เลื่อนลงล่าง

วัดไชยวัฒนาราม เมืองเก่าประวัติศาสตร์

19/04/60

Share

สิ่งที่น่าสนใจในวัดไชยวัฒนาราม

ปรางค์ประธาน
 ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่ ฐานประทักษิณ ซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมา จากพื้น 1.5 เมตร มีลักษณะเป็นปรางค์ จัตุรมุข(มีมุขยื่นออกมาทั้ง4ด้าน)ในส่วน ของมุขด้านตะวันออก จะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐาน
พระพุทธรุปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน 7 ชั้นแต่ละชั้น เป็นลวดลาย ใบขนุน กลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้มีลักษณะเหมือน ปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่ง วัดไชยวัฒนารามนั้น สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง
ปรางค์บริวาร
 คือปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อม ปรางค์ประธาน มีทั้งหมด 4 องค์ลักษณะจะเพรียวกว่า ปรางค์ ประธานเมรุ คืออาคารทรงยอด แหลมที่อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง 8 ทิศ ภายในคูหาจะประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ 1 องค์ เมรุมุม เมรุละ 2องค์ภายในคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง หลงเหลือร่องรอยอยู่เล็กน้อย


ระเบียงคด 
คือส่วนที่เชื่อมต่อ ระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้ โดยรอบฐานประทักษิณซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ที่บริเวณระเบียงคดนี้ จะมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ รวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้ พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วนส่วนนิ้ว ใช้โลหะสำริด ดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียร อยู่ 2 องค์


พระอุโบสถ 
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกนอก ระเบียงคด มีซากพระประธานปางสมาธิประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี สถาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานเสาอุโบสถ และรอยฐานเสมา


ภาพปูนปั้น 
อยู่บริเวณด้านนอกของเมรุทั้ง 8 องค์ จะเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ

 

 

 

 

วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็น บ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดาแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก(พนมเปญ) โดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูป แบบของพระปรางค์สมัยอยุธยา ตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคย ประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็กสื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคต ที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือน กำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม(เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทองจำนวน120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขต ศักดิ์สิทธิ์ ตาม แนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม(เจดีย์รอบๆพระ ปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธ รูปทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ่า เพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน

 

วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งก็ตั้งอยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา
ทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดหนึ่ง ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง
ไม่เหมือนวัดอื่นๆ ใน อยุธยา และเนื่องจากกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะตลอดมาจนปัจจุบัน
นักท่องเที่ยวยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่งใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาด


-วัดไชยวัฒนาราม-

วัดไชยวัฒนารามสร้างบนพื้นที่ 160 เมตรยาว 310 เมตร โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
กล่าวได้ว่าวัดนี้ตั้งตรงกับทิศทางคตินิยมในการสร้างวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมา
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทรงประทับภาย
ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญสมาธิ
จนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธรูปซึ่งเป็นหลักของวัด ก็สร้างแทนองค์ประพุทธเจ้า
คือพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งเป็นปางที่แสดงเหตุการณ์ตอน
พระพุทธองค์ตรัสรู้

การเดินทางไปวัดไชยวัฒนาราม

1.ทางรถยนต์
สามารถใช้เส้นทางเดียวกับวัดกษัตราธิราช แต่พอข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชไปแล้วให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปเรื่อยๆ ก็จะเห็น วัดไชยวัฒนาราม ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ทางด้านหน้า
2.ทางเรือ
อาจเช่าเหมาเรือหางยาวจากบริเวณหลังลานจอดรถฝั่งตรงข้ามพระราชวังจันทรเกษมด้านตะวันออกของเกาะเมือง ล่องไปตาม ลำน้ำป่าสักลงไปทางใต้ผ่านวิทยาลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหารวัดพุทไธศวรรย์ โบสถ์โปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหารและเจดีย์พระศรีสุริโยทัย

ควรปฏิบัติตามกฎของทางวัดทุกอย่าง

 

 

+66 3524 2284, +66 3524 2286

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px