เลื่อนลงล่าง

บึงบอระเพ็ด

16/11/63

Share

"เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ "

 

 พื้นที่บึงบอระเพ็ด แต่เดิมเรียกว่า ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นป่าที่เต็มไปด้วยหนองน้ำนับพันแห่ง มีปลาและจระเข้มากมาย บนบกมีป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ทุ่งป่าแฝก ว่ากันว่ามีควายป่าที่เรียกว่า มหิงสา จำนวนมาก รวมทั้งเสือและละมั่งด้วย เนื่องจากเป็นป่ารก ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐาน พวกโจรผู้ร้ายเมื่อปล้นตลาดปากน้ำโพแล้ว มักหนีเข้าหลบซ่อนตัวในบริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำและแหล่งประมงที่สำคัญสำหรับชุมชนท้องถิ่น และเป็นแหล่งวิทยาการเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการทำการประมงพื้นบ้านซึ่งสืบทอดกันมาเป็นวิถีชีวิตหลายชั่วคน

นอกจากนี้ยังมีบ่อเพาะพันธุ์จระเข้ มีเรือหางยาวนำชมบึง เรือลำเล็กจุได้ 5 คน ไม่รวมคนขับ ราคา 400 บาท เรือลำใหญ่จุได้ 10 คน ราคา 500 บาท เรือจะล่องไปถึงเกาะลัดและกลับใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถนำอาหารไปรับประทานบนเรือได้ มีเรือบริการระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. แต่ถ้าล่องในช่วงแปดถึงเก้าโมงเช้าจะพบนกได้ง่ายกว่า สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีพัฒนาประมงน้ำจืดบึงบอระเพ็ด

บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำนานาชนิด มีรายงานการพบพันธุ์ไม้น้ำในช่วงปี 2522 – 2537 อย่างน้อย 32 ชนิด ถึงมากกว่า 73 ชนิด จำแนกได้เป็น 6 บริเวณ คือ บริเวณผืนน้ำเปิดโล่ง มีพืชใต้น้ำและพืชปริ่มน้ำ กระจายอยู่ในน้ำลึกรอบๆ บริเวณที่มีบัว พบประมาณร้อยละ 10-15 ของพื้นที่น้ำ ชนิดเด่น ได้แก่ ดีปลีน้ำ, สาหร่ายไฟ , สาหร่ายข้าวเหนียว, สาหร่ายหางกระรอก, สาหร่ายฉัตร, สาหร่ายเส้นด้าย, สาหร่ายพุงชะโด และสันตะวา
          บริเวณพืชลอยน้ำ มีทั้งที่มีใบลอยน้ำ กระจายเป็นหย่อมๆ ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่น้ำ และลอยน้ำทั้งต้น ชนิดเด่น ได้แก่ จอกหูหนู, ผักตบชวา, แหน, แหนแดง, แพงพวยน้ำ, กระจับ, ผักบุ้ง บริเวณพืชโผล่พ้นน้ำหรือพืชยืนน้ำ แพร่กระจายอยูทั่วไป จากฝั่งลงไปในบึงประมาณ 0.5-1 กม. รอบๆ บึง และกระจายเป็นหย่อมๆ ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่น้ำ พืชเด่น ได้แก่ กกสามเหลี่ยมเล็ก, ธูปฤาษี, เอื้องเพ็ดม้า, บัวหลวง, บัวสายหรือบัวแดง, บัวกินสาย, หญ้าแพรกน้ำ, เทียนนา, แห้วทรงกระเทียม บริเวณเกาะ กลางบึงและใกล้ฝั่ง ซึ่งน้ำอาจท่วมในฤดูที่น้ำมาก และไม่ท่วมในฤดูน้ำปกติ พืชเด่น ได้แก่ ลำเจียก, อ้อ, หญ้าไซ, หญ้าขน, หญ้าแขม, หญ้าปล้อง, หญ้าข้าวนก บริเวณป่าพรุ ริมบึง น้ำท่วมบางฤดู พืชเด่น ได้แก่ สนุ่น, จิกนา, ก้านเหลือง, ทองกวาว
          บริเวณทุ่งนา ปลูกข้าว บางฤดูปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มีไม้พุ่มขนาดเล็กขึ้นอยู่ริมบึงเป็นหย่อมๆ
          บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำนานาชนิด มีรายงานการพบพันธุ์ไม้น้ำในช่วงปี 2522 – 2537 อย่างน้อย 32 ชนิด ถึงมากกว่า 73 ชนิด จำแนกได้เป็น 6 บริเวณ คือ บริเวณผืนน้ำเปิดโล่ง มีพืชใต้น้ำและพืชปริ่มน้ำ กระจายอยู่ในน้ำลึกรอบๆ บริเวณที่มีบัว พบประมาณร้อยละ 10-15 ของพื้นที่น้ำ ชนิดเด่น ได้แก่ ดีปลีน้ำ, สาหร่ายไฟ , สาหร่ายข้าวเหนียว, สาหร่ายหางกระรอก, สาหร่ายฉัตร, สาหร่ายเส้นด้าย, สาหร่ายพุงชะโด และสันตะวา
          บริเวณพืชลอยน้ำ มีทั้งที่มีใบลอยน้ำ กระจายเป็นหย่อมๆ ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่น้ำ และลอยน้ำทั้งต้น ชนิดเด่น ได้แก่ จอกหูหนู, ผักตบชวา, แหน, แหนแดง, แพงพวยน้ำ, กระจับ, ผักบุ้ง บริเวณพืชโผล่พ้นน้ำหรือพืชยืนน้ำ แพร่กระจายอยูทั่วไป จากฝั่งลงไปในบึงประมาณ 0.5-1 กม. รอบๆ บึง และกระจายเป็นหย่อมๆ ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่น้ำ พืชเด่น ได้แก่ กกสามเหลี่ยมเล็ก, ธูปฤาษี, เอื้องเพ็ดม้า, บัวหลวง, บัวสายหรือบัวแดง, บัวกินสาย, หญ้าแพรกน้ำ, เทียนนา, แห้วทรงกระเทียม บริเวณเกาะ กลางบึงและใกล้ฝั่ง ซึ่งน้ำอาจท่วมในฤดูที่น้ำมาก และไม่ท่วมในฤดูน้ำปกติ พืชเด่น ได้แก่ ลำเจียก, อ้อ, หญ้าไซ, หญ้าขน, หญ้าแขม, หญ้าปล้อง, หญ้าข้าวนก บริเวณป่าพรุ ริมบึง น้ำท่วมบางฤดู พืชเด่น ได้แก่ สนุ่น, จิกนา, ก้านเหลือง, ทองกวาว
          บริเวณทุ่งนา ปลูกข้าว บางฤดูปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มีไม้พุ่มขนาดเล็กขึ้นอยู่ริมบึงเป็นหย่อมๆ

ด้านทิศใต้ของบึงบอระเพ็ด จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 3001 สายนครสวรรค์-ท่าตะโก ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายอีก 4 กิโลเมตร ถึง อุทยานนกน้ำ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานมีสวนพักผ่อน มีนกหลายชนิดให้ชม
 

บึงบอระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 132,737 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง พื้นที่บางส่วน ประมาณ 66,250 ไร่ ได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2518 บีงบอระเพ็ดมีลักษณะเป็นท้องน้ำและบึงกว้างใหญ่ มีเกาะเล็ก ๆ อยู่ในบึงประมาณ 10 เกาะ เป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมตัวของพืชน้ำ มีพรรณไม้น้ำหลากหลายชนิด จึงเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยสร้างรัง วางไข่ ของนกหลายชนิด มีทัศนียภาพสวยงาม ในอดีตบึงบอระเพ็ดได้ชื่อว่าเป็น "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เพราะมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำอยู่มากมาย รู้จักกันมานานว่าเป็นแหล่งน้ำที่มีจระเข้ชุกชุม ปัจจุบันจระเข้ในบึงเหลืออยู่น้อยมาก จะมีให้เห็นก็ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ซึ่งได้เพาะพันธุ์และเลื้ยงไว้ให้นักท่องเที่ยวชมเท่านั้น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประมาณว่ามีพันธุ์ปลาต่าง ๆ ประมาณ 148 ชนิด พันธุ์พืชที่สำรวจพบขณะนี้ประมาณ 100 ชนิด บึงบอระเพ็ดเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านแหล่งอาศัยของฝูงนก มีนกประจำถิ่นและนกอพยพ รวมนับร้อยชนิด ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ นกยาง นกนางแอ่น นกจาบคาเล็ก นกเป็ดน้ำ นกเอี้ยง นกอัญชัญ นกปากซ่อม นกกวัก นกกาบบัว นกเขา นกกระเรียน ฯลฯ เป็นแหล่งที่พบสัตว์หายากคือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ปลาเสือตอ โดยเฉพาะนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่พบที่บึงบอระเพ็ดนี้แห่งเดียวในโลก ซึ่งพบโดยคุณกิตติ ทองลงยา เมื่อปี พ.ศ.2511

 บึงบอระเพ็ดเป็นระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ประกอบด้วยพื้นที่น้ำขังซึ่งในฤดูน้ำหลากเป็นบึงน้ำใหญ่ผิวน้ำเปิดโล่ง บริเวณที่มีระดับความลึกของน้ำไม่มากนักมีพืชลอยน้ำเกาะกลุ่มอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือ พืชลอยน้ำเกาะกลุ่มใหญ่จนมองดูคล้ายเกาะลอย มีทุ่งบัว มีบริเวณที่เป็นเกาะซึ่งเดิมเป็นเนินดิน เมื่อสร้างประตูน้ำแล้วน้ำท่วมไม่มิด บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ ป่าพรุและป่าละเมาะริมบึง ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างระบบนิเวศน้ำและบก น้ำท่วมเฉพาะในช่วงน้ำมาก มีพืชยืนน้ำขึ้นอยู่หนาแน่น และโดยรอบบึงเป็นทุ่งนาและทุ่งหญ้า เนื่องจากมีลำน้ำลำห้วยไหลลงสู่บึง พัดพาตะกอนและธาตุอาหารสะสมอยู่ จึงอุดมด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ที่สำคัญคือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา และ
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยหากินสร้างรังวางไข่ของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพย้ายถิ่น

ที่พักใกล้ ''บึงบอระเพ็ด''

https://th.tripadvisor.com/HotelsNear-g790334-d4322796-Bung_Boraphet-Nakhon_Sawan_Nakhon_Sawan_Province.html

 

การเดินทาง จากตัวเมืองนครสวรรค์ไปบึงบอระเพ็ด สามารถไปได้หลายเส้นทาง ทางเรือ จากตลาดท่าน้ำเทศบาลเมืองนครสวรรค์ไปตามลำน้ำน่านผ่านขึ้นไปทางเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงปากคลองหนองดุก เมื่อลอดใต้สะพานรถไฟเข้าไปก็จะถึงบริเวณบึง

     ทางรถยนต์ สามารถเข้าถึงบึงบอระเพ็ดได้ 2 ด้าน คือ

     1) ด้านเหนือ ไปตามเส้นทางสายนครสวรรค์-ชุมแสง ทางหลวงหมายเลข 225 ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร เข้าไปยัง สถานีพัฒนาประมงน้ำจืดบึงบอระเพ็ด ในบริเวณมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จัดแสดงตู้ปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากระโห้ ปลากระเบนขาว ปลากะพงขาว ปลาเทโพ ปลายี่สก ฯลฯ เปิดให้ชมฟรี ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้น วันพุธ

     2) ด้านทิศใต้ของบึงบอระเพ็ด จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 3001 สายนครสวรรค์-ท่าตะโก ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายอีก 4 กิโลเมตร ถึง อุทยานนกน้ำ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานมีสวนพักผ่อน มีนกหลายชนิดให้ชม

 

1.ห้ามเปิดแฟลชเวลาถ่ายรูปปลา

2.ห้ามทิ้งขยะ

3.ห้ามปืนป่ายบริเวณต้องห้าม เช่น ตู้ปลา กรงจระเข้ เป็นต้น 

4. ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบของทางสถานที่ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

5.ดูแลรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความงดงามตามธรรมชาติมากที่สุด

6.ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นในการเข้าไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

7.ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือรบกวนความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า

8.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขต เพราะอาจจะเป็นการนำโรคเข้าไปแพร่ในธรรมชาติหรือในทางตรงกันข้าม ก็อาจจะรับโรคติดต่อจากสัตว์ป่าภายในออกมา

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด หรือ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งเป็นที่ตั้งของชมรมดูนกจังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0 5630 0040
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด โทร. 0 5627 4525
http://www.buengboraphet.com/

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px