เลื่อนลงล่าง

พิษณุโลก

18/09/62

Share

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

            การมาล่องแก่งลำน้ำเข็กแนะนำว่าให้มานอนพักที่อำเภอวังทอง ที่พักแต่ละแห่งมักจะมีบริการติดต่อบริษัทล่องแก่งมืออาชีพไว้ให้ ง่ายต่อการประสานงาน อีกทั้งยังจะได้สะดวกในการเดินทางและพักผ่อน สาย ๆ ตื่นมากินข้าวเช้าเบา ๆ แล้วไปล่องแก่งได้เลย ไม่ต้องรีบร้อน ล่องแก่งเสร็จแล้วก็เข้าที่พักอาบน้ำ กินข้าวเที่ยง แล้วกลับเข้าเมืองหรือเดินทางไปเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงอื่น ๆ

  การล่องแก่งลำน้ำเข็ก จะมีทั้งหมด 15 แก่ง รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลาราว ๆ 1.30-2 ชั่วโมง แล้วแต่ระดับน้ำ โดยช่วงเริ่มแรกความยากจะอยู่เพียงแค่ระดับ 1-3 สลับกับช่วงน้ำนิ่ง ชมนกชมไม้ไปเรื่อย ๆ แต่พอล่องไปถึงช่วงท้าย ๆ ระดับความยากจะเพิ่มขึ้น ๆ จนไปแตะที่ระดับ 5 เรือแพยางจะพาฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวกรากบริเวณแก่งหินสูงชัน ซ้ายทีขวาที เหวี่ยงหมุนไป-มาบ้าง หวาดเสียวและตื่นเต้นในอีกรูปแบบ ได้กรี๊ดกันลั่นสนั่นป่าแน่นอน เป็นความสนุกที่คนรักการผจญภัยมักกลับมาเล่นซ้ำกันเป็นประจำทุกปี

 สำหรับคนที่ไม่เคยล่องแก่งก็สามารถล่องได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้และอธิบายถึงการปฏิบัติตัวขณะล่องแก่งอย่างละเอียด เพียงแค่ทำตามกฎและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็สนุกกับการล่องแก่งลำน้ำเข็กได้แล้ว

          สอบถามรายละเอียดการล่องแก่งลำน้ำเข็กเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก โทรศัพท์ 0 5525 2742 หรือ เฟซบุ๊ก ททท.สำนักงานพิษณุโลก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แก่งน้ําเข็ก   

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช พิษณุโลก

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ หรือ วัดพระศรี พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ในวิหารคือ “พระพุทธชินราช” ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” ตามไปด้วย วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อ พ.ศ. 1900

  • พระพุทธชินราช

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน

ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพ อสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา

  • บานประตูประดับมุก

ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “นมอกเลา” เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้

ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย “อีแปะ” ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์

  • พระเหลือ

พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า “วิหารพระเหลือ”

  • วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน (วิหารแกลบ หรือ วิหารหลวงสามพี่น้อง)

ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของพระวิหารพระศรีศาสดาราม ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ บริเวณกลางพระวิหารมีหีบปางพระเจ้าเข้านิพพาน มีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระบรมศพทำด้วยศิลา ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดกระจกสวยงาม โดยข้อพระบาทเลยออกมาเล็กน้อย ตั้งบนแท่นอันสลักลวดลายงดงาม รอบแท่นมีปัญจวัคคีย์ กำลังแสดงความทุกข์อาลัยพระองค์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

  • พระอัฏฐารส

เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” อยู่ด้านหลังวิหารพระพุทธชินราช พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช ในวัดเปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ข้อควรปฎิบัติ ควรแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งสั้นและใส่เสื้อแขนกุด ภายในวิหารมีคนค่อนข้างมาก ห้ามยืนถ่ายรูปโดยเด็ดขาด สามารถนั่งถ่ายได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระพุทธชินราช

ร้านอาหารและคาเฟ่บรรยากาศดี

ที่ตั้ง : ถนนสีหราชเดโชชัย ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
          เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-24.00 น.
          เฟซบุ๊ก : MADE for MOUTH

  ร้านอาหารไทยพื้นบ้าน

  ที่ตั้ง : ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
          เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.
          เฟซบุ๊ก : ร่มจามจุรี

เดินทางโดยรถไฟหรือรถยนต์ส่วนตัว

ควรศึกษาเส้นทางในการเดินทาง และ สภาพภูมิอากาศ  และควรตรวจสอบสถานที่แหล่งท่องเที่ยวว่าเปิดตามปกติหรือเปล่า

ที่อยู่ : ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
          เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าเที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น.

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px