กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ทำโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า U2T โดยโครงการนี้มีที่มาจากการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถหางานทำได้ รวมถึงนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยโครงการนี้เป็นโครงการจ้างงาน นิสิตนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชนจำนวน 60,000 คน แบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี 30,000 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 15,000 คน และประชาชนอีก 15,000 คน ให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ระดับตำบลทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้า ดำเนินการ 1 ปี ใน 3,000 ตำบลทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกภาคทุกจังหวัด มีอาจารย์มหาวิทยาลัย 76 แห่ง ร่วมลงพื้นที่สำรวจ และหาแนวทางช่วยเหลือตอบโจทย์ชุมชน โครงการนี้นอกจากเป็นการทำให้การว่างงานทุเลาลง เป็นการสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นการสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้ได้รับการจ้างงานทั้ง 60,000 คน ใน 4 ด้าน คือ ด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านภาษา และด้านสังคมที่มีบริบทเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้เครื่องมือของ อว. ติดตัวไปทำงาน ทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนฐานข้อมูล หรือ big data ที่เปรียบเสมือนแผนที่นำทางในการลงไปพัฒนาชุมชนครั้งนี้ ให้ทุกคนมีความพร้อมในการลงไปทำงานร่วมกับชุมชน รวมถึงรับมือกับโลกยุคใหม่
โครงการ U2T ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดทำขึ้นนี้จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการนี้เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator
2. เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)
4. เพื่อให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ที่ทำหน้าที่ในการบูรณาการกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างเป็นระบบ (Area Based System Integrator) ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็น System Integrator ในระดับตำบลได้ โดยที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่สามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ ทำงานประสานและร่วมงานกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การทำงานบูรณาการนี้ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลที่สามารถนำไปสู่การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation) ในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล
2. มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
3. มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล
4. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่
5. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
6. มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
1. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่
● การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ)
● การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)
● การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย
2. เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจ อว. ในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ในการวางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร.
2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)
3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน
หน่วยงานในพื้นที่ของตำบลห้วยคตที่ทีมงาน U2T ตำบลห้วยคต ได้เข้าร่วมกิจกรรม คือ 1) สหกรณ์การเกษตรห้วยคต 2) สาธารณสุขตำบลห้วยคต และ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต ในแต่ละหน่วยงานมีกิจกรรมที่ทีมงาน U2T ตำบลห้วยคตเข้าร่วมดำเนินการ ดังนี้
1. สหกรณ์การเกษตรห้วยคต ทีมงาน U2T ตำบลห้วยคต ได้ลงพื้นที่ร่วมกับทางสหกรณ์ไปศึกษาแปลงตัวอย่าง ไร่โกโก้ ไร่ยอ แปลงเกษตรสาธิตและแปลงสมุนไพร อีกทั้งยังช่วยจัดทำวิดีโอส่งเสริมโกโก้ ที่เป็นผลผลิตจากเกษตรกรในชุมชน ที่สหกรณ์การเกษตรเป็นผู้คิดค้นสูตรเครื่องดื่มโกโก้ นอกจากนี้ยังได้มีส่วนร่วมปลูกยอกับไร่ภูธาราวิลล์ เป็นแปลงต้นแบบที่สหกรณ์การเกษตรส่งเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และเป็นสถานที่ไว้สำหรับศึกษาดูงาน พวกเรา U2T ห้วยคตยังได้ช่วยรวบรวมข้อมูลสินค้า ผลิตภัณฑ์ ที่สหกรณ์การเกษตรเป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในชุมชน และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำไปโปรโมตลงเว็บที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับสหกรณ์การเกษตรมากขึ้น
2. สาธารณสุขตำบลห้วยคต ทีมงาน U2T ตำบลห้วยคตได้ช่วยรณรงค์การป้องกันโรคระบาดโควิค-19 เชิญชวนให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น และยังช่วยบริการดูแล ประชาชนที่มาเข้ารับบริการฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโควิด 19 ให้กับผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กนักเรียน และผู้เป็น โรคกลุ่มเสี่ยง (โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง) รวมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนมีความเชื่อมั่นในวัคซีน และเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างคุ้มกันหมู่ให้กับชุมชน
3.องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคต ทีมงาน U2T ตำบลห้วยคตได้ลงพื้นที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยคตเพื่อสำรวจความเป็นอยู่ในชุมชน ความต้องการของประชาชน และรู้ถึงปัญหาที่ประชาชนพบเจอ ร่วมประชาคมเพื่อสำรวจความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน ร่วมเดินรณรงค์การป้องกันตนเองจากโควิด-19 และให้ความรู้กับพ่อค้า แม่ค้า และผู้มาใช้บริการตลาดนัด
โครงการการรณรงค์ต้านภัยโควิด-19 และแจกเจลกอฮอล์ให้กับผู้สูงอายุ หญิงตั้ง ครรภ์ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กนักเรียน และผู้เป็นโรคกลุ่มเสี่ยง (โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง ) ตลาดนัด ร้านค้า
โครงการการส่งเสริมอาชีพ โดยทีมงาน U2T ห้วยคตได้จัดอบรมส่งเสริมอาชีพให้กับชาวชุมชนห้วยคต ได้แก่ การปลูกผักโตไว (เช่น การเพาะถั่วงอก, การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน, และการปลูกผักบุ้ง), การเพาะเห็ดนางฟ้า, และการเพาะเห็ดโคนน้อย กิจกรรมนี้สามารถช่วยให้เกษตรกรและผู้สนใจในชุมชนสามารถสร้างรายได้เสริมได้ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องไปซื้อผัก
โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดโดยการพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่สับปะรดและการสร้างเส้นใยจากของเหลือทิ้งในการผลิตสับประรด เนื่องจากบางช่วงเวลามีสับประรดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาสับปะรดต่ำ กิจกรรมนี้สามารถช่วยให้เกษตรกรและผู้สนใจในชุมชนสร้างรายได้เสริมมากขึ้นจากการทำงานหลัก และสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้หลักได้จากการแปรรูปสับประรด
โครงการการพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนห้วยคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบความต้องการระบบฯ รวมทั้งออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนห้วยคต ทีมงาน U2T ห้วยคตช่วยกันรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ของชุมชน พื้นที่ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง สถานที่สำคัญในชุมชน ร้านอาหารในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชน ข้อมูลการติดต่อ ช่องทางการสั่งซื้อและการชำระเงิน รวมทั้งได้จัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวและปฏิทินผลไม้ตามฤดูกาล จัดทำ One Day Trip และ 2 Day 1 Night Trip จัดทำวิดีโอส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยว แล้วพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนห้วยคต ในรูปแบบเว็บแอ๊ปพลิเคชันแบบตอบสนองเพื่อเป็นการช่วยโปรโมทผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้กับแต่ละสถานที่ ส่งผลทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดรายจ่ายในการดำเนินการการตั้งหน้าร้าน การโปรโมทผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ระบบนี้สามารถเข้าถึงทั้งทางสมาร์ทโฟน แท็ปแล๊ป และเดสท็อป
3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน
สรุป จากการทำโครงการดังกล่าวนี้ ส่งผลทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน ร้านค้า ร้านอาหาร สวนผลไม้ ผลิตภัณฑ์ของชุมชน ได้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและชวนกันมาเที่ยว เป็นการโปรโมทแบบปากต่อปากไปในตัว เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจ และยังเป็นอีกหนึ่งแรงที่ผลักดันชุมชนให้มีการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น