เลื่อนลงล่าง

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

โดย. Bung Wannisa

16/10/59

Share

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 
ชื่อนี้มักจะเป็นติดอันดับต้นๆ ของการท่องเที่ยว เดิมชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า ดอยอ่างกานั้น เพราะมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือน อ่างน้ำ มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา หรือ ดอยอ่างกา

 

 


ดอยอินทนนท์ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,599 เมตร) จึงทำให้มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ มี น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ ถ้ำบริจินดา โครงการหลวงอินทนนท์ และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายจุด

เดิมทีป่าไม้ทางภาคเหนือจะอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"  แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่เรียก ดอยอินทนนท์ นั้น ก็เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว

 

ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์นั้นมีแหล่งกิจกรรมที่ไม่สมควรพลาดอย่างยิ่งนั้นก็คือ การดูนก

การดูนกนับเป็นกิจกรรมศึกษาธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะไม่เพียงช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการชมความงาม ความน่ารักของนกเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รับอากาศบริสุทธิ์และได้ออกกำลัง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ทำกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง และการดูนก ยังนำไปสู่การรู้จักและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของนกต่อสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยให้เกิดความตระหนักถึง คุณค่าและหันมาร่วมกันอนุรักษ์นกและธรรมชาติไว้

ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่สามารถดูนกได้ตลอดทั้งปี ฤดูหนาวมาเยือนทีป่าจะคึกคักไปด้วยนกอพยพ คนที่รักความหนาวควบคู่กับการดูนก ก็มักจะเดินทางมา เยื่ยมเยือน ถึงไม่ใช่ฤดูหนาวก็มีนกประจำถิ่นพวกนกศิวะหางสีน้ำตาล นกกินปลีหางยาวเขียว และสัญลักษณ์ของหน้าร้อนคือ นกเด้าลม การดูนกก็ง่าย ๆ เงียบ ๆ นิ่ง นกก็จะบินมารายล้อมให้จ้องมองกันใกล ้ๆ สำหรับต้องการที่พักสวย ๆ ใกล้ที่ดูนกนี่เลย

     -บริเวณ กม. ๑๓ เป็นจุดดูนกกางเขนน้ำหลังดำ นกพญาไฟคอเทา นกนางแอ่นตะโพกแดง
      กม. ๒๐ บริเวณน้ำตกวชิรธารอาจพบนกเขนหัวขาวท้ายแดง นกเขนเทาหางแดงซึ่งหาดูได้ยาก
      -บริเวณที่ทำการฯมักพบฝูงนกแว่นตาขาวหลังเขียว   นกอัญชันหางดำ นกที่พบได้ยาก
      กม.๓๑ ยังเป็นที่ดูนกนิลตวา
      กม.๓๔.๕ มีโอกาสพบเหยี่ยวหลายชนิดเช่นเหยี่ยวหน้าเทา
      -บริเวณ กม.๓๗ นกติ๊ดแก้มเหลือง นกนิลตวาใหญ่ นกปรอดดำ นกจับแมลงสีฟ้า นกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง   โชคดีอาจเห็นนกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว

นกบนดอยอินทนนท์เท่าที่มีการบันทึกเอาไว้มีถึง 384 ชนิด การดูนกบนดอยอินทนนท์นั้นทำได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่ดีจะเริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ถึง พฤษภาคม สามารถพบนกที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น นกพญาไฟพันธุ์เหนือ (Long-taoiled Minivet) นกปีกแพรสีม่วง (Purple Cochoa) นกจุนจู๋ (Slaty-bellied Tesia) นกหางรำดำ (Black-headed sibia) นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) นกศิวะหางสีตาล (Chestnut-tailed Minla) นกอีแพรดท้องเหลือง (Yellow-bellied Fantail) โดยการดูนกอาจเริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 10 จนถึงยอดดอยบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจ เช่น บริเวณด่าน กม.38 ทางไปอำเภอแม่แจ่ม และกิ่วแม่ปาน

                                 นกกินปลีหางยาวเขียว ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระเอกแห่งดอยอินทนนย์
                               green-tailed sunbird มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aethopyga nipalensis

                                                                นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล
                                                    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Phoenicurus frontalis

                                                                 นกจาบคาหัวเขียว 
            มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus /blue-tailed bee-eater (Merops philippinus)

                                                                 นกเดินดงเล็กปากยาว
                                                      มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zoothera marginata.

ติดตามภาพสวยๆและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูนกที่ดอยอินทนนท์ได้ที่ : ที่เฟสบุ๊คเพจ ดูนกดอยอินทนนท์ 

 

กิจกกรรมกางเต็นท์ที่ดอยอินทนนท์

จริงๆแล้วบนดอยอินทนนท์มีที่พักบ้านเป็นหลังสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย แต่การพักแบบบ้านนั้นเหมาะสำหรับการมาเป็นครอบครัวที่ไม่สะดวกกางเต็นท์มากกว่า เพราะอาจไม่ได้ซึมซับรสชาดของป่าที่แท้จริงเท่านอนในเต็นท์ บ้านพักของอุทยานฯ ก็อยู่ที่จุดเดียวกันกับจุดกางเต็นท์ตรงแถวๆที่ทำการอุทยานฯ มีเจ้าหน้าที่ดูแลให้ 24 ชั่วโมง ข้างๆที่กางเต็นท์มีหมู่บ้านชาวเขาสามารถไปเดินเล่นได้

สำหรับค่าทำเนียมการกางเต็นท์ นำเต็นท์และเครื่องนอนไปเอง เสีย 30 บาท/คน/คืนครับ หากไม่มีเต็นท์ ค่าเช่าเต็นท์ เต็นท์พัก 3 คน 225 บาท/เต็นท์/คืน เต็นท์พักขนาด 3-5 คน หรือเต็นท์โดมใหญ่ เต็นท์พัก 5 คน 300 บาท/เต็นท์/คืน เครื่องนอนต่างๆก็จำเป็นมากหากไม่ได้เอามาด้วยหนาวตายแน่ ที่นี่เขามีให้เช่าครับ ถุงนอน 30 บาท/วัน ที่รองนอน 20 บาท/วัน หมอน 10 บาท/วัน

 

1. น้ำตกแม่ยะ (Mae ya waterfall)





น้ำไหลแรงมากๆ



การถ่ายภาพน้ำตกผมต้องแนะนำเลยว่าควรนำขาตั้งกล้องไปด้วย เพราะถ้าต้องการภาพน้ำตกที่สวยงามตั้งตั้งความเร็วซัตเตอร์ที่ต่ำมากๆ น้ำจะฟุ้งกระจายเป็นสายงามนุ่มขาวสวยงามมาก ถ้ามีฟิวเตอร์ตัดแสงช่วยอีกก็จะสวยงานขึ้น





จากมุมล่างของน้ำตกแม่ยะไปจนสุดหน้าผาด้านบน สวยงามมากๆเลยครับ



ทุ่งนาระหว่างทางขาออกจากน้ำตกแม่ยะสู่เส้นทางถนนหลักไปดอยอินทนนทร์

ใช้เวลาเพียงไม่ถึงชั่วโมงผมก็ออกเดินทางไปดูน้ำตกต่อไปเป็นน้ำตกที่ 2 ของการเดินทาง โดยแล่นไปตามทางหลวงหมายเลข 1009 หลักกิโลเมตรที่ 10 ก็จะถึงทางเข้าน้ำตกแม่กลาง ถือได้ว่าเป็นน้ำแรกหรือจุดแรกของประตูเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ น้ำตกแม่กลางจะไหลจากหน้าผาสูงกว่า 100 เมตร ไหลพวยพุ่งมาสู่โกรกเขา ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า วังน้อยและวังหลวง ช่วงที่เดินทางไปน้ำไหลแรงและขุ่นข้นมากต้องระมัดระวังในการเล่นมากๆ

2. น้ำตกแม่กลาง (Mae Klang waterfall)










เสียงของน้ำตกดังมากๆ น้ำแรงจริงๆ

น้ำตกที่ 3 น้ำตกวชิรธาน (Wachirathan Waterfall)

จากนั้นขับรถไปทางประมาณกิโลเมตรที่ 22 ก็จะถึงน้ำตกวชิรธาร น้ำตกที่สวยงามมาก เดิมชื่อว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี 





วันไหนที่มีแดดออกแรงจะมีรุ่งกินน้ำสวยงานอยู่เหนือน้ำตก (วันที่ไปไม่มีแดดเลย แถมฝนตกด้วย)



 

ณ จุดนี้ความหิวก็มาแทนที นั่งพักทานอาหารกลางวัน (เวลาทานจริงเกือบบ่ายสามโมง) งานนี้ได้สั่งแบบว่าข้ามาคนเดียวแต่กินได้ทั้งหมู่คณะ หิวสุดๆเลยครับท่าน ประเดิมด้วยส้มตำไทย ข้าวเหนียวนึ่ง ไก่ย่าง โค้ก น้ำแข็ง อิ่มอร่อยไปพร้อมชมทิวทัศน์ของน้ำตก เสียงน้ำตกเป็นดนตรีประกอบการรับประทานอาหารมื้อที่แสนหิวและอร่อยสุดๆไปเลย









เพื่อไม่ให้เสียเวลาเพราะตั้งใจจะไปถึงยอดดอยอินทนนท์ก่อนค่ำ พอท้องอิ่มก็ออกเดินทางต่อไปอีกหนึ่งน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดที่ผมตั้งใจมากที่จะมาน้ำตกนี้

น้ำตกที่ 4 น้ำตก สิริภูมิ และสวนหลวงสิริภูมิ (Siliphum Waterfall)





















เป็นน้ำตกคู่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน กลางภูเขาสูง มองเห็นน้ำตกในระยะไกล เป็นทางยาวเดิมเรียกว่า เลาลึ ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ น้ำตก ภายหลังเปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ปัจจุบัน น้ำตกสิริภูมิ มีการจัดภูมิทัศน์ สวนหลวงสิริภูมิ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ มีการจัดเก็บค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท เดินชมน้ำตก สวนดอกไม้ที่งดงามมากๆ
























 

ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์นั้นมีแหล่งกิจกรรมที่ไม่สมควรพลาดอย่างยิ่งนั้นก็คือ การดูนก

การดูนกนับเป็นกิจกรรมศึกษาธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะไม่เพียงช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการชมความงาม ความน่ารักของนกเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รับอากาศบริสุทธิ์และได้ออกกำลัง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ทำกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง และการดูนก ยังนำไปสู่การรู้จักและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของนกต่อสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยให้เกิดความตระหนักถึง คุณค่าและหันมาร่วมกันอนุรักษ์นกและธรรมชาติไว้

ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่สามารถดูนกได้ตลอดทั้งปี ฤดูหนาวมาเยือนทีป่าจะคึกคักไปด้วยนกอพยพ คนที่รักความหนาวควบคู่กับการดูนก ก็มักจะเดินทางมา เยื่ยมเยือน ถึงไม่ใช่ฤดูหนาวก็มีนกประจำถิ่นพวกนกศิวะหางสีน้ำตาล นกกินปลีหางยาวเขียว และสัญลักษณ์ของหน้าร้อนคือ นกเด้าลม การดูนกก็ง่าย ๆ เงียบ ๆ นิ่ง นกก็จะบินมารายล้อมให้จ้องมองกันใกล ้ๆ สำหรับต้องการที่พักสวย ๆ ใกล้ที่ดูนกนี่เลย

     -บริเวณ กม. ๑๓ เป็นจุดดูนกกางเขนน้ำหลังดำ นกพญาไฟคอเทา นกนางแอ่นตะโพกแดง
      กม. ๒๐ บริเวณน้ำตกวชิรธารอาจพบนกเขนหัวขาวท้ายแดง นกเขนเทาหางแดงซึ่งหาดูได้ยาก
      -บริเวณที่ทำการฯมักพบฝูงนกแว่นตาขาวหลังเขียว   นกอัญชันหางดำ นกที่พบได้ยาก
      กม.๓๑ ยังเป็นที่ดูนกนิลตวา
      กม.๓๔.๕ มีโอกาสพบเหยี่ยวหลายชนิดเช่นเหยี่ยวหน้าเทา
      -บริเวณ กม.๓๗ นกติ๊ดแก้มเหลือง นกนิลตวาใหญ่ นกปรอดดำ นกจับแมลงสีฟ้า นกหัวขวานเล็กหงอนเหลือง   โชคดีอาจเห็นนกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว

นกบนดอยอินทนนท์เท่าที่มีการบันทึกเอาไว้มีถึง 384 ชนิด การดูนกบนดอยอินทนนท์นั้นทำได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่ดีจะเริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ถึง พฤษภาคม สามารถพบนกที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น นกพญาไฟพันธุ์เหนือ (Long-taoiled Minivet) นกปีกแพรสีม่วง (Purple Cochoa) นกจุนจู๋ (Slaty-bellied Tesia) นกหางรำดำ (Black-headed sibia) นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) นกศิวะหางสีตาล (Chestnut-tailed Minla) นกอีแพรดท้องเหลือง (Yellow-bellied Fantail) โดยการดูนกอาจเริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 10 จนถึงยอดดอยบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจ เช่น บริเวณด่าน กม.38 ทางไปอำเภอแม่แจ่ม และกิ่วแม่ปาน

                                  นกกินปลีหางยาวเขียว ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระเอกแห่งดอยอินทนนย์
                                  green-tailed sunbird มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aethopyga nipalensis

                                                               นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล
                                                    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Phoenicurus frontalis

                                                                 นกจาบคาหัวเขียว 
                      มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Merops philippinus /blue-tailed bee-eater (Merops philippinus)

                                                                      นกเดินดงเล็กปากยาว
                                                         มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Zoothera marginata.

ติดตามภาพสวยๆและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูนกที่ดอยอินทนนท์ได้ที่ เฟสบุ๊คเพจ ดูนกดอยอินทนนท์

กิจกกรรมกางเต็นท์ที่ดอยอินทนนท์

จริงๆแล้วบนดอยอินทนนท์มีที่พักบ้านเป็นหลังสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย แต่การพักแบบบ้านนั้นเหมาะสำหรับการมาเป็นครอบครัวที่ไม่สะดวกกางเต็นท์มากกว่า เพราะอาจไม่ได้ซึมซับรสชาดของป่าที่แท้จริงเท่านอนในเต็นท์ บ้านพักของอุทยานฯ ก็อยู่ที่จุดเดียวกันกับจุดกางเต็นท์ตรงแถวๆที่ทำการอุทยานฯ มีเจ้าหน้าที่ดูแลให้ 24 ชั่วโมง ข้างๆที่กางเต็นท์มีหมู่บ้านชาวเขาสามารถไปเดินเล่นได้

สำหรับค่าทำเนียมการกางเต็นท์ นำเต็นท์และเครื่องนอนไปเอง เสีย 30 บาท/คน/คืนครับ หากไม่มีเต็นท์ ค่าเช่าเต็นท์ เต็นท์พัก 3 คน 225 บาท/เต็นท์/คืน เต็นท์พักขนาด 3-5 คน หรือเต็นท์โดมใหญ่ เต็นท์พัก 5 คน 300 บาท/เต็นท์/คืน เครื่องนอนต่างๆก็จำเป็นมากหากไม่ได้เอามาด้วยหนาวตายแน่ ที่นี่เขามีให้เช่าครับ ถุงนอน 30 บาท/วัน ที่รองนอน 20 บาท/วัน หมอน 10 บาท/วัน

ชมพรรณไม้

สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์สามารถจำแนกออกเป็น 
ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า รักใหญ่ ยอป่า มะขามป้อม ฯลฯ พืชอิงอาศัยพวกเอื้องแซะ เอื้องมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพวกมอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นไม้พุ่ม หญ้าชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในชั้นระดับความสูง 400-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามที่ลุ่มหรือตามแนวสองฝั่งของลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก ตะแบก ประดู่ แดง มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ นอกจากนี้ยังมีไผ่ชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา ส่วนพืชพื้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่ม หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าชนิดอื่นๆ ไม้เถา และพืชล้มลุกชนิดต่างๆ 

ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางปาย ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อหยุม ก่อลิ้ม ประดู่ส้ม มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ไทรย้อย เดื่อหูกวาง พืชพื้นล่างเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่มีความชื้นสูง เช่น กล้วยป่า หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออสมันด้า กูด เฟิน ปาล์ม หวายไส้ไก่ หมากป่า และเขือง เป็นต้น 

ป่าดิบเขาตอนล่าง เป็นป่าที่พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000-1,800 เมตร หรือในบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีป่าที่มีอยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพ หรือป่ารุ่นใหม่ จะมีป่าดิบเขาดั่งเดิมเหลืออยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สภาพโดยทั่วไปของป่าดิบเขาในพื้นที่ดอยอิทนนท์จึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบและวิธีการฟื้นฟูของสังคมพืช ชนิดป่าที่พบที่สำคัญได้แก่ ป่าสนล้วน ป่าก่อผสมสน ป่าก่อ และป่าดิบเขาดั่งเดิม พันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ สนสามใบ สารภีดอย เหมือดคนตัวผู้ ก่อแป้น ก่อใบเลื่อม กอเตี้ย ก่อแดง ก่อตาหมูหลวง ก่อนก ทะโล้ จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง กล้วยฤาษี นมวัวดอย ฯลฯ 

ป่าดิบเขาตอนบน ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบ เขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งจะมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างจะไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม พันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อชื้นได้แก่ ก่อดาน ก่อแอบ จำปีหลวง แกง นางพญาเสือโคร่ง กะทัง นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มและไม้เกาะเกี่ยวเช่น คำขาว กุหลาบขาว คำแดง และยังมีต้นโพสามหาง กระโถนฤาษี เป็นต้น ในบริเวณแอ่งน้ำและรอบๆ ป่าพรุจะมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ เช่น บัวทอง พญาดง เทียน ผักหนอกดอย มะ แหลบ วาสุกรี บันดงเหลือง ต่างไก่ป่า กุง กูดขน ฯลฯ และบริเวณชายขอบป่าพรุจะมีกุหลาบพันปีสีแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะบนยอดดอยอินทนนท์เท่านั้น 

ศึกษาธรรมชาติอ่างกา ดอยอินทนนท์

บนดอยอินทนนท์ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่คนนิยมไปเดิน อยู่ 2 เส้นทาง ได้แก่ 1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา และ 2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ป่าน สองเส้นทางนี้มีระยะทางที่แตกต่างกันพอสมควร เส้นทางฯ อ่างกาเป็นเส้นทางสั้นๆ ใช้เวลา 30-60 นาที ส่วนเส้นทางฯ กิ่วแม่ปานใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง สำหรับรีวิวนี้เราจะพาไปที่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา หรือ อ่างกาหลวง

  • ที่ตั้งของเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา

อยู่บริเวณยอดดอยอินทนนท์ ถ้าเริ่มต้นจากยอดดอยฯ ให้เดินมาทางป้ายสูงสุดแดนสยาม ผ่านสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เดินมาจนถึงทางออก ฝั่งตรงข้ามจะเป็นทางเข้าเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา

  • รู้จักกับอ่างกา

“อ่างกา” เป็นแอ่งน้ำขนาดสิบกว่าไร่ อยู่บริเวณยอดดอยอินทนนท์ มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี ที่มาของชื่อ “อ่างกา” มีอยู่ประมาณ 3 ที่มา เช่นมีหินคล้ายรูปกาอยู่บริเวณนี้, ในสมัยก่อนเคยมีอีกามาเล่นน้ำบริเวณแอ่งน้ำ, และอันสุดท้าย เพี้ยนมาจากภาษาชาวเขา “อั่งกา” ที่แปลว่าภูเขาใหญ่

ระบบนิเวศน์ของอ่างกาเป็นระบบนิเวศน์ที่ไม่เหมือนที่ไหน เนื่องจากอยู่บนที่สูงกว่า 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี มีหมอกปกคลุมตลอด อุณหภูมิเฉลี่ย 12 องศา มีความชื้นสูง พืชที่อยู่ในบริเวณนี้ก็จะมีพืชที่หาชมได้ยาก อย่างเช่น ข้าวตอกฤาษี กุหลาบพันปี บนต้นไม้ใหญ่จะถูกปกคลุมไปด้วยมอส เฟิร์น จนแทบหาที่ว่างตามกิ่งไม้ไม่ได้

  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา

ก่อนที่จะเข้าไปในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แนะนำให้ดูแผนที่ที่หน้าทางเข้าก่อนครับ เส้นทางนี้มีลักษณะเป็นวงกลม มีเพียงเส้นทางไปศาลเจ้ากรมเกียรติ์ที่แยกออกไปแล้วต้องเดินกลับมาทางเดิน ระยะทางโดยรวมของเส้นทางนี้ประมาณ 300-400 เมตร เส้นทางนี้สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นเส้นทางที่เดินง่าย ระยะทางสั้นๆ พื้นที่ทางราบ ไม่อันตราย

หลังจากที่ได้รู้จักกับอ่างกากันแล้วก็ได้เวลาที่เราจะเดินศึกษาธรรมชาติกัน ทันทีที่เข้าไปในอ่างกา รู้สึกได้ถึงอากาศที่เย็น และชื้นกว่าบริเวณด้านนอก มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมจนแสงแดดส่องไม่ถึงพื้น ทางเดินช่วงแรกนั้นเป็นพื้นดินธรรมดา ถ้าเลยตรงนี้ไปจะเป็นทางเดินไม้ยกระดับ

เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนธรรมชาติจนเกินไป เราจำเป็นต้องเดินตามเส้นทางครับ

ทางเดินไม้ยกระดับจากพื้น ช่วงที่ผมไปนั้นเป็นต้นเดือนตุลาคม ช่วงปลายฝน ต้นไม้ดูเขียว อุดมสมบูรณ์ อากาศเย็นสบาย ไม่หนาวมาก ที่เห็นพื้นไม้ดูเปียกนั้นเป็นความชื้นในอากาศไม่ได้เปียกจากฝนตก

เดินเข้าไปไม่ไกลก็เจอกับ “ข้าวตอกฤาษี” เป็นพืชจำพวกมอส แต่มีขนาดใหญ่กว่ามอสทั่วไป หาดูได้ยากมาก เพราะจะเจริญได้ดีในระดับความสูง 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในที่มีความชื้นสูงซึ่งถูกปกคลุมด้วยหมอกหนาทึบ ชอบอยู่ตามหุบเขาที่แสงส่องลงไปไม่ถึง

1 ช่อมีขนาดประมาณ หัวนิ้วโป้ง ขึ้นปกคลุมตามพื้นดิน ใต้ต้นไม้ใหญ่

ในอดีต ข้าวตอกฤาษี เคยมีจำนวนลดลง เพราะมีการสูบน้ำบริเวณอ่างกาไปใช้ประโยชน์ ทำให้น้ำแห้งลงอย่างมาก ระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบันมีการใช้น้ำจากอ่างกาลดลง ข้าวตอกฤาษีก็เริ่มจะมีมากขึ้น

ในรูปด้านล่างเป็นต้นกุหลาบพันปี

กุหลาบพันปี เป็นพืชที่แตกต่างกับกุหลาบพันธุ์ทั่วไป ชอบขึ้นบริเวณผาหิน มีหน้าดินน้อย มีอากาศหนาวเย็นและชื้น คนท้องถิ่นเรียกกุหลาบพันปีชนิดที่มีดอกสีแดงว่า “คำแดง” พันธุ์นี้พบที่ดอยอินทนนท์ที่เดียวเท่านั้น ลักษณะลำต้นของกุหลาบพันปี เป็นต้นไม้พุ่มขนาดกลาง มีพันธุ์ดอกสีขาวและดอกสีแดง ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

จุดที่เราสามารถชมอ่างกาได้อย่าง 360 องศาจะเป็นจุดที่ 6 มีทางเดินยื่นเข้าไปในป่า ล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่ และธรรมชาติ

เส้นทางบางช่วงจะเป็นทางเดินคล้ายอุโมงค์ต้นไม้

ด้วยธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตที่อ่างกาจึงไม่ได้มีแต่ต้นไม้ ยังมีนกป่า นกหายากหลายชนิด จากการสำรวจที่นี่มีนกถึง 385 ชนิด จาก 978 ชนิดที่พบในประเทศไทย ถือว่าเป็นแหล่งดูนกที่ดีแห่งหนึ่งในประเทศไทย ถ้าอยากจะได้รูปนกกลับไป ต้องรอด้วยความใจเย็น หูต้องฟังเสียงนกร้อง ตาต้องมองหาตามแหล่งเสียง

ถ้ามีกล้อง DSLR ที่ดัน iso ได้ 3200 ขึ้นไป + เลนส์เทเลระยะ 200 mm ขึ้นไป ก็น่าจะถ่ายรูปนกได้ไม่ยาก นกมีค่อนข้างเยอะ แต่บินค่อนข้างไว ไม่ค่อยอยู่นิ่งๆ

รูปนี้ถ่ายด้วยกล้อง Canon 500D + Lens Canon 55-250 IS

การเดินสำรวจธรรมชาติ ควรหยุดพักเป็นจุดๆ เพื่อสำรวจต้นไม้ พืชพรรณรอบตัว อ่านป้ายให้ความรู้ตามจุดต่างๆ

จุดที่ 10 จะมีทางแยกไปศาลเจ้ากรมเกียรติ์ เส้นทางนี้ไม่ได้อยู่ในวงกลมจะต้องย้อนออกมาทางเดิม แต่ก็เป็นเส้นทางสั้นๆ แนะนำให้เดินเข้าไปครับ

ศาลเจ้ากรมเกียรติ์ ศาลนี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แต่ พล.อ.อ เกียรติ์ มังคละพฤกษ์ และ นายนิพนธิ์ บุญทรารมณ์ ผู้ทำคุณประโยชน์ ให้แก่กองทัพอากาศ และประเทศชาติ ซึ่งประสบอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก และถึงแก่กรรม ณ ที่นี้ หลังจากเสร็จภารกิจสำรวจที่ตั้ง ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2515

เส้นทางเดินจากศาลเจ้ากรมเกียรติ์ ไปยังเส้นทางวงกลม มีขั้นบันไดนิดหน่อย

ลำธารเล็กๆ ที่หล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื้นในอ่างกา เห็นมีคนโยนเหรียญลงไปด้วย เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำครับ

แวะถ่ายรูปก่อนออก

เดินไม่นานก็เจอกับทางออก เป็นจุดข้างๆ กับทางเข้า รวมแล้วใช้เวลาประมาณ 40 นาที รู้สึกเหมือนยังไม่อยากออกเลย ได้เจอต้นไม้เขียวๆ ฟังเสียงนกร้อง อากาศเย็นสบาย แนะนำว่าใครมีโอกาสไปดอยอินทนนท์ ไม่ควรพลาดเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา ครับ

credits : http://www.emagtravel.com/archive/angka-nature-trail.html

การเดินชมวิว ขึ้นดอยลงดอยอินทนนท์นั้น
ใช้เวลาราวๆ 2 - 4 ชั่วโมงแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคล

 

 

เลยทางเข้าพระธาตุไป ก็มีที่ขึ้นไปชมวิวอยู่ สองสามจุดครับ

 

 

 

 

 

1. น้ำตกแม่ยะ (Mae ya waterfall)






น้ำไหลแรงมากๆ



การถ่ายภาพน้ำตกผมต้องแนะนำเลยว่าควรนำขาตั้งกล้องไปด้วย เพราะถ้าต้องการภาพน้ำตกที่สวยงามตั้งตั้งความเร็วซัตเตอร์ที่ต่ำมากๆ น้ำจะฟุ้งกระจายเป็นสายงามนุ่มขาวสวยงามมาก ถ้ามีฟิวเตอร์ตัดแสงช่วยอีกก็จะสวยงานขึ้น





จากมุมล่างของน้ำตกแม่ยะไปจนสุดหน้าผาด้านบน สวยงามมากๆเลยครับ



ทุ่งนาระหว่างทางขาออกจากน้ำตกแม่ยะสู่เส้นทางถนนหลักไปดอยอินทนนทร์

ใช้เวลาเพียงไม่ถึงชั่วโมงผมก็ออกเดินทางไปดูน้ำตกต่อไปเป็นน้ำตกที่ 2 ของการเดินทาง โดยแล่นไปตามทางหลวงหมายเลข 1009 หลักกิโลเมตรที่ 10 ก็จะถึงทางเข้าน้ำตกแม่กลาง ถือได้ว่าเป็นน้ำแรกหรือจุดแรกของประตูเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ น้ำตกแม่กลางจะไหลจากหน้าผาสูงกว่า 100 เมตร ไหลพวยพุ่งมาสู่โกรกเขา ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า วังน้อยและวังหลวง ช่วงที่เดินทางไปน้ำไหลแรงและขุ่นข้นมากต้องระมัดระวังในการเล่นมากๆ

2. น้ำตกแม่กลาง (Mae Klang waterfall)










เสียงของน้ำตกดังมากๆ น้ำแรงจริงๆ

น้ำตกที่ 3 น้ำตกวชิรธาน (Wachirathan Waterfall)

จากนั้นขับรถไปทางประมาณกิโลเมตรที่ 22 ก็จะถึงน้ำตกวชิรธาร น้ำตกที่สวยงามมาก เดิมชื่อว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี 





วันไหนที่มีแดดออกแรงจะมีรุ่งกินน้ำสวยงานอยู่เหนือน้ำตก (วันที่ไปไม่มีแดดเลย แถมฝนตกด้วย)



 

ณ จุดนี้ความหิวก็มาแทนที นั่งพักทานอาหารกลางวัน (เวลาทานจริงเกือบบ่ายสามโมง) งานนี้ได้สั่งแบบว่าข้ามาคนเดียวแต่กินได้ทั้งหมู่คณะ หิวสุดๆเลยครับท่าน ประเดิมด้วยส้มตำไทย ข้าวเหนียวนึ่ง ไก่ย่าง โค้ก น้ำแข็ง อิ่มอร่อยไปพร้อมชมทิวทัศน์ของน้ำตก เสียงน้ำตกเป็นดนตรีประกอบการรับประทานอาหารมื้อที่แสนหิวและอร่อยสุดๆไปเลย









เพื่อไม่ให้เสียเวลาเพราะตั้งใจจะไปถึงยอดดอยอินทนนท์ก่อนค่ำ พอท้องอิ่มก็ออกเดินทางต่อไปอีกหนึ่งน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดที่ผมตั้งใจมากที่จะมาน้ำตกนี้

น้ำตกที่ 4 น้ำตก สิริภูมิ และสวนหลวงสิริภูมิ (Siliphum Waterfall)





















เป็นน้ำตกคู่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน กลางภูเขาสูง มองเห็นน้ำตกในระยะไกล เป็นทางยาวเดิมเรียกว่า เลาลึ ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ น้ำตก ภายหลังเปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ปัจจุบัน น้ำตกสิริภูมิ มีการจัดภูมิทัศน์ สวนหลวงสิริภูมิ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ มีการจัดเก็บค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท เดินชมน้ำตก สวนดอกไม้ที่งดงามมากๆ

























พักการเดินทางเท่านี้ก่อน การเดินทางในแนวคิด...ลุยเดียว..พิชิตดอยอินทนนท์ สัมผัสหมอก...ยังมีต่อนะครับ ทายสิว่าผมจะได้ถึงยอดดอยก่อนค่ำ หรือ นอนดูจันทร์บนฟ้า นอนดูดาว บนท้องดิน ในค่ำคืนบนดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร อดใจรอหน่อยนะครับ 

        อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 
        

     

ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"

แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515

วันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504หมวด 1 มาตรา 6
 

      อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ครอบคลุมเขตอำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ น้ำค้างแข็งได้

ดอยอินทนนท์


ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ใน ต.สองแคว ต.ยางคราม ต.บ้านหลวง ต.สบเตี๊ย 
อ.จอมทอง ต.แม่นาจร ต.ช้างเคิ่ง ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม ต.แม่วิน ต.ทุ่งบี๊
อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
เนื้อที่ประมาณ : 482 ตารางกิโลเมตร (391,250 ไร่)
ระดับความสูงจากน้ำทะเล : ประมาณ 370-2,565 เมตร

 

 

สถานภาพทางกายภาพ

             อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ของแนวเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัว
ตามแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ ชุ่มน้ำในอุทยานแห่งชาติฯ ประกอบด้วยอ่างน้ำซับ ลำธารบนภูเขา และน้ำตก ซึ่งเป็น
แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำปิง ลำธารส่วนใหญ่เป็นลำธารขนาดเล็ก บนยอดดอยอินทนนท์ในระดับ 2,565 เมตร
เหนือระดับน้ำทะเล แอ่งน้ำซับที่เรียกว่าอ่างกาหลวง มีลักษณะเป็นพรุน้ำจืดเขตอบอุ่น เกิดจากการทับถมของมอส 
ชนิดต่างๆ และเศษซากพืชที่ขึ้นอยู่โดยรอบ กลางพรุเป็นแอ่งน้ำ

 

สถานภาพทางชีวภาพ

             บริเวณอ่างกาหลวงมีน้ำตื้นมาก อุณหภูมิของน้ำเย็นตลอดปี ลำต้นของต้นไม้ถูกห่อหุ้มด้วยมอส เฟิน 
กล้วยไม้ และพืชอิงอาศัยชนิดอื่นๆ บริเวณอ่างกาหลวง มีพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นและ/หรือพรรณไม้ หายาก เช่น คำขาว
หรือกุหลาบพันปีสีขาว (Rhododendron moulmeinense และ R. veitchianum) คำแดงหรือกุหลาบ พันปีสีแดง
(R. delavayi) เฟินและมอสชนิดต่างๆ ที่สำคัญ คือ ข้าวตอกฤาษี (Sphagnum cuspidatulum
                  พบนกอย่างน้อย 364 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 255 ชนิด นกอพยพ 109 ชนิด ได้แก่ นกคัดคูพันธุ์ยุโรป
(Cuculus canorus) เหยี่ยวทะเลทราย (Buteo buteo) นกพญาไฟสี กุหลาบ (Pericrocotus roseus) นกกระเบื้องผา
(Monticola solitarius) เป็นต้น ตามริมห้วย ริมน้ำ ลำธาร ค่อนข้าง ชุ่มชื้น มีแนวหมู่ไม้ และไม้พุ่มขึ้นปกคลุมให้ร่มเงา
พบนก ได้แก่ นกกะเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis) นกอัญชันป่าขาแดง (Rallina fasciata) นกอัญชันอกเทา 
(Rallus striatus) นกกระปูดใหญ่ (Centropus sinensis) ตามธารน้ำที่เป็นแก่งหิน น้ำตก พบนกอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ 
นก กางเขนน้ำ (Enicurus spp.) นกเด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) นกอุ้มบาตร (M. alba) นกเขนหัวขาว
ท้ายแดง (Chaimarrornis leucocephalus) นกมุดน้ำ (Cinclus pallasii) เป็นต้น ชนิดที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม
ของโลก (globally threatened) ได้แก่ เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว(Polihierax insignis) นกอินทรีหัวไหล่ขาว 
(Aquila heliaca) นกปากซ่อม พง (Gallinago nemoricola) นกเดินดงอกเทา (Turdus feae) นกเงือกคอแดง 
(Aceros nipalensis) นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) นกปีกแพรสีม่วง (Cochoa purpurea) เป็ดปากสั้น (Anas 
penelope
) ชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered) ของประเทศไทย ได้แก่ พญาแร้ง 
(Sarcogyps calvus) แร้งเทาหลังขาว (Gyps bengalensis) ชนิดที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ได้แก่ 
นก อินทรีหัวไหล่ขาว นกเงือกคอแดง นกไต่ไม้ใหญ่ นกปีก แพรสีม่วง ชนิดที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 
(vulnerable) ได้แก่ นกกระติ๊ดใหญ่ปีกลาย (Mycerobas melanozanthos) นกเดินดงอกเทา นกเดินดงอกดำ 
(Turdus dissimilis) นกนางแอ่นหางลวด (Hirundo smithii) นก กะเต็นขาวดำใหญ่ (Megaceryle lugubris
เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว นกปากซ่อมพง นกเดินดงอกเทา และชนิดที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม 
(near threatened)ได้แก่ เหยี่ยวภูเขา (Spizaetus nipalensis) อินทรีดำ (Ictinaetus malayensis) เหยี่ยวฮอบบี้ 
(Falco severus) นกลุมพู (Ducula aenea) นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล (Bubo nipalensis) นกกกหรือนกกาฮัง 
(Buceros bicornis) นกหัวขวานใหญ่สีเทา (Muelleripicus pulverulentus
                  ปลาสำคัญในระบบนิเวศที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ ได้แก่ ปลาค้างคาว (Oreoglanis siamensis) ซึ่งเป็น
ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic) และอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) พบที่ระดับ 600 เมตรขึ้นไป ชนิดที่สามารถพบได้ในระดับความสูง 40-1,200 เมตร ได้แก่ ปลามอน (Scaphiodonichthys burmanicus) ชนิดที่
พบตั้งแต่ระดับ ความสูง 370 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ได้แก่ ปลาช่อนก้าง (Channa limbata) และปลาพลวง (Tor soro) ชนิดที่พบที่ระดับ 370-900 เมตร ได้แก่ ปลาแก้มช้ำ (Systomus orphoides) ชนิดที่
พบที่ระดับ 370-1,200 เมตร ได้แก่ ปลาซิวควายแถบดำ (Rasbora sumatrana) และพบที่ระดับ 400 เมตร ได้แก่ 
ปลาน้ำหมึก (Barilius puchellus) ปลาเลียหิน (Garra taeniata) และปลาค้อ (Nemacheilus spp.) หลายชนิด 
                  พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้แก่ จักกิ้มน้ำหรือ
จิ้งจกน้ำ หรือกระท่าง (Tylototriton verrucosus) เต่าปูลู (Platysternon megacephalon) และพบกบจุกหรือ
กบหงอน (Rana pileata) ซึ่งเป็นสัตว์ที่พบในบริเวณนี้เท่านั้น

 

คุณค่าการใช้ประโยชน์

           เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปิง โดยมีพื้นที่ต้นน้ำย่อยที่ให้กำเนิด แม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ลำน้ำแม่กลาง 
แม่ยะ แม่เตี๊ย แม่แจ่ม และแม่วาง ที่ไหลผ่านหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง 
รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำของชุมชนชาวเขา จุดท่องเที่ยว
ที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำ น้ำตก ลำธาร และอ่างกาหลวง ที่ดินบริเวณอุทยานฯ แห่งชาติบางส่วนถูกใช้สร้างที่ทำงาน สถานีวิจัยพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและโครงการอื่นๆ พื้นที่ส่วนหนึ่งมีชุมชนชาวเขาอาศัยอยู่ และประกอบ
อาชีพทางการเกษตร โดยมีชุมชนรวมทั้งสิ้น 39 หมู่บ้าน 948 ครัวเรือน

 

การจัดการและการคุกคาม

           ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม
พ.ศ. 2515 มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 เกี่ยวกับการกำหนดชั้นคุณภาพพื้นที่ลุ่มน้ำและ
หลักเกณฑ์การใช้ ที่ดินในเขตลุ่มน้ำปิง-วัง เป็นที่ตั้งของที่ทำการวนอุทยาน ดอยอินทนนท์ และสถานีทดลอง
ย่อยของศูนย์พัฒนาการประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงใหม่ มีการบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินค่อนข้างมากบนดอย
อินทนนท์ ปลาค้างคาวที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่น กำลังประสบปัญหาถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นอาหารของชาวเขา
ซึ่งอาจจะทำให้ สูญพันธุ์ได้เช่นเดียวกันกับจักกิ้มน้ำ การใช้สารเคมีในการเกษตรก็มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำมาก
บริเวณอ่างกาหลวง แอ่งน้ำตื้นเขินลงมากเพราะการก่อสร้าง สถานที่ราชการกั้นขวางการไหลของน้ำจากพื้นที่
รับน้ำที่เคยไหลลงอ่างกาหลวงให้ไหลลงไปทางลุ่มน้ำอื่นและทำให้เกิดการชะล้างดินทรายลงสู่ตัวอ่าง 
นอกจากนี้ยังสูบน้ำจากอ่างกาหลวงไปใช้บริการนักท่องเที่ยว ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ยอดดอยอินทนนท์ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง

 

แหล่งข้อมูล : http://wetland.onep.go.th/wetlands/DoiInThaNon.html

เลอกรองด์ ล้านนา

 

ต๋อง เต็ม โต๊ะ 

 

คุ้มขันโตก

 At Niman Boutique Hotel Boutique Bar and Restaurant

    รีสอร์ทที่ได้แรงบันดาลใจในการตกแต่งจากการได้เดินทางท่องเที่ยวของเจ้าของรีสอร์ท จากเนปาล ผ่านอินเดีย, จีน, พม่า และลาว จนมาจบที่ดอยสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำรีสอร์ทนี้เลยก็ว่าได้ บริเวณโถงรีสอร์ทตกแต่งในสไตล์โมร็อกโก กับการจัดตกแต่ง 10 ห้องพัก บนอาคารสูง 4 ชั้น ซึ่งในแต่ละห้องมีคอนเซ็ปต์และสไตล์การตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ แถมยังบ่งบอกถึงรีสอร์ทแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยห้องพักแต่ละแห่งเน้นการตกแต่งในสไตล์หรูหราแบ่งเป็นชื่อต่าง  ๆ เช่น Pathapee, Himalaya, Ping Lay Ya, Kumari, Kham Pin, An Fohn และ Jom Fah ฯลฯ ซึ่งห้องพักแต่ละห้องเน้นความสะอาด เรียบร้อยเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน นอกจากนี้ ยังมีบริการจักรยานสำหรับปั่นเที่ยวใกล้ ๆ, สระว่ายน้ำ และห้องหนังสืออีกด้วย
            ราคา : 2,600-5,900 บาท
            ที่อยู่ : 37 ถ.นิมมานเหมินทร์ ซ.9 อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
            โทรศัพท์ : 0 5322 4949, 0 6389 5600
            เว็บไซต์ : atnimanchiangmai.com
 

Indie House

Indie House สร้างจากคนล้านนาที่มีความมุ่งมั่นที่จะเปิดกิจการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ซึ่งรีสอร์ทนี้มีคอนเซ็ปต์เป็นที่พักเหมือนการแวะมาพักที่บ้านเพื่อน โดยบริเวณหน้าที่พักมีการจัดเป็นสวนเล็ก ๆ ทาสีผนังกั้นรั้วให้เป็นโทนสีเขียว มีเก้าอี้สีขาวสำหรับนั่งพักผ่อนหน้าที่พัก ภายในห้องพักเน้นความสะอาด และการตกแต่งด้วยวอลเปเปอร์ด้วยลวดลายต่าง ๆ ให้รู้สึกมีความสดใสมากยิ่งขึ้น
             ราคา : สอบถามโดยตรงจากโรงแรม
             ที่อยู่ : 24 ถ.นิมมานเหมินทร์ ซ.9 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
             โทรศัพท์ : 08 1988 2180
             เว็บไซต์ : เฟซบุ๊ก Indie House
 

 Casa 2511

   รีสอร์ทสุดเก๋ที่ได้แนวคิดมาจากการฟื้นฟูบ้านหลังเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เน้นการพักผ่อนแบบเรียบง่าย มีการดีไซน์การตกแต่งในแบบโมเดิร์นยุค 60's อีกทั้งยังออกแบบด้วยการนำเอาแสงจากธรรมชาติมาใช้ มีการเปิดช่องสกายไลท์ บริเวณโถงกลางบ้านและเปิดช่องหน้าต่างเพื่อรับแสงสว่างทำให้ห้องดูสว่างโล่ง สบายตา ตัวอาคารภายนอกเน้นการยึดโครงสร้างเก่าทั้งหมดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นไม้ ผนังภายในบ้าน ผนังทรายด้านนอก บันไดที่ดูเป็นเอกลักษณ์ สะดุดตา ภายในรีสอร์ทแบ่งออกเป็น 8 ห้องนอน ซึ่งออกแบบด้วยความชอบของดีไซเนอร์ที่แตกต่างกัน เช่น ห้อง Extra King Size ที่ต่อเติมมาจากส่วนระเบียงบ้านเดิม ทำให้ห้องนี้ได้มุมมองที่สวยที่สุดโดยเฉพาะในตอนกลางคืน สามารถมองเห็นบรรยากาศในซอยนิมมานท์เหมินทร์ และสำหรับใครที่มาเที่ยวแบบครอบครัวและเพื่อนกลุ่มใหญ่ สามารถจองเหมาบ้านเป็นหลัง ๆ ได้เช่นกัน
             ราคา : 900-1,900 บาท (เสริมเตียงราคา 500 บาท/คน) สำหรับบ้านพักแบ่งเป็นบ้านพัก 6 ห้อง รองรับได้ 11-15 คน ราคา 8,800 บาท และบ้านพัก 8 ห้องรองรับได้ 14-19 คน ราคา 11,600 บาท
             ที่อยู่ : 32 ถ.นิมมานเหมินท์ ซ.1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
             โทรศัพท์ : 0 5321 4091,08 5405 2126, 08 5039 6563
             เว็บไซต์ : casa2511.com และ เฟซบุ๊ก Casa 2511  
 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะรู้จักในนามของอุทยานฯ ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง สันป่าตอง และแม่แจ่ม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 530 ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงดอยอินทนนท์ ประมาณ 106 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมง 
จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

      เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง) 

 


       เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว)

 

 

         เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 3 (สีน้ำเงิน) 

 

- โปรดช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบก และทางน้ำ
- ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องไม่เข้าไปยึดครองแผ้วถางป่า เก็บแร่ เก็บดิน หิน พรรณไม้รวมทั้งของป่าทุกชนิด
 

- ไม่ล่าสัตว์ ไม่นำสัตว์ทุกชนิดเข้าอุทยาน
- ส่งเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์ป่า

คำเตือน: ไม่ควรนำเตาถ่านนี้ไปใส่ในเต็นท์โดยเด็ดขาดเพราะหากเผลอหลับไปจะขาดอากาศหายใจตาย 100%  คำเตือนนี้สำคัญมากอย่าทำเด็ดขาด ขอเน้นและขีดเส้นใต้แรงๆ ว่าอย่าทำเด็ดขาด

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
119 หมู่ที่ 7 ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์: 053-286-728 - 9 (บ้านพัก), 053-286-730 (VoIP)
โทรสาร: 053-286-728
อีเมล์: reserve@dnp.go.th, inthanon_np@hotmail.com

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ
โทรศัพท์: 02-562-0760

สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติ มีบ้านพัก ค่ายพักแรม ให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณโซนดงสน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 300 - 400 คน นอกจากนี้ยังมีสถานที่กางเต็นท์โซนผาตั้งและโซนห้วยทรายเหลืองเปิดให้บริการด้วย การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

รายละเอียดเข้าไปดูที่เว็บของกรม เลือกเมนูลิงค์ ที่พัก-บริการ และเมนูลิงค์ สิ่งอำนวยความสะดวก

ติดต่อจองที่พักของทางอุทยานแห่งชาติ
สามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช www.dnp.go.th

นอกจากนี้ยังมีรีสอร์ทเอกชนหลายแห่ง หรือจะพักตามบ้านชาวบ้านที่ยินดีรับแขกเข้าพักก็ได้ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักได้ตามความต้องการ

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px