นต้น พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคนประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน เป็นกอหนาแน่น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะพบมอสจำพวกข้าวตอกฤๅษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน และหญ้าข้าวก่ำ

นอกจากนี้ยังมีพรรณพืชที่สำคัญซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวของภูกระดึงจำนวน 11 ชนิด เช่น ซ้อ เป็นต้น

 “ร้านปาท่องโก๋” ใกล้ๆ ร้านใช่เลยกาแฟสด ร้านนี้เสิร์ฟปาท่องโก๋เมนูรองท้องมื้อเช้า (ราคาจานละ 20 บาท)

ผานาน้อย” หนึ่งในผาสวยบนภูกระดึง ก็อยากจะแนะนำให้แวะ “ร้านปานทอง” ร้านอาหารใกล้ๆ ผานาน้อย

“ร้านโอปอ” เมนูของร้านนี้ก็คือ ลูกชิ้นนานาชนิด ( ลูกชิ้น 3 ไม้ 50 บาท) ที่เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มรสเด็ดสูตรของทางร้าน 

 

การจองบ้านพัก การจองเต็นท์ และการเช่าเต็นท์

บนภูบ้านพักบริการ   มีเต็นท์ให้บริการ  มีพื้นที่กางเต็นท์ให้บริการ

จองบ้านพัก : 042-810834 

การเดินทาง

รถยนต์ 
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง 
1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 

2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 

3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2 


เครื่องบิน 
เดินทางโดยเครื่องบิน โดยใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-เลย กรุงเทพฯ-อุดรธานี ของสายการบินต่างๆ ได้ทุกวัน สอบถามข้อมูลเที่ยวบินและสายการบิน โทร. 0-2628-2000, 0-2515-9999, 0-2267-2999 และ 1318 


รถไฟ 
เดินทางโดยรถไฟ ขึ้นรถไฟที่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อรถโดยสารสายขอนแก่น-เลย ถึงอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สอบถามข้อมูลรถไฟ โทร. 0-2225-1300 ต่อ 5201 ,0-2223-0341-3 หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่อุทยานแห่งชาติกระดึง โทร. 0-4281-0833, 0-4281-0834 


รถโดยสารประจำทาง 
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) สายกรุงเทพ-เมืองเลย ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สอบถามข้อมูลรถโดยสาร โทร.0-2936-2852-66 อัตราค่าโดยสาร 
รถปรับอากาศ VIP 24 ที่นั่ง ราคา 590 บาท 
รถปรับอากาศ VIP 32 ที่นั่ง ราคา 449 บาท 
รถปรับอากาศ ชั้น 1 ราคา 258 บาท 
รถปรับอากาศ ชั้น 2 ราคา 280 บาท 
ลงรถที่ผานกเค้า *หมายเหตุ -ต่อรถสองแถวจากผานกเค้า ถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ราคา 30 บาท/คน

กำหนดการเปิด-ปิด อุทยาน

อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวได้ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 พ.ค. ของทุกปี

ปิดอุทยานให้ธรรมชาติฟื้นฟู ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวตั้งแต่ 1 มิ.ย. - 30 ก.ย. ของทุกปี

ป่าปิด น้ำตกขุนพอง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย เป็นต้นไป

 

กำหนดเวลาเวลา เปิด-ปิด ให้ขึ้นภูในแต่ละวัน

ด่านอุทยานเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นภูได้ตั้งแต่เวลา 07.00 น. - 14.00 น.

ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นภูตั้งแต่เวลา 14.00 น. ไปเนื่องจากเกรงว่าจะมืดก่อนที่จะเดินถึงจุดหมาย

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน

นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท  เด็ก 20 บาท

นักท่องเที่ยวต่างชาติ  ผู้ใหญ่ 400 บาท  เด็ก 200 บาท

นักศึกษา แสดงบัตรประจำตัวนักศึกษา เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปแสดงบัตรประชาชน ฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมกางเต็นท์ กรณีนำเต็นท์มาเอง  30 บาทต่อคนต่อคืน

 

กฎระเบียบข้อห้าม

1. ห้ามนำภาชนะโฟมเข้าไปในอุทยาน

2. ลานกางเต็นท์บนภูห้ามก่อกองไฟโดยใช้ฟืน

3. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนภู

 

โทรศัพท์ : 042-810833 
จองบ้านพัก : 042-810834 

 

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :