เลื่อนลงล่าง

ป่าสน วัดจันทร์

01/09/59

Share

ทริปนี้...ป่าสน วัดจันทร์ ...อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวสุดโรแมนติกในปัจจุบัน ไฮไลต์สำคัญคือ

         ป่าสนเปลี่ยนสีและสัมผัสความอลังการของป่าสนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีทิวเมเปิลใบเมเปิ้ลเปลี่ยนสี ช่วงที่เหมาะกับการท่องเที่ยวคือเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี ใกล้กันมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในยามเช้าจะมีสายหมอกจับกลุ่มลอยฟุ้งเหนือผิวน้ำที่สวยไม่แพ้ปางอุ๋ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ป่าสน วัดจันทร์....

จุดท่องเที่ยวในศูนย์

     ป่าสนธรรมชาติอายุกว่าร้อยปีบริเวณที่รอบ ๆ ศูนย์ฯ แปลงสาธิตผัก แปลงผักของเกษตรกร เช่น ฟักทองมินิ ผักกาดขาว ซุกินี่ ไม้ผลเมืองหนาวตามฤดูกาล เช่น พลับ พลัมพี้ช

จุดท่องเที่ยวชุมชน

  • วัดจันทร์ เป็นวัดเก่าแก่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาได้กว่า 300 ปีแล้ว ซึ่งชื่อของวัดจันทร์ บ้านจันทร์นั้น ตามตำนานเชื่อว่ามาจากชื่อของ “นายจันทร์” (ตำนานหนึ่งว่าเป็นคนจากล้านนา อีกตำนานหนึ่งว่าเป็นคนพื้นที่ที่นี่) วัดจันทร์เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุวัดจันทร์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน ขณะที่วิหารของที่นี่นับว่าดูแปลกจากวิหารทั่ว ๆ ไป หลายคนเรียกวิหารหลังนี้ว่า “วิหารแว่นตาดำ” หรือ “วิหารเรย์แบน” เพราะเมืองมองจากด้านหน้าแล้วดูคล้ายมีแว่นตาขนาดใหญ่ สวมอยู่ ชมวิถีชีวิตชาวปกาเกอญอที่บ้านหล่อชอ

  • อ่างเก็บน้ำห้วยอ้อกรมชลประทานชมภูมิทัศน์โดยรอยป่าสนสวยงาม

  • น้ำตกห้วยฮ่อม ลักษณะเป็นกิ่วน้ำ ต้นกำเนิดลำน้ำแม่แจ่มและลำน้ำปาย

  • เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าสนวัดจันทร์ ผืนดินแห่งนี้ชาวกะเหรี่ยง มูเสคี (หมายถึงต้นน้ำแม่แจ่ม) ได้อาศัยมานับร้อยปีพวกเขาช่วยกันดูแลป่าอย่างดีตามธรรมเนียมกะเหรี่ยง เมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะนำสะดือของเด็กไปผู้ไว้กับต้นไม้ กำหนดว่าเป็นต้นไม้ของครอบครัว ใครจะมาตัดไม่ได้ สนที่นี่เป็นสนเขาทั้งสองใบและสามใบ ขึ้นในเฉพาะที่สูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

  • บ้านห้วยฮ่อม เครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนหล่อชอ เกิดจากการรวมตัวกัน 3 หมู่บ้าน คือ ห้วยฮ่อม บ้านดอยตุง และบ้านห้วยครก เป็นชนเผ่าปกาเกอญอ มีเรื่องราวชุมชนที่อยู่คู่กับธรรมชาติมีวิถีชีวิต อาหารการกินแบบดั้งเดิม ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เปิดให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านและมีโฮมสเตย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ของฝาก
   - งานหัตถกรรมชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อาทิ ผ้าทอ มี ผ้าปัก เครื่องจักสาน
   - พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว
ที่พัก + ร้านอาหาร
   - บ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 4 หลัง รับรองได้หลังละ 10 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
   - เต็นท์บริการขนาด 4 คน ราคา 100 บาท/หลัง/คืน พร้อมถุงนอน กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่ 50 บาท/หลัง/คืน
   - พักแบบโฮมสเตย์ มีจำนวน 2 หลัง
   - ไม่มีร้านอาหารบริการภายในศูนย์ฯ แต่มีบริการในหมู่บ้านใกล้เคียง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก

โครงการหลวงวัดจันทร์มีบ้านพักให้บริการหลายหลัง บ้านพักสะดวกสบายมีเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องนอน ไม่มีแอร์ พัดลมเพราะ อากาศเย็นสบายตลอดปี  มีจุดกางเต้นท์สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว  ธรรมเนียมกางเต็นท์คนละ 50บาท ต่อคืน โครงการไม่มี เต็นท์ให้ บริการต้องเตรียมมาเอง มีอาหารให้บริการแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า คิดค่าบริการอาหารเช้าท่านละ 100 บาท อาหารกลางวัน ท่านละ 150 บาท  อาหารเย็นท่านละ 120 บาท  รายละเอียดการจองบ้านพัก  http://www.fio.co.th 
ที่ตั้ง : องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์) หมู่ที่ 3 ต.กองแขก อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ 
สำนักงาน โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ 291 ถ.แก้วนวรัฐ ต.วัดเกต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ 053-249349 โทรสาร 053-260072
วันเวลาที่แนะนำ : สามารถเดินทางเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะพบเห็นหมอกปกคลุมไปทั่วทั้งหุบเขา รวมทั้งต้นเมเปิ้ลจะผลัดใบเปลี่ยนสีในช่วงปลายปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเดินทาง จากเชียงใหม่มุ่งหน้าสู่อ.แม่ริม เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1095 ที่มุ่งหน้าสู่อ.ปายก่อนเข้าอ.ปายประมาณ 13 กิโลเมตรจะมีทางแยกซ้ายเข้าถนนหมายเลข 1265 ไปอีกประมาณ 40 กิโลเมตรทางค่อนข้างคดเคี้ยวแต่เป็นถนนลาดยางตลอดทางมีรถโดยสารสองแถวสีเหลือง (เชียงใหม่–สะเมิง–วัดจันทร์) ทุกวันจากสถานีขนส่งช้างเผือกอ.เมืองเชียงใหม่หรือสามารถเลือกต่อรถจากอ.ปายจ.แม่ฮ่องสอนแต่ควรตรวจสอบเวลารถก่อนเดินทาง

การเดินทาง

หากใช้รถยนต์ส่วนตัวจากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางไปอำเภอกัลยาณิวัฒนา แนะนำ 2 เส้นทาง คือ

1. ใช้เส้นทางมุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม เข้าทางหลวงหมายเลข 107 ไปตามเส้นที่ไปตำบลแม่แตง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1095 มุ่งหน้าสู่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮอ่งตอน เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกก่อนถึงอำเภอปาย 13 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1265 ผ่านบ้านเหมืองแร่ จนเข้าสู่อำเภอกัลยาณิวัฒนา ระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่คดเคี้ยวพอสมควร แต่สภาพดีที่สุด เป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทาง

2. มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1096 ไปทางอำเภอสะเมิง ผ่านตำบลบ่อแก้ว อุทยานแห่งชาติขุนขาน บ้านยางห้า บ้านแม่ตะละ บ้านแม่แดดน้อย บ้านดงสามหมื่น บ้านแจ่มน้อย เข้าบ้านวัดจันทร์ ถนนเป็นดินลูกรัง 42 กิโลเมตร ก่อนถึงโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ต้องใช้รถกระบะทั่วไปสามารถไปได้รวมระยะทางประมาณ 155 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 

หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง จะมีรถโดยสารสองแถวสีเหลืองออกากสถานีขนส่งข้างเผือก อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ วันละ 2 เที่ยว เวลา 09.00 น. และเวลา 11.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง และมีรถออกจากตลาดแสงทอง อำเภอปาย วันละ 1 เที่ยว เวลา 13.00 น.

 

   มาทางเส้น เชียงใหม่-ปาย ก่อนถึงปายประมาณ 13 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือขึ้นมาวัดจันทร์ ป้ายเยอะมากและเป็นแยกที่ใหญ่ ถ้าไม่หลับต้องเห็นแน่นอน ขึ้นมาจากปากทางตรงนั้น 42 กม. ก็จะถึงเลย ทางนี้ลาดยางตลอดเส้น รถยนต์คันเล็กๆ เช่น jazz ขับขึ้นมาได้สบาย แต่ขอบอกว่า ทางโค้งและชันมากเป็นช่วงๆ เป็นหลุมเป็นบ่อบ้างเป็นช่วงๆ รวมเวลาเดินทางจากเชียงใหม่ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่งถึง 4 ชั่วโมง

   ควรระมัดระวังในการขับรถ เพราะ มีโค้งมากทางเชียงใหม่ ดังนั้นการขับขี่รถจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

 

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ บ้านเด่น หมู่ 3 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0-5321-6433

 

 ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
   สำนักงานศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน โทร 053 249 349 Fax: 053 260 072
   สำนักงานศึกษาและพัฒนาการท่องเทียว โทร 02 282 3243 ต่อ 102, 103 Fax: 02 282 3875

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px