เลื่อนลงล่าง

รีวิว " ภูกระดึง "

17/09/62

Tag

Count :

Share

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน

นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท  เด็ก 20 บาท
นักท่องเที่ยวต่างชาติ  ผู้ใหญ่ 400 บาท  เด็ก 200 บาท
นักศึกษา แสดงบัตรประจำตัวนักศึกษา เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปแสดงบัตรประชาชน ฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม

พอจัดการเรื่องที่หลับที่นอนเรียบร้อยก็เตรียมขึ้นเขากันได้เลยค่ะ แต่สำหรับคนที่ไม่อยากแบกของเอง ก็ต้องมาจ้างลูกหาบเอาค่ะ คิดน้ำหนัก กก.ละ 30 บาท

ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน

นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท  เด็ก 20 บาท
นักท่องเที่ยวต่างชาติ  ผู้ใหญ่ 400 บาท  เด็ก 200 บาท
นักศึกษา แสดงบัตรประจำตัวนักศึกษา เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปแสดงบัตรประชาชน ฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม

พอจัดการเรื่องที่หลับที่นอนเรียบร้อยก็เตรียมขึ้นเขากันได้เลยค่ะ แต่สำหรับคนที่ไม่อยากแบกของเอง ก็ต้องมาจ้างลูกหาบเอาค่ะ คิดน้ำหนัก กก.ละ 30 บาท

ภูกระดึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จากการสำรวจพบสัตว์บกมีกระดูกสันหลังรวม 266 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 36 ชนิด เช่น เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอก กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน และ อีเห็น เป็นต้น ในจำนวนนี้เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คือ เลียงผา ช้างป่า เสือดาว และเสือโคร่ง สัตว์ปีกจำนวน 171 ชนิด เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย และ นกขมิ้นดงเป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน 39 ชนิด เช่น ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเห่า และงูเขียวหางไหม้เป็นต้น มี 1 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าเดือย นอกจากนี้ยังพบเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาวอาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวนมาก เช่น อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ และ ปาดแคระ

จะมีร้านค้าขายอาหารอยู่ด้านบนเช่น หมูจุ่มชุดละ500.- แนะนำให้กินมาม่าจะประหยัดที่สุด555 

1.   มีบ้านพักบริการทั้งหมด 21 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 170 คน มีทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านเรือนแถว ข้อมูลรายละเอียดที่พักอย่างละเอียดและจองออนไลน์ได้ที่เวบไซด์อุทยานแห่งชาติ
2.   มีบริการเต็นท์พร้อมเครื่องนอนให้เช่า   แต่นักท่องเที่ยวจะต้องติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานฯในวันที่มาถึง   ณ บริเวณที่ทำการอุทยานศรีฐาน   ด้านล่างก่อนที่จะขึ้นภู   เท่านั้น  
ขนาดของเต็นท์ที่มีบริการ ( ราคาที่แจ้งไว้เฉพาะเต็นท์ไม่รวมเครื่องนอน )
-     เต็นท์โดมขนาด 3 คน   ราคา   225   บาท / คืน
-     เต็นท์โดมใหญ่ขนาด 6 คน   ราคา   450   บาท / คืน
-     เต็นท์เคบิ้นขนาด 6 คน   ราคา   450   บาท / คืน

เครื่องนอนที่มีบริการให้เช่า
-     ถุงนอน   ราคาถุงละ 30 บาท / คืน
-     แผ่นรองนอน   ราคาแผ่นละ   20   บาท / คืน
-     หมอน   ราคาใบละ   10 บาท / คืน

กรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ขึ้นไปกางเอง   ก็จะเสียค่าธรรมเนียมกางเต็นท์   30 บาท / คน / คืน

3.   บนยอดภูกระดึงจัดบริการลานกางเต็นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 5,000 คน   เพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวในเทศกาลและวันหยุดยาว

การเดินทาง
- รถทัวร์ : ขึ้นรถได้ที่สถานีหมอชิต มีรถอยู่หลายบริษัท เลือกได้เลยสุดแต่ใจจะไขว่ขว้า
- รถไฟ : ขึ้นได้ที่สถานีหัวลำโพง
- เครื่องบิน : ขึ้นเครื่องที่สนามบินดอนเมือง มาลงสนามบินเลย (ควรบินรอบเช้าๆเลย เพราะเดี๋ยวมาไม่ทันขึ้นอุทยาน)
-การเดินทางของเรา : พอดีเรามาทำธุระที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นพอดี เลยเริ่มจาก ขอนแก่น แล้วกันเนอะ แต่!!
กว่าจะมาถึงขอนแก่นได้ก็น้ำตาไหลยันตาตุ่ม เพราะเราจำเป็นต้องเดินทางช่วงปีใหม่พอดี๊พอดี 30 ธันวาคม โอ้โน การเดินทางทุกช่องทาง เต็มและหมด!! ทั้งเครื่องบิน รถบัส รถทัวร์ รถไฟ แต่เหมือนดั่งสวรรค์มาโปรด หรือ ฟ้ากลั่นแกล้งฉัน ไม่รู้ นึกได้ว่าทุกปีรถไฟแกก็มีแบบขบวนเสริมตลอดๆ ก็เลยลุย เก็บสำภาระแล้ววาบไปหัวลำโพงทันที

พอมาถึงสถานีหัวลำโพง เราก็รีบไปสอบถามเจ้าหน้าที่
ฉัน : "ขบวนเสริมไปขอนแก่นยังมีไหมค้า"
เจ้าหน้าที่ : "ขบวนเสริมชั้น 3 เต็มแล้ว เหลือตั๊วยืนนะหนู"
ฉัน : หน้านิ่ง (ในใจ - what is ตั๊วยืน!!ของชั้น 3 วะ)
เจ้าหน้าที่ : รับไหมหนู
ฉัน : ค่า รับค่า (รับงงๆ แล้วเดินจากมา) ดูในใบตั๊ว อีก 2 นาที รถไฟออกกกกกก ว๊าก อยากกรีดร้อง

วิ่งๆๆ ไปถึงโบกี้ชั้น 3 จะขึ้น เอิ่มๆ จะขึ้นยังงายยยยย แต่ละประตูทางขึ้นมีมนุษย์จับจองห้อยโหนอย่างกับรถสองแถว ไปหน้าปากซอย
เดี๋ยว!! ใจเย็น คือ ลุงจะอย่างนี้ไปถึงขอนแก่นเลยใช่ม๊า
เอายังไงๆ ถ้าไม่ขึ้นก็ไม่ได้ ไม่มีทางไหนแล้วนอกจากเหาะ เราเลยตัดสินใจเอาเตารีดนาบตัวให้แบนแล้วแทรกขึ้นมา
พอขึ้นมาก็เข้าใจหัวอกของลุงเลยว่าทำไมเลือกไปอยู่ตรงนั้น


*จงจินตนาการตามฉัน : ที่นั่งหลังตรงนั่ง 3คน/เบาะ ข้างๆบนเบาะมีคนนอน ช่องทางเดินคนนั่ง หน้าห้องน้ำคนยืน ประตูที่คิดว่ามันคือช่องรับอากาศสำหรับรถไฟชั้น 3 คนยืน ปิด ปิด หมดเลย ในสมองตอนนั้นมีประโยคหนึ่งวาบมา "เอิ่ม กุสามารถเอาสรีระและสัมภาระไปอยู่ตรงไหนของโบกี้นี้ได้บ้างหรือ"
เมื่อเริ่มเข้าใจคำว่า ''ตั๊วยืน ชั้น 3!!'' ก็ทำหน้าที่ต่อไป คือ ยืน!น่าจะเกือบๆถึงอยุธยา มันก็ฟ้ามึดแล้วอ่านะ แบบกล้ามน่องไม่ไหวล๊าวว เราเลยพยายามแทรกตัวนั่งหย่อนตูดลงไปบนพื้นอย่างนิ่มนวล แล้วไม่คิดจะลุกไปไหนอีกเลย
เราก็ทำตัวหลับๆตื่นๆมาจนถึง สถานีขอนแก่น ในช่วงเช้ามืด น้ำตาจิไหล เดินแทบไม่เป็นเลยทีเดียว จากนั้นเราก็ไปทำธุระต่างๆนาๆ จนเสร็จก็คิดในใจ กว่าจะมาถึงนี่! จะกลับไปง่ายๆก็ใช่ที่ ไปเที่ยวหน่อยดิ๊ ก็เสริชๆๆเปิดๆๆ ปิ๊ง ''ภูกระดึง'' ยังไม่เคยไปเลย เอาหน่อยโวย ฮึกเหิมๆ

เราเริ่มออกจาก สถานีขนส่งขอนแก่น นั่งรถไปลงผาลงเค้า : ราคาประมาณ 70 บาท มั้งนะ (จำไม่แม่น ไม่เกิน 100)
ขึ้นรถสองแถวแดงไปอุทยาน : จอดข้างๆร้านเจ้กิม หน้าป้อมตำรวจ (ขากลับก็เหมือนกัน รถสองแถวแดงจะจอดในอุทยานที่เดียวกับขามา) ราคา 30 บาท/คน

 


- รองเท้า ถุงเท้า : ใส่สบาย ไม่กัด พื้นไม่ลื่น ข้างหน้าตรงปากรองเท้าควรแข็งแรง (เพราะตอนลงจากภูกระดึงมันต้องใช้ยันตลอด) *หนีบรองแตะไปใช้บนข้างบนด้วยก็ดี จะได้พักเท้าด้วยนะ
- ยา : สำหรับคนมีโรคประจำตัว และ ยาสามัญต่าง เช่น ยาแก้ปวด ยาหม่อง ยาดม ยานวด
- สเปรย์ : กันยุง กันทาก (ช่วง พฤศจิกายน - เมษายน ไม่ค่อยเจอทากแล้วล่ะ แต่ ''ยุง'' เจอทุกช่วง)
- ไฟฉาย : ควรมีติดไว้เผื่อหาของในเต้นท์ หรือ เดินไปทานข้าว อาบน้ำ ตอนกลางคืน
- หมวก : กันแดด กันหมอก และน้ำค้าง
- อุปกรณ์ electronic : แบตสำรอง (Power Bank) มือถือ กล้อง เพราะบนภูกระดึงจะใช้ไฟเพียง 6 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่มเท่านั้น แต่ทางอุทยานก็มีบริการชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ศูนย์บริการ (มีค่าบริการ)
- เสื้อกันฝน เสื้อกันหนาว(ควรเป็นแบบมี hood)
- ทิชชู่เปียก และ แห้ง

กำหนดการเปิด-ปิด อุทยาน

อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวได้ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 พ.ค. ของทุกปี
ปิดอุทยานให้ธรรมชาติฟื้นฟู ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวตั้งแต่ 1 มิ.ย. - 30 ก.ย. ของทุกปี
ป่าปิด น้ำตกขุนพอง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย เป็นต้นไป

กำหนดเวลาเวลา เปิด-ปิด ให้ขึ้นภูในแต่ละวัน

ด่านอุทยานเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นภูได้ตั้งแต่เวลา 07.00 น. - 14.00 น.
ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นภูตั้งแต่เวลา 14.00 น. ไปเนื่องจากเกรงว่าจะมืดก่อนที่จะเดินถึงจุดหมาย

 

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px

Tag

Count :