เลื่อนลงล่าง

น้ําตกไทรโยคใหญ่

โดย. Aem Suphaphon

05/12/59

Share

           น้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี   เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนมาเที่ยวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะสามารถเดินทางได้ทั้งทางบก และทางน้ำ บางคนมาเที่ยวล่องแพ ก็จะต้องแวะมาที่น้ำตกไทรโยคนี้ เพราะเป็นน้ำตกที่แปลกกว่าน้ำตกที่อื่นๆ ตรงที่ น้ำตกจะไหลจากลำธารแล้ว ท้ายสุดจะมาลงยังชะง่อนหินสุดท้ายสู่ลำน้ำแควน้อย ทำให้ผู้ที่ล่องแพมาสามารถเล่นน้ำตกได้ด้วย


น้ำตกไทรโยคใหญ่ หรือมีชื่อเดิมๆ ที่เรียกกันว่า “น้ำตกเขาโจน” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค ประกาศเป็นอุทยาน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 มีเนื้อที่ครอบคลุมถึง 598,750 ไร่ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เมื่อปี พ.ศ. 2420 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาส และลงสรงน้ำในลำธาร จนเป็นแรงบันดาลใจให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ติดตาม นำมาประพันธ์เป็นเพลงเขมรไทรโยค ที่บรรยายให้เห็นถึงน้ำใส มองเห็นปลาแหวกว่าย เสียงสายน้ำที่พวยพุ่ง เสียงนกป่าและนกยูงทอง จนเป็นที่เลื่องลือถึงความงดงามของน้ำตกไทรโยค

น้ำตกไทรโยคใหญ่ เป็นน้ำตกที่มีความแปลกไม่เหมือนที่ใดๆ ตรงที่ด้านหน้าของน้ำตกอยู่บนลำน้ำแคว นั่นคือสายนำ้จะไหลลงมาจากผาสูงเกือบสิบเมตรจากส่วนบนที่ปกคลุมด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ พวยพุ่งลงสู่แม่น้ำแควน้อย ดั่งกระโจนลงสู่ลำน้ำ นี่เองคือที่มาของคำว่าน้ำตกเขาโจน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก มีน้ำตลอดปี และมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน ดังนั้นการไปเที่ยวน้ำตกในช่วงฤดูฝนจึงควรเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

จุดที่สามารถชมวิวน้ำตกได้เป็นอย่างดีคือบนสะพานแขวนไทรโยค หากต้องการชมน้ำตกอย่างใกล้ชิดละก็ ต้องนั่งเรือล่องอยู่บนลำน้ำแควน้อย หรือล่องไปกับแพ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากแม่น้ำแควมีความเย็นกว่าแม่น้ำทั่วไป และมีกระแสน้ำที่ไม่คงที่ ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่มีเด็กๆ มาด้วย อาจต้องเพิ่มความระมัดระวัง ให้กับบุตรหลานของท่านด้วย

         *** เป็นสถานที่ที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ มีอากาศที่เย็นสบาย น้ำที่ใสสะอาด และมีน้ำตกที่สวยงาม อ้อมล้อมด้วยภูเขาอันน้อยใหญ่อย่างลงตัว ดิฉันได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวที่นั้นกับครอบครัวช่วงปิดเทอม ดิฉันมีความสุขมากที่ได้เล่นน้ำได้ทำกิจกรรมต่างๆกับครอบครัวมันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก ถ้ามีโอกาสดิฉันอยากจะกลับไปเที่ยวที่นั้นอีกครั้ง…..

        น้ำตกไทรโยคใหญ่ มีเนื้อที่ 598,750 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน ประกอบด้วยพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ไทรโยค ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่มีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลก คือ ค้างคาวกิตติ และ ปูราชินี ปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกอาศัยอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทรโยคเคยเป็นค่ายพักแรมของทหารญี่ปุ่น ปัจจุบันปรากฎร่องรอยเตาหุงข้าวและซากเตาไฟอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยมนุษย์ยุคหินเก่า

สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณอุทยานฯ
- บริเวณน้ำตกไทรโยคใหญ่ มีบริการร้านอาหาร บ้านพัก ค่ายพักแรม สถานที่กางเต็นท์
- หากต้องการล่องเรือชมลำน้ำและน้ำตก ก็สามารถเช่่าเรือหรือ แพ ล่องตามลำน้ำได้

ข้อแนะนำ
- บริเวณอุทยานมีเรือบริการนักท่องเที่ยวแบบเช่าเหมาลำในราคา 300 บาท
- เมื่อลงเล่นน้ำในแม่น้ำแคว ควรสวมชูชีพทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าทีี่อย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรลงเล่นน้ำในขณะเมาสุรา หรือสวมเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสมในขณะลงเล่นน้ำ
- น้ำในลำน้ำแควน้อยค่อนข้างเชี่ยว เพื่อความปลอดภัย หากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ควรลงเล่นโดยไม่มีชูชีพเด็ดขาด

ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติไทรโยค
- ชาวไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท (มีบัตรนักศึกษา 20 บาท)
- ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
- รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท
- รถมอเตอร์ไซต์ 20 บาท รถจักรยาน 10 บาท
- รถยนต์ไม่เกิน 6 ล้อ 100 - 200 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติไทรโยค โทร. 034-686-024, 034-516-163
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บางเขน กรุงเทพ โทร. 02-562-0760
(วันจันทร์ - ศุกร์ 8.30-18.00 น. / วันเสาร์ 9.00-15.30 น.)
เว็ปไซต์และการจองห้องพัก http://www.dnp.go.th/parkreserve/

การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติไทรโยคใหญ่
กรุงเทพฯ - น้ำตกไทรโยคใหญ่ 230 กิโลเมตร
ตัวเมืองกาญจน์ - น้ำตกไทรโยคใหญ่ 100 กิโลเมตร
น้ำตกไทรโยคน้อย - น้ำตกไทรโยคใหญ่ 35 กิโลเมตร
น้ำตกไทรโยคใหญ่ - น้ำพุร้อนหินดาด 26 กิโลเมตร

- จากตัวเมืองกาญจนบุรี วิ่งบนถนนแสงชูโตที่เป็นถนนสายหลัก ถึงสี่แยกแก่งเสี้ยน เลี้ยวซ้ายไปอำเภอไทรโยค - ทองผาภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 323)
- ผ่านหน้าโรงเรียนไทรโยคใหญ่ไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นป้ายทางเข้าอุทยานแห่งชาติไทรโยคทางซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ก็ถึงลานจอดรถของน้ำตก ระหว่างทางจะผ่านด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ 

ลักษณะภูมิประเทศ 

ภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 300-600 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเทือกเขาส่วนใหญ่จะทอดยาวจากตอนเหนือของพื้นที่ด้านทิศตะวันตกติดชายแดนพม่าจะมีความสูงชันมากกว่าด้านทิศตะวันออก จุดสูงสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ เทือกเขาเราะแระ ซึ่งสูงประมาณ 1,132 เมตร ตั้งอยู่บริเวณแนวเขตด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถัดจากบริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ราบถึงที่ราบลอนคลื่นในระหว่างหุบเขาและร่องน้ำ ที่ราบลุ่มอันเกิดจากตะกอนลำน้ำจะมีพื้นที่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขาดังที่กล่าวมาแล้ว 
จากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาความลาดชันโดยรวมจึงค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางเหนือใต้ พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและบางจุดของพื้นที่ริมลำน้ำแควน้อย พื้นที่ราบความลาดชัน 
0-8% ที่เป็นบริเวณกว้างกว่าจุดอื่น ๆ ปรากฏเฉพาะริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแควน้อยตอนบนที่จุดไหลผ่านเขตอุทยานแห่งชาติบริเวณบ้านวังกร่าง บ้านไทรโยค และที่ทำการอุทยานแห่งชาติไทรโยคทางทิศตะวันออกริมห้วยแม่น้ำน้อย ห้วยผึ้ง และตอนกลางของพื้นที่บริเวณห้วยแห้ง และห้วยบ้องตี้ เท่านั้น 

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติไทรโยค เป็นพื้นที่สูงและยังคงพื้นที่ป่าไม้ ทั้งยังมีแนวสันเขายาวกั้นแนวพรมแดน ทำให้ลักษณะอากาศภายในพื้นที่มีความผันแปรค่อนข้างมาก ประกอบกับได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง และได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝนทำให้มีฝนตกและอากาศชุมชื้น จากข้อมูลของสถานีตรวจวัดอากาศในลุ่มน้ำแม่กลองซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยคมากที่สุด สามารถสรุปลักษณะภูมิอากาศได้ดังนี้ 

ฤดูกาล : สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล กล่าวคือ 
• ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยเดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด 
• ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์โดยช่วงเดือนธันวาคมจะเป็นช่วงหนาวเย็นที่สุด 
• ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนเมษายน จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งในช่วงนี้เป็นระยะที่ลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเป็นช่วงอากาศร้อนอบอ้าวที่สุด 

อุณหภูมิ : 
เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติไทรโยคเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.02 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15.43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.1 องศาเซลเซียส 

ปริมาณน้ำฝน : 
โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปีไม่สูงมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งทอดยาวตลอดพรมแดนไทย-พม่า ปิดกั้นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดผ่าน ทำให้ลมดังกล่าวอ่อนกำลังลง ส่วนหนึ่งของพื้นที่มีสภาพเป็นบริเวณอับฝน ปริมาณน้ำฝนรวมทั้งปีประมาณ 975.4 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุด คือประมาณ 178.2 มิลลิเมตร และเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม จะเป็นเดือนที่แทบจะไม่มีฝนตกเลย

พืชพรรณและสัตว์ป่า

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ 
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยคส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขา และตั้งอยู่ที่ระดับความสูงแตกต่าง 100 เมตร ไปจนถึงประมาณ 1,125 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้สังคมพืชแตกต่างกันตามระดับความสูง 
จากการแปรและตีความ ภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ.2533 ประกอบการตรวจสอบภาคพื้นดิน สามารถจำแนกพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค ได้เป็น 7 ส่วน แต่ละส่วนมีขนาดเนื้อที่เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่ (ภาพที่ 10) ซึ่งจากภาพจะพบว่าขนาดพื้นที่ ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกามีพื้นที่ 958 ตารางกิโลเมตรส่วนชนิดของสังคมพืช ผลการแปลและตีความภาพถ่ายดาวเทียมลักษณะโครงสร้างสังคมพืช และชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญพบว่าสังคมพืชหลักของพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค คือ ป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ 
(Mixed Deciduous Forest) ซึ่งมีเนื้อที่ 810.03 คิดเป็น 84.47 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค โดยแยกย่อยออกได้เป็น ป่าผสมผลัดใบ ป่าผสมผลัดใบผสมไผ่ และป่าไผ่ ส่วนที่เหลือจำแนกออกเป็นป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) และป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) ซึ่งป่าทั้งสองชนิดนี้มีเนื้อที่ไม่มากนักส่วนพื้นที่ที่ถูกแผ้วถางทิ้งรกร้างไว้ และพื้นที่ที่ถูกบุกรุกยังคงใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ 
จากการวางแปลงสำรวจโครงสร้างสังคมพืชและชนิดพันธุ์ไม้ใน 3 สังคมพืชที่ปรากฏในพื้นที่ พบว่าในแต่ละชนิดมีสภาพและชนิดไม้ที่สำคัญ ดังนี้ 

  1. ป่าผสมผลัดใบ
  2. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest ) 
  3. ป่าเต็งรัง ( Dry Dipterocarp Forest ) 

ทรัพยากรสัตว์ป่า 
ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่า ( Species diversity ) ชนิดสัตว์ป่าที่ปรากฏในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค จากการศึกษาสำรวจแจงนับโดยตรง (Direct count method) เพื่อรวบรวมชนิดจากการเก็บตัวอย่างบันทึกภาพ และดำเนินการแจงนับจำนวนสัตว์ป่าแต่ละชนิดซึ่งพบบนเส้นทางแนวการสำรวจและอาศัยการสำรวจแจงนับโดยอ้อม (Indirect count method) เพื่อศึกษาวิเคราะห์จำแนกชนิดจากสภาพร่องรอยที่ปรากฏ เช่น รอยเท้า มูล รัง โพรง เศษซาก และร่องรอยอื่น ๆ ที่สัตว์ป่ากระทำไว้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้อาศัยความรู้ที่รวบรวมได้จากเอกสารรายงานตามที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ 
จำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่ปรากฏ ในปัจจุบันมีไม่น้อยกว่า 294 ชนิด จาก 220 สกุล ใน 102 วงศ์ จำแนกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 58 ชนิดนกป่า 115 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 36 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 15 ชนิด และปลาน้ำจืด 70 ชนิด รายละเอียดของสัตว์ป่าแต่ละประเภทมี ดังนี้ 

  1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เนื้อสมัน (Cerves schomvurghki) และ ละองละมั่ง ( C.eldi ) ช้างป่า(Elephas maximus) สมเสร็จ(Tapirus indicus) กระทิง(Bos gaurus) และวัวแดง (B.javanicus) เลียงผา (Capriconis sumatraensis)  กระต่ายป่า (Lepus peguensis) หมีหมา (Helarctos malayanus) หมีควาย(Selenarctos thibetanus) เสือดาวหรือเสือดำ ( Panthera pardus) เสือโคร่ง(P.tigris) กระจงหนู(Tragulus javanicus) อีเก้ง(Muntiacus muntjak )อีเก้งหม้อ (M.feae) กวางป่า (Carvus unicolor) กระทิง(Bos gaurus) และวัวแดง(B.lavanicus) 
  2. นกป่า ไก่ฟ้าหลังเทา (Lophuura leucomeiana) นกแว่นสีขาว (Polyplectron bicalcartum) นกยูงไทย (Pavo mutrcis) นกกระทาดงแข้งเขียว(Arboropsila charltonii) ไก่ป่า (Gallus gallus) นกเขาเปล้าธรรมดา(Treeon curvirosta) และนกมูม (Dacula badia) 
  3. สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งูเหลือม  เต่าหก (Teatude emys) และเต่าเหลือง (T.elongata) เป็นเต่าที่พบมากในพื้นที่นอกจากนี้ยังมีกิ้งก่าคอขาวใส (Draco blanfordi) กิ้งก่าปีกจุดดำ (D.verssicolor) (Python reticulates) และงูเขียวกาบหมาก(Genyosoma ocycephalum) 
  4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ เขียดจะนา (Ooeidozyga lima) เขียดหลังเขียว(Rana erythiaea) เขียดหนอง (R.limnocharis) กบห้วยสีข้างดำ(R. nigrovittata) และกบทูด(R. blrthii) 
  5. ปลาน้ำจืด ได้แก่ ปลาตะโกก (Amblyrhyn chinchthy truncates ) ปลากระสูบ(Hampala macrolepidota) ปลาบ้า(Leptobarbus hoevenii) ปลาในสกุลปลาตะเพียน Barbus ส่วนปลาวงศ์อื่นๆ ที่พบได้แก่ปลาแมว(Aymonieri gyrimocheilus) ปลากดเหลือง (Mystus nemurus)ปลาแรด(Osphronemus goramy) และปลาตะกรับ(Pristolepis fasciayu)

 

ร้าน ครัวผักหวานบ้าน ไร่นฤบดินทร์ 

 

                                      ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wongnai.com/restaurants

ที่พัก ผึ้งหวาน รีสอร์ท (Pung-waan Resort)

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agoda.com/th-th/pung-waan-resort/hotel/sai-yok-kanchanaburi-th.html?asq=jGXBHFvRg5Z51Emf%2fbXG4w%3d%3d&cid=1410266&tag=3bd73b69-92ce-1503-db6e-7f46f29a9864

 

 

การเดินทาง, กาญจนบุรี

icon_car.jpg (808 bytes) ทางรถยนต์

เส้นทางที่ 1 ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 129 กม. ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

icon_bus.gif (237 bytes) ทางรถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192

รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557-8

icon_railway.gif (1048 bytes) ทางรถไฟ

ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.50 น. และ 13.45 น. แวะจอดที่สถานีกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำตก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 411-3102 วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว รายละเอียดสอบถาม โทร. 223-7010, 223-7020, 225-6964

 

ข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
1. ไม่ทิ้งเศษอาหาร และขยะมูลฝอยลงในน้ำทะเลและชายหาด
2. ไม่เก็บก้อนหิน เปลือกหอย หรือสิ่งอื่นใดในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ กลับบ้าน
3. ไม่ส่งเสียงดังอันเป็นการบกวนผู้อื่นรวมทั้งสัตว์ป่า
4. ไม่ล่า ทำลาย หรือกระทำการใดๆ อันจะทำให้ พืช สัตว์ และสภาพแวดล้อมเสียหาย
5. จงตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนต้องใช้ร่วมกันและรักษาไว้เพื่อตัวเราเอง

 

เว็บไซต์การท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี  

ติดต่อได้ที่ : http://www.sawadee.co.th/kanchanaburi/kanchanaburi.html

                : http://place.thai-tour.com/kanchanaburi

แผนที่

บทวิจารณ์

Login For Reviews

แสดงความคิดเห็น

หัวข้อ
อ่านรีวิวโดย
วันที่
Tag
Browse Icon ขนาดภาพ 250 x 250 px